สัญลักษณ์รัฐประเทศสวิตเซอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ก่อกำเนิดโดยการรวมตัวกันของ26 เมืองในปี 1848 โดยที่เมืองแต่ละเมืองเคยเป็นเมืองที่ อยู่ด้วยตัวเอง ปกครองตัวเอง มีขอบเขตเมืองที่ชัดเจน มีทหารและสกุลเงินเป็นของตัวเอง จนกระทั่ง มีการรวมตัวกัน ก่อตั้งจนเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือเมือง Jura เป็นเมืองที่แยกตัวออกมาจากเมือง bern ในปี 1979 ในศตวรรษที่ 16 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประกอบไปด้วยเมืองเพียง 13 เมือง โดยเมืองต่างๆได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบตัวเมือง 7 เมือง และเมือง แบบป่า อีก 6 เมือง

ถึงแม้ว่าเมืองทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน แต่เมืองทั้งหมดก็ได้เป็นอิสระจากอาณาจักรโรมันในปี 1499 ในช่วงเวลาที่สวิตเซอร์แลนด์ชนะจักรพรรดิ Maximillus

หลังจากนั้น เมืองทั้ง 6 เมืองที่เป็นเมืองดินแดนป่า ได้กลายเป็นรัฐที่ปกครองโดยประชาธิปไตย ในขณะที่เมืองอีก 7 เมือง ถูกปกครองโดยครอบครัวเศรษฐีคนรวยของเมืองนั้นๆ

ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเหมือนกับธงของรัฐยุโรปในยุคกลาง ซึ่งเป็นเพียงสี่เหลี่ยมเรียบๆกับเครื่องหมายไม้กางเขน ก่อนหน้านี้ เมืองต่างๆในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มีธงเหมือนกัน แต่หลังจากการก่อตั้งเป็นประเทศ จึงได้มีการหยิบยืมเครื่องหมายต่างๆมาใช้รวมกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน นอกเหนือจากธงของวาติกันแล้ว ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นประเทศเดียวที่มีลักษณะของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


แต่ละเมืองได้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเอง นั่นก็คือธง

Aargau[แก้]

ธงนี้ได้ถูกใช้ครั้งแรกในปีแรกในปี 1803 ลายคลื่นสีขาวบนพื้นสีดำ หมายถึง แม่น้ำ Aare และดาวสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง เขตสามเขตของเมืองนี้ คือได้แก่ Baden, Free Areas, Fricktal ตอนแรก ดาวทั้งสามดวงได้ถูกเรียงกันเป็นแถวแนวยาว แต่ต่อมาในปี 1963 ได้มีการเรียงดาวใหม่เป็นดาวสองดวงกับดาวหนึ่งดวง


Appenzell Ausserrhoden[แก้]

เป็นปีที่เมืองนี้ได้แยกตัวออกมาจากเมือง Appenzell Innerrhoden ซึ่งยังคงใช้สัญลักษณ์หมีจากเมืองเก่า แต่ได้เพิ่ม ตัวอักษรV และ R ซึ่งเป็นตัวย่อของ Ussroden สัญลักษณ์หมีนี้ได้ใช้ตั้งแต่ยุคกลางในปี 1403 เป็นสัญลักษณ์แทนเมืองที่ใช้ในการออกรบของในยุคนั้น


Appenzell Innerrhoden[แก้]

ธงนี้เป็นธงดั้งเดิมตั้งแต่ปี 1597 ก่อนที่เมืองจะแยกออกเป็น 2 เมือง คือ Appenzell Innerrhoden และ Appenzell Ausserrhoden


Basel Land[แก้]

เมืองนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1832 ธงนี้ได้มีการเริ่มใช้ครั้งแรกในปี 1834 ซึ่งได้แบบมาจากคฑาของเจ้าเมือง ที่หัวคฑาหันไปทางด้านขวา พร้อมกับมีการตกแต่งด้วยรูปทรงวงกลมเล็กๆ แต่ต่อมา ได้มีการ นำธงนี้มาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1947


Basel Stadt[แก้]

สัญลักษณ์ของเมืองนี้ ได้มาจากหัวคฑาของหัวหน้าบาทหลวงของเมือง ได้ใช้มานานตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 ซึ่งใช้เป็นสีขาวดำมาตลอด ไม่มีการเพิ่มสีให้กับสัญลักษณ์เมืองนี้ ถึงแม้ว่าจะได้มีการแบ่งเมืองออกเป็น 2 เมือง คือ Basel Land และ Basel Stadt


Bern[แก้]

ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 12 เป็นสัญลักษณ์หมีเช่นเดียวกับเมือง Appenzell เพราะมีการออกรบแย่งดินแดนเหมือนกัน เมืองนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์มาโดยตลอด แต่แต่ละแบบก็ได้ใช้แค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ จนในที่สุดก็ได้กลับมาใช้แบบเดิม ชื่อของหมีบนธงนี้มีชื่อเดียวกับเมือง ซึ่งก็คือ Bern

Fribourg[แก้]

สีประจำเมืองนี้ คือ สีขาวดำ เลยถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ธงประจำของเมือง และธงนี้มีความเกี่ยวข้องกับตราแผ่นดินของประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Geneva[แก้]

นกอินทรีบนธงนี้ เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ และ กุญแจหมายถึงกุญแจของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ เหตุผลที่ใช้สัญลักษณ์นี้ เพราะต้องการสื่อความหมายว่า เมืองนี้เป็นประตูเมืองของประเทศ ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1815 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน


Glarus[แก้]

สัญลักษณ์บนธงเป็นรูปของนักบุญ Fridolin ซึ่งเป็นนักบุญประจำเมืองนี้ วางอยู่บนพื้นหลังสีแดง ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1352


Graubünden[แก้]

เนื่องจากเมืองนี้เป็นการรวมตัวของเมือง 3 เมือง ธงเลยได้รวบรวมสัญลักษณ์ของเมืองทั้ง 3 ไว้ด้วยกันเป็นธงประจำเมืองนี้ Graubunden, Zehgerichtenbund, Gotteshausbund

Jura[แก้]

เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง Basel Land ซึ่งแยกออกมาภายหลัง เลยได้เอาสัญลักษณ์คฑามาใช้ด้วย ส่วนลายทางเป็นสัญลักษณ์ของตราเมืองเลยได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของธงเช่นกัน ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1978


Lucerne[แก้]

ในปี 1332 เมืองนี้เป็นเมืองที่ 4 ที่ได้เข้าร่วมกับการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัญลักษณ์บนธงนี้ ได้นำเพียงสีของเมืองมาใช้ คือ สีขาวฟ้า แล้วเรียงเป็นลายทางแนวขวาง

Neuchâtel[แก้]

สีทั้ง 3 ของธงนี้มาจากสีประจำเมือง ได้เริ่มใช้ในปี 1848 ภายหลังได้เพิ่มสัญลักษณ์ไม้กางเขน เพื่อแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์


Nidwalden[แก้]

สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ แต่มีสองแฉก

Obwalden[แก้]

สัญลักษณ์บนธงของเมืองนี้ หมายถึง กุญแจของเซนต์ปีเตอร์ เช่นเดียวกับเมือง Nidwalden เพราะตอนแรกทั้งสองเมืองนี้คือเมืองเดียวกัน แต่พอแยกเมืองออกมา เมือง Obwalden ก็ยังคงใช้สัญลักษณ์เดิม แต่เหลือกุญแจเพียงแค่แฉกเดียว

Schaffhausen[แก้]

ธงนี้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 14 เป็นสัญลักษณ์รูปแกะ เพราะเมืองนี้มีคำว่า แกะ อยู่ในชื่อเมือง


Sankt Gallen[แก้]

สัญลักษณ์บนธงนี้คือ มัดไม้ที่หุ้มขวานที่มีใบขวานโผล่ออกมา ซึ่งหมายถึงการมีอำนาจการปกครองชั้นสูงของกรุงโรมโบราณ และหมายถึงสาธารณรัฐด้วย ธงนี้ได้นำมาใช้ในปี 1803

Schwyz[แก้]

เมืองนี้เป็น 1 ใน 3 เมืองแรกของการรวมตัวก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งชื่อของเมืองนี้อ่านว่า สวิต เลยได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อประเทศ ธงนี้นำมาใช้ครั้งแรกในปี 1291


Solothurn[แก้]

ธงนี้นำมาใช้ในปี 1394 สัญลักษณ์ของธงคือการนำเอาสีประจำประเทศมาใช้ เพราะตอนแรกธงของเมืองนี้เป็นพื้นแดง ไม้กางเขนขาว แต่ธงนั้นได้นำไปใช้เป็นธงประจำประเทศไปแล้ว


Thurgau[แก้]

ธงนี้นำมาใช้ในปี 1803 เป็นสัญลักษณ์สิงโตตั้งผู้กับตัวเมียสองตัว ซึ่งนำมาจากตราของเมืองที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ


Tessin[แก้]

สีของธงนี้นำมาจากสีของประเทศฝรั่งเศสสามสี คือ แดง ขาว น้ำเงิน แต่ตัดสีขาวออก และสีแดง น้ำเงิน นี้ คือสีหลักของเรือประจำเมือง


Uri[แก้]

สัญลักษณ์บนธงนี้คือรูปกระทิง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชื่อเมือง ธงนี้ได้เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 13 แต่ยังไม่มีห่วงสีแดง ห่วงนี้ได้เพิ่มมาภายหลัง


Valais[แก้]

ตอนแรกธงนี้มีดวง ดาวเพียง แค่7 ดวง แต่ในปี 1802 ได้เพิ่มดาวเป็น 12 ดวง เพื่อที่เมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1814

Vaud[แก้]

สีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงนี้ หมายถึง อิสรภาพ และเมืองนี้ได้เข้าร่วมเป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1803 คำที่เขียนอยู่บนธงเป็นคำขวัญประจำเมือง ซึ่งมีความหมายว่า อิสรภาพ และ ปิตุภูมิ


Zug[แก้]

เมืองนี้ได้เข้าร่วมในการกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1352 แต่ถูกออสเตรียยึดครองช่วงหนึ่ง และกลับเข้ามารวมกับสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งในปี 1364 ดั้งเดิมสีธงเป็นสีแดงขาว แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็นน้ำเงินขาว ซึ่งมาจากตราประจำเมือง

Zürich[แก้]

ธงนี้เริ่มใช้ในปี 1351 ซึ่งเป็นปีที่เมืองนี้ได้เข้ารวมกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากปี 1957 ได้มีข้อบังคับให้ใช้ธงนี้ในรูปแบบเดียวกันกับเกราะของเมือง