ข้ามไปเนื้อหา

วัดเชียงยืน (อำเภอเมืองเชียงใหม่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเชียงยืน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเชียงยืน
ที่ตั้ง160 ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เจ้าอาวาสพระครูสิริญาณวัชร์ (วิตัน วชิรญาโณ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเชียงยืน ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การสร้างเมืองคือเป็น "เดชเมือง"

ตำนานชื่อวัด[แก้]

  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ นามว่า วัดเชียงยืน
  • ตำนานพงศาวดารโยนก นามว่า วัดฑีฆชีวะวัสสาราม
  • ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ นามว่า วัดฑีฆายวิสาราม หรือฑีฆาชีวิตสาราม

ประวัติ[แก้]

ในปีพ.ศ. 1836 – 2101 สมัยราชวงศ์มังราย วัดเชียงยืนเป็นพระอารามหลวงนามมงคลมีฐานะเป็นเดชเมืองเชียงใหม่ เพราะสร้างขึ้นในลักษณะการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับชัยภูมิและความเชื่อทางโหราศาสตร์ ซึ่งมีวัดเชียงยืนเป็นวัดมงคลนาม ประดิษฐานมงคลศักดิ์สิทธิ์คือพระสัพพัญญูเจ้าเดชเมือง หมายถึง บารมีอำนาจยิ่งใหญ่ ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ล้านนาในอดีตจะมาทำการสักการบูชาก่อนเข้าเมืองหรือ เมื่อมีพิธีราชาภิเษก หรือทั้งก่อน – หลังออกศึกสงคราม เพื่อให้เกิดสิริมงคล

วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยใดนั้นไม่มีปรากฏหลักฐานชัด แต่ที่มีการสันนิษฐานกันจากหลักฐานที่ปรากฏไว้ว่า ในสมัยพญามังรายมหาราช พระองค์ได้สร้างวัดคู่เมืองเชียงใหม่เป็นแห่งแรก คือ วัดเชียงมั่น หมายถึง “มั่นคง” ต่อมาสร้างวัดเชียงยืน หมายถึง “ยั่งยืน” ด้วยจะมีพระราชประสงค์ที่ว่าวัดเชียงมั่นตั้งอยู่เขตพระนครด้านใน เมื่อประตูเมืองปิดอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ที่อยู่นอกกำแพงเมืองจะได้ อาศัยวัดเชียงยืน เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

พระบรมธาตุเชียงยืน

พระบรมธาตุเชียงยืน[แก้]

วัดเชียงยืนเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์ ลักษณะรูปทรงแปดเหลี่ยม ในพระธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ จากหลักฐานจารึกในประวัติศาสตร์โบราณคดีตำนานชินกาลบาลี ปกรณ์ กล่าวถึงรัชกาลพระเจ้าปนัดดาธิราชหรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนา รัชกาล ที่ 13 แห่งราชวงศ์มังรายว่า พระองค์พร้อมด้วยพระเทวีราชมารดาทรงทำการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุพระ สถูปเจดีย์ใหญ่ ณ วัดฑีฆชีววัสสาราม (ฑีฆายวิสาราม) ต่อมาทางวัดได้ทำการบูรณะอนุรักษ์องค์พระธาตุเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพระราช กุศลมหามงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ[1]

พระสัพพัญญูเจ้า

อุโบสถ[แก้]

วัดนี้ยังมีอุโบสถ เสาไม้ทรง 8 เหลี่ยม เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าที่งดงามและสมควรที่จะอนุรํกษ์ไว้เป็นอย่างยิ่ง นับเป็นอาราม ที่อยู่คู่เมืองเชียงใหม่มายาวนาน ที่สาธุชนเคารพศรัทธาองค์พระสัพพัญญูเจ้าวัดเชียงยืนฝังรากลึกกันอย่างแน่นแฟ้น[2]

สถานที่ตั้ง[แก้]

วัดเชียงยืนตั้งอยู่ เลขที่ 160 ถ. มณีนพรัตน์ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. "ลานนาทอล์คของดีดอตคอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  2. วัดเชียงยืน เดชพระนคร