รังงากุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รังงากุ (ญี่ปุ่น: 蘭学) เป็นองค์ความรู้ที่พัฒนาโดยญี่ปุ่นผ่านการติดต่อกับเกาะเทียมเดจิมะของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นตามทันเทคโนโลยีและการแพทย์แผนตะวันตกในช่วงที่ปิดประเทศไม่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1641 ถึง ค.ศ. 1853 เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในการโดดเดี่ยวประเทศหรือซาโกกุ

ผู้คนบางส่วนในญี่ปุ่นได้เรียนรู้หลายแง่มุมของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในยุโรปในเวลานั้นผ่านรังงากุ ช่วยสร้างจุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์เชิงทฤษฎีและเทคโนโลยีให้กับประเทศ ซึ่งช่วยอธิบายความสำเร็จของญี่ปุ่นในการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างรวดเร็วหลังจากถูกบังคับโดยชาวอเมริกันให้เปิดประเทศสู่การค้ากับต่างประเทศในปี ค.ศ. 1854

ประวัติ[แก้]

พ่อค้าชาวดัตช์ที่เดจิมะในนางาซากิเป็นชาวยุโรปเพียงกลุ่มเดียวที่ค้าขายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1639 ถึง ค.ศ. 1853 (ชาวดัตช์มีฐานการค้าในฮิราโดะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1609 ถึง ค.ศ. 1641 ก่อนที่พวกเขาจะย้ายไปที่เดจิมะ) และการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้รับการเฝ้าดูอย่างระมัดระวังและควบคุมอย่างเข้มงวด ถูกจำกัดให้เดินทางปีละ 1 ครั้งเพื่อแสดงความเคารพต่อโชกุนในเอโดะ พวกเขากลายเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้บางอย่างเกี่ยวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในยุโรปมาสู่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1720 คำสั่งห้ามหนังสือของชาวดัตช์ถูกยกเลิก และชาวญี่ปุ่นได้ซื้อและแปลหนังสือวิทยาศาสตร์ของชาวดัตช์ นวัตกรรมตะวันตกเช่น นาฬิกา เครื่องมือแพทย์ ลูกโลก แผนที่ และเมล็ดพันธุ์พืชได้รับการสาธิต รวมทั้งปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า ตลอดจนการบินของบอลลูนอากาศร้อนในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

อ้างอิง[แก้]

  • Seeing and Enjoying Technology of Edo (見て楽しむ江戸のテクノロジー), 2006, ISBN 4-410-13886-3 (Japanese)
  • The Thought-Space of Edo (江戸の思想空間) Timon Screech, 1998, ISBN 4-7917-5690-8 (Japanese)
  • Glimpses of medicine in early Japanese-German intercourse. In: International Medical Society of Japan (ed.): The Dawn of Modern Japanese Medicine and Pharmaceuticals -The 150th Anniversary Edition of Japan-German Exchange. Tokyo: International Medical Society of Japan (IMSJ), 2011, pp. 72–94. (ISBN 978-4-9903313-1-3)