รักบี้ยูเนียนทีมชาติไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทย
สมาคมสมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Team kit
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 82-8 ไทย ไทย
(8 มีนาคม ค.ศ. 1969)
ชนะสูงสุด
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 6-90 ไทย ไทย
(28 ตุลาคม ค.ศ. 1998)
แพ้สูงสุด
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 141-10 ไทย ไทย
(4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996)

รักบี้ยูเนียนทีมชาติไทยเป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันรักบี้ยูเนียนระหว่างประเทศ และอยู่ภายใต้การบริหารของสมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยประเทศไทยยังไม่เคยเข้ารอบรักบี้ชิงแชมป์โลกมาก่อน แต่ได้มีสิทธิ์เล่นในรอบคัดเลือกโซนเอเชียตั้งแต่ รักบี้ชิงแชมป์โลก 1999 เป็นต้นมา

ประวัติ[แก้]

สมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช 2481 เสด็จในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดตั้งองค์กรขึ้นบริหารงานรักบี้ฟุตบอล คือตั้งเป็น “ยูเนียน” โดยใช้ชื่อว่า “สยามรักบี้ฟุตบอลยูเนียน” (Siam Rugby Football Union) มีทีทำการอยู่ที่ ราชกรีฑาสโมสร ถนนสนาม ปทุมวัน พระนคร โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นองค์นายก และหม่อมเจ้าจันทร์รัชนี เป็นเลขานุการ และได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเดือนตุลาคม ปีพุทธศักราช 2482 เพื่อส่งเสริมกีฬาชนิดนี้ และได้มีการเรียกประชุมผู้สนใจเป็นครั้งแรกที่ราชกรี่ฑาสโมสร และได้มีการจัดการแข่งขันชิงถ้วยระหว่างสมาชิกเป็นครั้งแรก เป็นการแข่งขันชิง ”ถ้วยบริติชเคาน์ซิล” (British Council Cup) ท่านเอกอัคราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัดหาถ้วยมามอบให้และได้ใช้เป็นถ้วยแข่งขันมาจนทุกวันนี้ ทำให้กิจการสมาคมฯ รุดหน้า มีทีมสมัครเข้าเป็นสมาชิกและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันหลายสถาบัน รวมทั้งการแข่งขันประเภทนักเรียน

ต่อมาปีพุทธศักราช 2484 ได้เกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา สมาคมรักบี้ฟุตบอลฯ ต้องหยุดลงแต่ไม่ถึงกับล้มเลิกโดยเด็ดขาด หลังจากนั้นปีพุทธศักราช 2486 ซึ่งอยู่ในภาวะสงคราม สมาคมฯ ไม่อาจจัดการแข่งขันประเภทสโมสรได้ แต่สมาคมฯ ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง พระยาจินดารักษ์ อธิบดีกรมพลศึกษา ได้เข้าจัดแข่งขันรักบี้แทนสมาคมฯ โดยจัดแข่งขันชิงโล่ชนะเลิศระหว่างมหาวิทยาลัย ด้วยความรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ จึงมอบให้นายโฉลก โกมารกุล ณ นคร เป็นผู้จัดทำโล่รางวัลชนะเลิศประเภทมหาวิทยาลัยขึ้นมาใหม่อีกประเภทหนึ่งเรื่อยมา

ปีพุทธศักราช 2493 ได้ส่งเสริมกีฬารักบี้ฟุตบอลเข้าไปในโรงเรียน และได้จัดการแข่งขันประเภทโรงเรียน โดยพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หลวงพิบูลยสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลวงประดิษฐมนูธรรม ได้มอบโล่รางวัลสำหรับการแข่งขันประเภทโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนเตรียมนายเรือเป็นทีมชนะเลิศ

ปีพุทธศักราช 2494 สมาคมฯ ได้ส่งที่มรักบี้ฟุตบอลของสมาคมฯ T.R.U. ไปเล่นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การไปครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการเล่นรักบี้ฟุตบอลที่ดีเพิ่มมากขึ้น และ กิจการของสมาคมฯ ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่นับเป็นเกียรติของสมาคมฯ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับสมาคมฯ เข้าอยู่ “ในพระบรมราชูปถัมภ์” และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “สมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์” และเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทุกนัดที่มีการแข่งขันที่สนามศุภชลาศัย จะมีประชาชนสนใจเข้าชมจนเต็มอัฒจันทร์ล้นหลามลงมายื่นในลู่วิ่งสมาคมฯ ก่อตั้งมาแล้ว 68 ปี และดำเนินกิจการงานสมาคมฯ ให้เจริญก้าวหน้ามาจวบจนทุกวันนี้

สถิติรักบี้ชิงแชมป์โลก[แก้]

  • 1987 - No qualifying tournament held
  • 1991 - 1995 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1999 - 2015 - ไม่ผ่านเข้ารอบ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]