สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับ
อักษรคูนิฟอร์ม
อักษรคูนิฟอร์ม

ประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งมีขั้นตอนประกอบด้วยการค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสำคัญ เพราะเสมือนเป็นการให้ "มุมมอง" แก่ปัญหาในปัจจุบัน นักปราชญ์ จอร์จ ซานตายานา ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ไม่สามารถจดจำอดีตได้จะถูกลงโทษให้ซ้ำรอยมัน"

การศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์มักเริ่มตั้งแต่ชาวสุเมเรียนคิดค้นอักษรคูนิฟอร์ม (ในภาพ) เมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสตศักราช จากนั้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็ปรากฏหลักฐานเรื่อยมา ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวีรกรรม ราชวงศ์ ความเจริญและความเสื่อม หรือจะเป็นโศกนาฏกรรม เช่น การพิชิตสามทวีปของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช, วิถีชีวิตแห่งยุคกลาง ซึ่งประกอบด้วยเจ้า ข้าและอัศวิน, การปฏิวัติฝรั่งเศสอันนำมาซึ่งความเจริญของสาธารณรัฐทั้งหลาย หรือสงครามโลกครั้งที่สองที่ปรากฏความรุนแรงอย่างที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน

ฉะนั้น เราจึงควรศึกษาประวัติศาสตร์ไว้เป็นบทเรียนและอุทาหรณ์ เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างหรือหลีกเลี่ยง หรืออาจกล่าวได้ว่า เพื่อมิให้ "ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย"

สุ่มตัวเลือกอื่น
แก้ไข   

บทความที่คุณสุ่มได้

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ หรือที่ถวายเรียกกันว่า เสด็จพระนาง เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี แห่งสกุลบุนนาค เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ (๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๔) ทรงร่วมเจ้าจอมมารดากับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี หรือเสด็จอธิบดี ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕

พระองค์เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ซึ่งทรงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก (ชั้นทูลกระหม่อม) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์แรกที่มีพระชนม์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อ่านต่อ...

แก้ไข   

รู้หรือไม่ที่คุณสุ่มได้

  • ...อเล็กซานเดอร์มหาราชได้เคยขยายอำนาจไปถึงประเทศอินเดีย ทำให้ไม่ว่าจะเป็น อียิปต์ เปอร์เซีย ตุรกี ยาวไปจนถึง อินเดีย ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมกรีกทั้งนั้น
  • ...กีฬาโอลิมปิกแบ่งออกเป็นสองยุคคือ กีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณ กับ กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ โดยสมัยใหม่ถูกก่อตั้งโดยคุณ กูแบร์แตง หลังจากที่พระราชาองค์หนึ่งสั่งงดการเล่นกีฬาโอลิมปิดสมัยโบราณไปเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่แล้ว
  • ...พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาถึง 35 ปีในการเลิกทาส แต่ในระหว่างนั้น ไม่มีการนองเลือดเสียเลือดเนื้อใด ๆ ทั้งสิ้น
  • แก้ไข   

    ปริศนาประวัติศาสตร์

    หากคุณตอบคำถามของเราได้ทุกข้อ เราขอปรบมือให้ :

    พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดทรงโปรดให้สร้างหอนาฬิกาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น และหอนาฬิกานั้นถูกสร้างก่อนหอนาฬิกาบิกเบนกี่ปี

    เรือไททานิกจมลง ก่อน หรือ หลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก และ เหตุการณ์นั้นเกิด ก่อน หรือ หลัง ที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก กี่ปี

    ปีอะไรสองปีที่เป็นปีที่นับได้ว่าเป็นหายนะของลอนดอนและเพราะเหตุใด
    แก้ไข   

    ภาพที่คุณสุ่มได้



    ภาพคณะราชทูตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2229ที่พระราชวังแวร์ซายส์ ณ กรุงปารีส คณะราชทูตกำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสอยู่

    แก้ไข   

    ดัชนีช่วยค้นหา

    WP:FA บทความคัดสรร

    WP:GA บทความคุณภาพ

    วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ/บทความที่เคยถูกเสนอชื่อ บทความที่เคยถูกเสนอชื่อเป็นบทความคุณภาพ

    แก้ไข   

    คุณทำได้

    นี่คือส่วนหนึ่งที่คุณทำได้

    หรือดูรายละเอียดที่ สารานุกรมประวัติศาสตร์

    เจ้าฟ้ามหานคร กิตติชยกร ราชสำนักหลวง

    แก้ไข   

    ตอบข้อสงสัย

    คำถาม : ประวัติศาสตร์ อ่านอย่างไรจึงจะถูกกันแน่ ?
    คำตอบ : คำว่า ประวัติศาสตร์ เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า ประวัติ และคำว่า ศาสตร์ ตามกฎของคำสมาสแล้ว สระอิบนต.เต่า จะต้องออกเสียงด้วย ดังเห็นได้จากคำว่า เกียรติภูมิ อ่านว่า เกียด-ติ-พูม ไม่ใช่ เกียด-พูม คำว่า อุบัตเหตุ อ่านว่า อุ-บัด-ติ-เหด ไม่ใช่ อุ-บัด-เหด ฉันใดก็ฉันนั้น คำว่า ประวัติศาสตร์จึงควรอ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด ตามหลักภาษาไทย แต่ต่อมาได้มีการอนุโลมให้อ่านว่า ประ-หวัด-สาด ได้

    ในโอกาสต่อ ๆ ไป หากมีคำถามไหนน่าสนใจ จะถูกนำขึ้นมาแสดงไว้ ณ ที่นี้

    แก้ไข   

    วันนี้ในอดีต


    3 พฤษภาคม: วันรัฐธรรมนูญในโปแลนด์และญี่ปุ่น; วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

    ดูเพิ่ม: 2 พฤษภาคม3 พฤษภาคม4 พฤษภาคม

    << พฤษภาคม >>
    อา พฤ
          1 2 3 4
    5 6 7 8 9 10 11
    12 13 14 15 16 17 18
    19 20 21 22 23 24 25
    26 27 28 29 30 31  
    พ.ศ. 2567


    หมวดหมู่


    โครงการวิกิมีเดียที่เกี่ยวข้อง
    ประวัติศาสตร์บนวิกิคำคม
    คำคม สุภาษิต
    ประวัติศาสตร์บนวิกิคอมมอนส์
    รูปภาพ
    ประวัติศาสตร์บนวิกิซอร์ซ
    เอกสารต้นฉบับ
    ประวัติศาสตร์บนวิกิตำรา
    ตำราและคู่มือ


    สถานีย่อย
    สถานีย่อย :


    อะไรคือสถานีย่อย ?