สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ (2533)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ (2533)
ประเภทสนธิสัญญาชายแดน
วันลงนาม14 พฤศจิกายน ค.ศ.1990
ที่ลงนามวอร์ซอ, ประเทศโปแลนด์
วันมีผล16 มกราคม ค.ศ.1992
ผู้ลงนามธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ภาษาเยอรมัน
โปแลนด์

สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2533 เป็นการตกลงครั้งสุดท้ายในการกำหนดพรมแดนโปแลนด์-เยอรมนี ซึ่งในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว นับเป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณามาตั้งแต่ พ.ศ. 2488 สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามในรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ กชือชตอฟ ซกูบีแชฟสกี และฮันส์-ดีทริช เกนเชอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้รับการให้สัตยาบันโดยเซย์มของโปแลนด์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และบุนเดสทักของเยอรมนี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และมีผลบังคับใช้หลังการแลกเปลี่ยนเอกสารการให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535

สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวมีชื่อเต็มว่า "สนธิสัญญาระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ว่าด้วยการยืนยันพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534"[1] (เยอรมัน: Vertrag zwischen der Bundesrepublik Deutschland und der Republik Polen über die Bestätigung der zwischen ihnen bestehenden Grenze; โปแลนด์: Traktat między Rzeczpospolitą Polską a Republiką Federalną Niemiec o potwierdzeniu istniejącej między nimi granicy[2])

ประวัติศาสตร์[แก้]

ในความตกลงพ็อทซ์ดัมในปี พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้กำหนดแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตปกครองโซเวียตในเยอรมนีและโปแลนด์ โดยให้การกำหนดพรมแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในการตกลงสันติภาพในภายหลัง สนธิสัญญาซกอแชเล็ตส์ ในปี พ.ศ. 2493 ระหว่างเยอรมนีตะวันออกและสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ได้ยืนยันพรมแดนดังกล่าวในขั้นสุดท้าย เยอรมนีตะวันตก ซึ่งมองว่าตนเป็นเพียงผู้เดียวที่เป็นผู้สืบทอดทางกฎหมายต่อจากนาซีเยอรมนี และไม่ยอมรับสถานะของเยอรมนีตะวันออก ยืนกรานว่าการตกลงขั้นสุดท้ายในปัญหาพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์จะต้องได้รับการยอมรับจากประเทศเยอรมนีที่รวมประเทศแล้วในอนาคตเท่านั้น ถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติทั้งหมด เยอรมนีตะวันตกจะได้ยอมรับแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศแล้วตามสนธิสัญญาวอร์ซอ (2513) คำเคือนทางกฎหมานว่ามีเพียงสนธิสัญญาสันติภาพในอนาคตเท่านั้นจึงจะตกลงปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นทางการยังคงมีผลอยู่

หลังจากการรวมประเทศเยอรมนีเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้อธิปไตยสมบูรณ์แก่เยอรมนีโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้การรับรองครั้งสุดท้ายต่อแนวโอเดอร์-นิซเซ ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1.2 ของสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี[3] การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ในการรับรองแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นพรมแดนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของสนธิสัญญารวมประเทศระหว่างเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกซึ่งได้รับการลงนามและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โปแลนด์ยังได้ต้องการให้สนธิสัญญาดังกล่าวยุติความกำกวมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านแนวพรมแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2488

เนื้อหา[แก้]

ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา ประเทศภาคีสัญญา:

  • ยืนยันแนวพรมแดนตามสนธิสัญญาซกอแชเล็ตส์ในปี พ.ศ. 2493 ตลอดจนรัฐบัญญัติซึ่งควบคุมบังคับในภายหลัง และสนธิสัญญาวอร์ซอ พ.ศ. 2513
  • ประกาศว่าพรมแดนดังกล่าวไม่สามารถถูกละเมิดได้นับจากนี้เป็นต้นไป และรับประกันการเคารพต่อเอกราชและบูรณภาพเหนือดินแดนระหว่างกัน
  • ประกาศว่าทั้งสองประเทศจะต้องไม่มีการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนระหว่างกัน และจะไม่มีการอ้างสิทธิ์ดังกล่าวในอนาคต

ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาความเป็นเพื่อนบ้านและความร่วมมือฉันมิตร ได้รับการลงนามระหว่างเยอรมนีนและโปแลนด์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2534

อ้างอิง[แก้]

  1. Treaty between the Federal Republic of Germany and the Republic of Poland on the confirmation of the frontier between them, 14 November 1990(PDF)
  2. "Polsko-niemiecka współpraca". www.pol-niem.pl. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.
  3. "German-American Relations - Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany (two plus four)". usa.usembassy.de. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.