สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 KB05   SP15   KT2  บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน
ศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
KTM_Logo KTM_Komuter_Logo KTM_ETS_Logo Rapid_KL_Logo ERL_Logo
สถานีรถไฟชานเมือง, ระหว่างเมือง, รางเบา และเชื่อมท่าอากาศยาน
ทางออกตะวันออกเฉียงใต้
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นจีน: 南湖鎮站
ที่ตั้งบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
พิกัด3°4′34″N 101°42′38″E / 3.07611°N 101.71056°E / 3.07611; 101.71056
เจ้าของเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู
Prasarana Malaysia
ผู้ให้บริการแรพิดเรล
เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
สายสายชายฝั่งทะเลตะวันตก
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง (เคทีเอ็ม)
1 ชานชาลาเกาะกลาง (รางเบา)
2 ชานชาลาเกาะกลาง (เอ็กซ์เพรส)
ราง2 (เคทีเอ็ม)
2 (รางเบา)
4 (เอ็กซ์เพรส)
การเชื่อมต่อBus transport รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีค่าจอด
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี KB04   SP15   KT2 
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ10 พฤศจิกายน 1995 (เคทีเอ็ม)
11 กรกฎาคม 1998 (รางเบา)
20 มิถุนายน 2002 (เอ็กซ์เพรส)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟมาลายา
(รถไฟชานเมือง)
สถานีต่อไป
ซาละก์เซอลาตัน
มุ่งหน้า บาตูเคฟส์
สายบาตูเคฟส์–ปูเลาเซอบัง เซอร์ดัง
สถานีก่อนหน้า การรถไฟมาลายา (อีทีเอส) สถานีต่อไป
เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
มุ่งหน้า ปาดังเบซาร์
ปาดังเบซาร์–เกอมัส (โกลด์) กาจัง
มุ่งหน้า เกอมัส
เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ บัตเตอร์เวิร์ท–เกอมัส (โกลด์)
สถานีก่อนหน้า สถานีต่อไป
บันดาร์ตุนราซะก์ สายซรีเปอตาลิง ซูไงเบอซี
มุ่งหน้า ปุตราไฮท์
สถานีก่อนหน้า เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ สถานีต่อไป
เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
สถานีปลายทาง
เคแอลไอเอ แทรนซิต ปูตราจายาและไซเบอร์จายา
มุ่งหน้า เคแอลไอเอ 2

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน (อังกฤษ: Bandar Tasik Selatan station) เป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตั้งชื่อตามท้องที่ตำบลบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน เป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่างรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม, รถไฟฟ้ารางเบา สายอัมปัง, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และรถโดยสารประจำทางของแรพิดเรล ตัวสถานีตั้งอยู่ระหว่างถนนวงแหวนที่สอง (MRR2) และทางพิเศษซูไงเบอซี

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันถือเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของกัวลาลัมเปอร์

รายละเอียดสถานี[แก้]

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าสามสายมากว่า 7 ปี สถานีในส่วนของแต่ละสายจะแยกออกจากกัน และการจำหน่ายบัตรโดยสารจะแยกระบบกัน แต่มีสะพานเชื่อมในแต่ละส่วน

ที่หยุดรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม[แก้]

ชานชาลาฝั่งเหนือของที่หยุดรถไฟบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ในส่วนของรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม มีลักษณะเป็นที่หยุดรถ ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง สายเซอเริมบัน เปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 มีทางเข้าสถานีจากฝั่งถนนวงแหวนที่สอง (MRR2) ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก ลักษณะทางรถไฟเป็นทางคู่ มีชานชาลาด้านข้าง 2 แห่ง และสะพานลอยข้าม เนื้อที่ตัวสถานีค่อนข้างคับแคบ

ในปี ค.ศ. 2006-2007 มีการปรับปรุงตัวสถานีครั้งใหญ่ โดยการขยายพื้นที่จำหน่ายตั๋ว และการถมชานชาลาให้สูงขึ้นกว่าเดิม

สถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง[แก้]

ชานชาลาฝั่งเหนือของสถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันในสายย่อยซรีเปอตาลิง เป็นสถานีระดับดิน เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่หยุดรถไฟชานเมือง โดยการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้ สามารถใช้ทางเข้าร่วมกับที่หยุดรถไฟชานเมืองได้

สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้มีความสามารถในการรับผู้โดยสารได้มากกว่าที่หยุดรถไฟชานเมือง สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ช่องจำหน่ายตั๋ว และเครื่องตรวจบัตรโดยสาร ชานชาลาเป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง มีสะพานลอยเชื่อมไปยังที่หยุดรถไฟชานเมือง

สถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์[แก้]

ภาพมุมสูงของสถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน (รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ) จากฝั่งใต้ ในภาพนี้ จะเห็นขบวนรถไฟฟ้าด่วนวิ่งผ่านสถานี

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ในส่วนของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2002 เป็นหนึ่งใน 5 สถานี ที่รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนสิต หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร สถานีแห่งนี้มีทางเดินเชื่อมต่อกับที่หยุดรถไฟชานเมือง และสถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง ตัวสถานีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่หยุดรถ สามารถเข้าถึงสถานีได้จากถนนสายย่อยของทางพิเศษซูไงเบอซี

สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้มีชานชาลาเกาะกลาง 2 แห่ง ทางรถไฟ 4 ทาง และช่องจำหน่ายตั๋ว มีสะพานลอยความยาว 95 เมตร ข้ามชานชาลา

สถานีขนส่งผู้โดยสาร[แก้]

ในแผนพัฒนามาเลเซียที่เก้า มีโครงการที่จะสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารบริเวณนี้[1] อาคารผู้โดยสารใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 570 ล้านริงกิต เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2013[2]

สถานีรถโดยสารของแรพิดเคแอล[แก้]

นอกจากรถไฟฟ้าทั้งสามสายแล้ว สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันยังมีรถโดยสารของแรพิดเคแอล วิ่งให้บริการอีก 4 สายด้วยกัน

ในอนาคต ตัวสถานีจะมีลานจอดรถแท็กซี่ 150 คัน ชานชาลารถโดยสาร 60 ชานชาลา ที่จอดรถ 1,000 คัน ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากถนนวงแหวนที่สอง และทางหลวงเบิซรายา[3] และมีแผนที่จะย้ายสถานีขนส่งหลักจากปูดูรายา มาที่บันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Minderjeet Kaur (2006-04-01). "9MP Report: Transport hubs to ease travel woes". New Straits Time. สืบค้นเมื่อ 2008-07-01.
  2. "RM570mil terminal project to proceed". The Star. 2008-07-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.
  3. Chok Suat Ling (2008-07-12). "Cut the highways, look into buses, LRT". The New Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-13. สืบค้นเมื่อ 2008-07-12.
  4. Lee Yuk Peng (2009-05-21). "Steps to improve KL transport service". The Star.