ข้ามไปเนื้อหา

ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงพัฒนาการงานประติมากรรมของไทยตั้งแต่ยุคคลาสสิคไปจนถึงงานร่วมสมัยโดยมีความมุ่งหมายสะท้อนความคิดและมุมมองของศิลปินตั้งแต่ยุคพุทธศิลป์ในพุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีจัดแสดงให้ชมกว่า 200 ชิ้น เป็นองค์กรส่งเสริมด้านศิลปะของเอกชน ดำเนินการในรูปขององค์กรแบบไม่หวังผลประโยชน์ทางการเงิน เปิดให้เข้าชมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ประวัติ[แก้]

ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมศิลปะเพื่อสังคมของ CMO Group และได้รับการสนับสนุนพื้นที่สำนักงานจาก บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) ส่วนพื้นที่จัดแสดงประติมากรรมได้รับการสนับสนุนพื้นที่จากบริษัท พีเอ็มเซ็นเตอร์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ถนนรามอินทรา ซอยนวลจันทร์ กรุงเทพมหานคร อยู่บนเนื้อที่ 4 ไร่ พื้นที่ใช้สอยรวม 4,000 ตารางเมตร เป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงพัฒนาการงานประติมากรรมของไทยตั้งแต่ยุคคลาสสิคไปจนถึงงานร่วมสมัยโดยมีความมุ่งหมายสะท้อนความคิดและมุมมองของศิลปินตั้งแต่ยุคพุทธศิลป์ในพุทธศตวรรษที่ 15 จนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีจัดแสดงให้ชมกว่า 200 ชิ้น โดยมีคอลเลคชั่นที่สำคัญ คือ คอลเลคชั่นของประติมากรชั้นครู เขียน ยิ้มศิริ, อินสนธิ์ วงสาม, ชำเรือง วิเชียรเขตต์, นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และ มานพ สุวรรณปิณฑะ นอกจากนี้ ยังมีผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติและนานาชาติ อาทิ กมล ทัศนาญชลี, ถวัลย์ ดัชนี, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร, จักรพันธุ์ โปษยกฤต, เข็มรัตน์ กองสุข และวิชัย สิทธิรัตน์ ฯลฯ โดยคอลเลคชั่นนี้เป็นไปได้เพราะความเสียสละของศิลปินไทยและการสนับสนุนจากส่วนราชการ โดยศิลปินหลายท่านได้กรุณาขายงานอันทรงคุณค่าให้หลายท่านได้มอบให้เป็นสมบัติของศูนย์ฯ และหลายท่านได้ให้การสนับสนุนโดยการให้คำปรึกษาทางวิชาการ โดยศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ เป็นองค์กรส่งเสริมด้านศิลปะของเอกชน ดำเนินการในรูปขององค์กรแบบไม่หวังผลประโยชน์ทางการเงิน บริหาร และเป็นเจ้าของโดย เสริมคุณ คุณาวงศ์

คอลเล็กชั่นที่จัดแสดง[แก้]

  • พระพุทธรูป : จัดแสดงพระพุทธรูปตั้งแต่ศิลปะสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จนกระทั่งถึงพระพุทธรูปศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 รวมทั้งสิ้น 9 องค์
  • ยุคเหมือนจริง
  • ยุคศิลปสมัยใหม่ของไทย : ประติมากรที่โดดเด่นในแนวนี้ก็คือ เขียน ยิ้มศิริ ,ชิต เหรียญประชา และสมโภชน์ อุปอินทร์ เป็นต้น
  • ยุคทองของนามธรรม : ประติมากรคนสำคัญที่อยู่ในกระแสกึ่งนามธรรมหรือนามธรรม ได้แก่ ชำเรือง วิเชียรเขตต์, ชลูด นิ่มเสมอ,นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ,วิชัย สิทธิรัตน์, เข็มรัตน์ กองสุข, ชีวา โกมลมาลัยและ อินสนธ์ วงศ์สาม เป็นต้น
  • ผลงานสื่อประสม สะท้อนอัตลักษณ์ของศิลปิน

โครงการพิเศษในการร่วมมือกับพันธมิตร[แก้]

  • โครงการที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้ดำเนินการถอดพิมพ์ประติมากรรม “ครุฑ” ผลงานของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี[1]

ผลงานประติมากรรมที่นำไปจัดแสดง[แก้]

  • การจัดแสดงในงาน Asia On The Edge ที่ Sculpture Square สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน ถึง 6 ธันวาคม 2551[2]
  • นิทรรศการหมุนเวียน : งาน Passion of Thai Modern Art[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "กำเนิดใหม่ ครุฑร่วมสมัย". กรุงเทพธุรกิจ. 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.[ลิงก์เสีย]
  2. "Asia on the Edge 2008". Asia On The Edge.
  3. "ดื่มด่ำกับผลงานศิลปะ ที่นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย 'Passion of Thai Modern Art'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]