วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/หลักการตั้งชื่อบทความเว็บไซต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นเพียงพอ ได้รับการเขียนให้อยู่ในวิกิพีเดียมามากพอสมควรแล้ว แต่การตั้งชื่อบทความเว็บไซต์ยังไม่มีความแน่นอน ไม่มีหลักการตั้งชื่อที่ชัดเจน สังเกตได้ว่ามีการตั้งชื่ออยู่สามกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. กลุ่มที่หนึ่ง ใช้รูปแบบ ชื่อเว็บไซต์ + "." + โดเมนบนสุด เช่น พันทิป.คอม วิชาการ.คอม กลุ่มนี้มีจำนวนน้อย
  2. กลุ่มที่สอง ใช้รูปแบบ ชื่อเว็บไซต์ + "ดอต" + โดเมนบนสุด เช่น กระปุกดอตคอม สนุกดอตคอม ลาสต์ดอตเอฟเอ็ม ไทยแวร์ดอตคอม ไทยเฮลท์ดอตเน็ต กลุ่มนี้มีจำนวนพอสมควร
  3. กลุ่มที่สาม ใช้รูปแบบ ชื่อเว็บไซต์โดยตรง ไม่ใส่จุดใส่อะไรเลย เช่น วิกิพีเดีย (รวมทั้งวิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ) อินเทอร์เน็ตมูวีดาตาเบส มายสเปซ บล็อกนัน เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ เอ็กซ์ทีน กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด

ถ้าเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ จะพบแต่กลุ่มที่หนึ่งกับกลุ่มที่สามเท่านั้น

ดังนั้นเราควรจะมีหลักการตั้งชื่อบทความเว็บไซต์ให้จริงจัง ผมขอเสนอว่า

  1. นโยบายหลักให้ตั้งชื่อเว็บไซต์โดยตรง โดยใช้ชื่อทางการในภาษาไทย หรือทับศัพท์เป็นภาษาไทย และไม่ต้องใส่โดเมนต่อท้าย (เหมือนกลุ่มที่สาม)
  2. ถ้าการตั้งชื่อในข้อ 1 มีความหมายกำกวม หรือมีเว็บไซต์อื่นที่มีความโดดเด่นและชื่อซ้ำกัน ให้ใส่โดเมนระดับบนสุดหรือระดับรองลงมา ลงไปด้วย (เหมือนกลุ่มที่หนึ่ง)
    • ทีนี้เราก็จะมีทางเลือกอยู่ว่า จะใช้ .คอม หรือใช้ .com ดี

ถ้าเห็นด้วยกับหลักการนี้ ผมจะได้นำไปใส่ไว้ในหลักการตั้งชื่อครับ และจะต้องมีการเปลี่ยนชื่อบทความเดิมแน่นอน --octahedron80 12:26, 27 มีนาคม 2555 (ICT)

นอกจากนี้ นโยบายความโดดเด่นของบทความเว็บไซต์ คงต้องนำเข้ามาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษอีกเช่นกัน เพราะผู้ใช้หลายคนมักจะมาโปรโมตเว็บไซต์ตาสีตาสาในวิกิพีเดีย ถ้ามีนโยบายนี้แล้ว การพิจารณาลบบทความเว็บไซต์ด้วยเหตุความโดดเด่นไม่เพียงพอ ก็จะสามารถทำได้ครับ แต่ยังไม่ขอพูดถึงในการอภิปรายนี้ --octahedron80 12:46, 27 มีนาคม 2555 (ICT)

  1. เห็นด้วย แต่ให้ยกเว้นวิสามานยนามด้วย บางเว็บเขามีวิธีการอ่านของเขาเป็นแบบเฉพาะก็ควรอนุโลมตามไป --taweethaも (พูดคุย) 13:32, 27 มีนาคม 2555 (ICT)
    • ชื่อเว็บไซต์ปกติก็เป็นวิสามานยนามอยู่แล้ว --octahedron80 13:36, 27 มีนาคม 2555 (ICT)
      • หรือจะบอกว่านโยบาย "ทับศัพท์" ยกเว้นวิสามานยนามอยู่แล้วก็ได้ ? --taweethaも (พูดคุย) 16:08, 27 มีนาคม 2555 (ICT)
        • คุณเข้าใจผิดแล้วครับ วิสามานยนาม (proper name) หมายถึงชื่อเฉพาะของสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ศัพท์ทั่วไป (สามานยนาม) ดังนั้น กูเกิล กระปุก สนุก พันทิป ฯลฯ จึงเป็นวิสามานยนามเสมอ จะทับศัพท์หรือไม่ จะเขียนอย่างไร มันก็ยังเป็นวิสามานยนามอยู่ตลอดเวลา ชื่อเว็บไซต์ทุกแห่งเป็นวิสามานยนาม (เป็นที่เข้าใจของบุคคลทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องระบุ) ดังนั้นเมื่อคุณกล่าวว่า "ยกเว้นวิสามานยนาม" จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องครับ
        • ผมขอเดาว่าคุณกำลังหมายถึง ชื่อทางการ (official name) นโยบายเดิมกล่าวว่า ถ้ามีชื่อทางการในภาษาไทยก็ให้ใช้ชื่อนั้นไป ดังนั้นนโยบายสำหรับชื่อเว็บไซต์ก็สอดคล้องกับนโยบายเดิมอยู่แล้วครับ (แม้ผมจะไม่ระบุวลี โดยใช้ชื่อทางการในภาษาไทย ก็ตาม) และหลักการทับศัพท์ก็ใช้ตามนโยบายเดิมตามปกติ --octahedron80 17:44, 27 มีนาคม 2555 (ICT)
          • รับทราบครับ ใช่ครับชื่อเป็นวิสามานยนามอยู่แล้ว แต่ชื่อเหล่านี้มักประกอบขึ้นจาก common noun และเมื่อใช้หลักการทับศัพท์หากไม่มีการระบุเป็นอย่างอื่นก็ทับศัพท์ตามเสียงอ่านอย่าง common noun - และในใจผมนึกถึงเรื่องขำๆ แบบ [1] อยู่ครับ ตกลงว่าประเด็นนี้ไม่ติดใจแล้ว เป็นอันเข้าใจกันว่าถ้าเขามีวิธีอ่านของเขาเป็นภาษาไทยก็ใช้ตามเขา หากไม่มีก็ใช้หลักการตั้งชื่อข้างต้น + หลักทับศัพท์ + อย่าลืมแบ่งวรรคให้ถูก... :-) --taweethaも (พูดคุย) 19:18, 28 มีนาคม 2555 (ICT)
  2. แต่ละกลุ่มก็ไม่ได้ผิดแปลกแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเขียน .คอม .com ดอตคอม หรือมีเฉพาะชื่อเว็บไซต์ แต่ความชัดเจน คือ จะใช้แบบไหนเป็นรูปแบบหลักในการเขียน เช่น สนุก กับ สนุกดอตคอม แบบไหนจะชัดเจนกว่ากัน ผมคิดว่าการมีดอตคอม .คอม .com จะสามารถสื่อความหมายได้ดีกว่า และหากจะให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ผมเห็นด้วยที่จะใช้ เว็บไซต์ดอตคอม มากกว่า .คอม หรือ .com แต่คงไม่ถึงขั้นใช้ว่า จุดคอม หรอกนะครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 18:01, 30 มีนาคม 2555 (ICT)
    • ถ้าคุณอ่านอย่างถี่ถ้วนคุณจะทราบว่า ผมต้องการใช้รูปแบบไหนนะครับ ผมอยากให้มีนโยบายรองรับเป็นเอกภาพครับ จะได้ไม่ต้องมีการอภิปรายที่ไม่จำเป็นในภายหลัง จุดผมถือว่าเป็นเครื่องหมายไม่ใช่คำอ่านครับ ภาษาอื่นก็เรียกเครื่องหมายจุดต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องเป็นดอตเสมอไป --浓宝努 20:46, 30 มีนาคม 2555 (ICT)
  3. ถ้าให้เขียนว่า ".คอม" หรือ "ดอตคอม" เป็นต้น อย่างอื่นก็คงต้องเป็น ".เอซี.ทีเอช", ".จีโอ.ทีเอช" ฯลฯ ด้วยใช่ไหมครับ --Aristitleism (พูดคุย) 21:33, 30 มีนาคม 2555 (ICT)
    • ก็คงเทียบเคียงได้อย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ชื่อทางการอาจเป็นเพียงกลุ่มคำกลุ่มเดียว (อาทิดิลิเชียส มาจาก del.icio.us หรือ อินสตาแกรม มาจาก instagr.am) หรือบางเว็บไซต์มีหลายโดเมนลิงก์มาที่เดียวกัน (อาทิกูเกิล มีทั้ง .com .co.th .co.uk .co.jp ฯลฯ) เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงใช้เพียงชื่อทางการและไม่ต้องใส่โดเมนต่อท้าย (ถ้าชื่อนั้นไม่กำกวม) อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ขององค์การ สามารถเขียนได้ในบทความองค์การ ไม่จำเป็นต้องมีบทความแยกออกมา --浓宝努 21:38, 30 มีนาคม 2555 (ICT)

ไม่มีการอภิปรายเพิ่มเติม ดังนั้นผมจะถือว่าไม่มีใครคัดค้านนโยบายนี้นะครับ จะได้นำไปใส่ในหลักการตั้งชื่อบทความ --浓宝努 08:55, 15 เมษายน 2555 (ICT)