วรรณรัตน์ คชรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าพลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์
ถัดไปพลตำรวจโท อนันต์ ภิรมย์แก้ว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2482 (84 ปี)
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์

พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2544 เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[1]

ประวัติ[แก้]

วรรณรัตน์ คชรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จบการศึกษาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่นที่ 16 ปี 2506

วรรณรัตน์ เป็นลูกพี่ลูกน้อง กับ ชุมพร เทพพิทักษ์ อดีตนักแสดงชาวไทย

การทำงาน[แก้]

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ เริ่มทำงานเมื่อปี 2506 ที่สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม จากนั้นถูกดึงตัวไปช่วยปราบโจรผู้ร้ายที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2509 ต่อมาได้เข้าไปเป็นผู้บังคับหมวดในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จนก้าวหน้าในหน้าที่ราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และเกษียณอายุราชการในปี 2543

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก อาทิ การจับกุมตัวพลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ ในคดีฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ ที่มีชนวนมาจากคดีเพชรซาอุ[2] คดีฆ่ากรรมมารดา ส.ส.คมคาย พลบุตร และคดีฆาตกรรมนายแสงชัย สุนทรวัฒน์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พล.ต.ท.วรรณรัตน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 15 และได้รับเลือกตั้ง[3]เป็น ส.ส.สมัยแรก และเป็นเพียงสมัยเดียวของชีวิตทางการเมืองของพลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปฏิรูปตำรวจจริงจัง ‘ต้องเข้าใจ’ เสียงย้ำเตือน พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ‘นักสืบสวนชั้นครูของวงการสีกากี’/รายงานพิเศษ
  2. ความจริง! จาก”วรรณรัตน์ คชรักษ์”อดีตมือปราบคดีเพชรซาอุฯ ต้องปฏิรูปอะไรตำรวจ?
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๘๕, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙