สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา/บทความแนะนำ/เก็บบทความ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นี่คือส่วนของบทความที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ซึ่งจะถูกแสดงในสถานีย่อย:พระพุทธศาสนาในส่วนของคอลัมน์บทความแนะนำ ถ้าต้องการเสนอบทความให้ใส่ไว้ที่หน้า หน้าเสนอชื่อบทความแนะนำ (สถานีย่อยพระพุทธศาสนา)


เนื้อหาประจำเทศกาลออกพรรษา พ.ศ.2553[แก้]

พระไตรปิฎก (อังกฤษ: Tripiṭaka, สิงหล: ත්‍රිපිටකය, เทวนาครี: त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎกมาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคำว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่พระภิกษุจดจารึกคัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตระกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการ เชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คำพูดว่า "ไตรปิฎก" ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกก่อนการสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้วเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 จึงแยกอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริง อ่านต่อ...


เนื้อหาประจำวันพระแรม 1 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ.2553 (วันเข้าพรรษา)[แก้]

พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (อังกฤษ: Buddhism; จีน: 佛教; บาลี: buddhasāsana, สันสกฤต: buddhaśāsana) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพุทธบริษัท 4 เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระศาสดา และเพื่อสืบทอดพระธรรมแห่งพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ... อ่านต่อ

เนื้อหาประจำวันพระแรม 1 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ.2552 (วันเข้าพรรษา)[แก้]

วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, เขมร:​​​​ វស្សា, พม่า:​​​​ ဝါဆိုး) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย อ่านต่อ

เนื้อหาประจำวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2552 (วันวิสาขบูชา)[แก้]

วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการของหลายประเทศ และเป็นวันสำคัญของโลกตามมติของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า... อ่านต่อ

เนื้อหาประจำวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พ.ศ.2552 (วันมาฆบูชา)[แก้]

วันมาฆบูชา ([มาฆปูชา] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); อังกฤษ: Magha Puja) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย มาฆบูชา ย่อมาจาก มาฆปุรณมีบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ (ตามปฏิทินของอินเดีย) หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ( 45 ปี ก่อนพุทธศักราช อันเป็นปีแรกแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร (วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งเป็น วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นตรงกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 องค์นั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" (ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าโดยตรง) , พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ) อ่านต่อ...

เนื้อหาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - มกราคม พ.ศ. 2552 (ศาสนาพุทธในประเทศไทย)[แก้]


พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้ อ่านต่อ...

เนื้อหาประจำวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ.2551 (วันอาสาฬหบูชา)[แก้]


วันอาสาฬหบูชา (บาลี: อาสาฬหปูชา) (อังกฤษ: Asalha Puja) เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทในประเทศไทย อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักจะตรงกับเดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคม)

วันอาสาฬหบูชา ได้รับการยกย่องเป็นเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ( 45 ปี ก่อนพุทธกาล) ในวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ ซึ่งเป็น วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก (ปฐมเทศนา) คือ (ธรรมจักกัปปวัตนสูตร) แก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งการแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา) ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ พระรัตนตรัยครบองค์ 3 บริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบสามรัตนะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า วันพระธรรมจักร (วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก) และ วันพระสงฆ์ (วันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก) อีกด้วย อ่านต่อ...

เนื้อหาวันพระแรม 8 ค่ำ​เดือน 6 พ.ศ.2551 (วันอัฏฐมีบูชา)[แก้]


ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นหนึ่งในสามของศาสนาหลักของโลก ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการประกาศศาสนา เริ่มจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี จึงแตกเป็นนิกายย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน อ่านต่อ...

เนื้อหาวันพระขึ้น 15 ค่ำ​เดือน 6 พ.ศ.2551 (วันวิสาขบูชา)[แก้]


ภิกษุณี (บาลี: Bhikkuṇī ) (สันสกฤต: Bhikṣuṇī) (จีน: 比丘尼) (อังกฤษ: Bhikkhuni) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชหญิง" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับ ภิกษุ (นักบวชชาย) คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป

ปัจจุบัน ภิกษุณีในสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท จากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย (ทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์) ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อมานานแล้ว) คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีมาจนปัจจุบัน

ในปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่ามีภิกษุณีเถรวาทในประเทศไทย แต่ยังมีพบอยู่ในจีน (มหายาน) และศรีลังกา (เถรวาท ซึ่งรับการบวชกลับมาจากภิกษุณีมหายานของจีน) อ่านต่อ...