สาลี่ไอบีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาลี่ไอบีเรีย
กลุ่มต้นสาลี่ไอบีเรียในอุทยานแห่งชาติดอนญานา (Doñana) สเปน
ดอกสาลี่ไอบีเรีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Pyrus
สปีชีส์: P.  bourgaeana
ชื่อทวินาม
Pyrus bourgaeana
Decne. (1871)
กิ่งของสาลี่ไอบีเรียที่มีผลจำนวนมาก ในพื้นที่ห่างไกลของสเปน

สาลี่ไอบีเรีย หรือ แพร์ไอบีเรีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus bourgaeana; อังกฤษ: Iberian pear) เป็นสาลี่ญาติสนิทของ แพร์ (Pyrus communis) ซึ่งเริ่มนำมาปลูกเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อน สาลี่ไอบีเรียเป็นไม้ต้นขนาดเล็กที่มีใบเดี่ยว แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในคาบสมุทรไอบีเรียตอนใต้และโมร็อกโกตอนเหนือ[1] โดยมีพื้นที่แพร่กระจายพันธุ์ร่วมกับไม้ผลสกุลสาลี่ (Pyrus) สี่ชนิดคือ แพร์ (P. communis), สาลี่พลีมัธ (P. cordata), สาลี่ P. spinosa และสาลี่หอม (P. nivalis) ลักษณะต่างของสาลี่ไอบีเรียคือ ความกว้างของก้านผล ขนาดกลีบดอก ความกว้างของใบ และความยาวก้านใบ

ลักษณะ[แก้]

ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก โดยทั่วไปสูง 3–6 เมตร[1]

ใบกลม ปลายแหลมเล็กน้อย ขนาดยาว 3.5–4 เซนติเมตร เขียวเข้ม เป็นมัน

ดอกสาลี่ไอบีเรียสีขาว มักไม่มีสีชมพูแซม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร และมีกลีบดอก 5 กลีบ[2]

ผลกลม ลูกเล็กขนาดประมาณ 4–5 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 9.5 กรัม ผิวสีเขียวหรือ น้ำตาลเมื่อแก่ ไม่เป็นที่ดึงดูดนกที่กินผลไม้ มีกลิ่นหอมและกากใยสูง มี 2–4 เมล็ด[3][4] เมล็ดขนาด 0.8–1 เซนติเมตร

ในคาบสมุทรไอบีเรียการกระจายพันธุ์ของสาลี่ไอบีเรีย (P. bourgaeana) แบบกระจัดกระจายไปในป่าละเมาะที่เกิดขึ้นในบริเวณทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) ไกลจากเขตเมืองและเขตเกษตรกรรมในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ต้นสาลี่ไอบีเรียมักจะรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 8-10 ต้น[5][6] สาลี่ไอบีเรียทนต่อโรคอย่างน่าทึ่ง โดยมากมักตายด้วยลมพายุมากกว่าโรคต่าง ๆ

ปฏิสัมพันธ์กับสัตว์[แก้]

แบดเจอร์กินผลสาลี่ไอบีเรียที่ร่วงหล่นในฤดูใบไม้ร่วง เป็นสัตว์กระจายเมล็ดพันธุ์หลักของสาลี่ไอบีเรีย

สาลี่ไอบีเรียออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผสมเกสรโดยแมลงเช่น ผึ้ง แมลงวัน และด้วงปีกแข็ง แต่ละต้นให้ผลผลิตระหว่าง 200-450 ผล สุกและร่วงลงพื้นโดยธรรมชาติในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม

ผลของสาลี่ไอบีเรียมักถูกกินและรบกวนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น แบดเจอร์ จิ้งจอกแดง มากกว่าจากแมลง เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืนสกุล microlepidoptera สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้มักกินผลไม้ทั้งผล และกระจายเมล็ดที่กินเข้าไปเมื่อขับถ่าย ในบางพื้นที่กระต่าย (Oryctolagus cunniculus) และนกบางชนิดกินผลของสาลี่ไอบีเรียเฉพาะส่วนเนื้อผลไม้ และเหลือพูเมล็ดทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ หนูมักกินแทะเมล็ดที่ไม่มีพูแข็งหุ้ม[7] รวมทั้งกวางแดง (Cervus elaphus) และ หมูป่า (Sus scrofa) ซึ่งมีฟันที่บดเมล็ดในผลไม้ที่ร่วงหล่นทั้งผลจนแพร่กระจายได้ยาก

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Aldasoro, J. J., Aedo C., and Muñoz-Garmendia F. 1996. The genus Pyrus L. (Rosaceae) in south-west Europe and North Africa. Biol. J. Linn. Soc. 121: 143-158.
  2. Zywiec M, M Delibes and JM Fedriani. 2012. Microgeographic, inter-individual, and intra-individual variation in the inflorescences of Iberian pear Pyrus bourgaeana (Rosaceae). Oecologia 169: 713-722.
  3. Fedriani, J. M., and M. Delibes. 2009a. Functional diversity in fruit-frugivore interactions: a field experiment with Mediterranean mammals. Ecography 32: 983 - 992.
  4. Aldasoro J. J. , Aedo C, Navarro C. 1998. Pome Anatomy of Rosaceae Subfam Maloideae, with Special Reference to Pyrus. Annals of the Missouri Botanical Garden 85: 518-527.
  5. Fedriani, J. M., T. Wiegand, and M. Delibes. 2010. Spatial patterns of adult trees and the mammal-generated seed rain in the Iberian pear. Ecography 33: 545-555.
  6. Żywiec M Pdoc, Muter E, Zielonka T, Delibes M, Calvo G, and JM Fedriani. 2016. Long-term effect of temperature and precipitation on radial growth in a threatened thermo-Mediterranean tree population. Trees - Structure and Function, DOI 10.1007/s00468-016-1472-8.
  7. Fedriani JM and M Delibes. 2013. Pulp feeders alter plant interactions with subsequent animal associates. Journal of Ecology 101: 1581-1588.