มิถุนา ภู่ทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุณหญิง[1][2]
มิถุนา ภู่ทอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน 2560[3][4]
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน
ก่อนหน้าบุญเลิศ พราหมณ์เกษร
ข้อมูลส่วนบุคคล
พรรคการเมืองประชาชนกัมพูชา
บุพการี
  • ยุทธ ภู่ทอง[5] (บิดา)
  • สมศรี ภู่ทอง[5] (มารดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี[2]
วิทยาลัยการทัพบกสหรัฐ[6][7]

มิถุนา ภู่ทอง (เขมร: មិថុនា ភូថង, มิถุนา ภูทง) เป็นนักการเมืองหญิงชาวกัมพูชา ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกงตั้งแต่ พ.ศ. 2560 ถือเป็นผู้ราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุดและเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศกัมพูชา[3][4] เธอเป็นบุตรสาวของยุทธ ภู่ทอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดไพรแวงและจังหวัดเกาะกง[6][7] และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของใส่ ภู่ทอง นักการเมือง นักการทหาร และนักปฏิวัติของกัมพูชา[3][4]

ประวัติ[แก้]

มิถุนา ภู่ทอง เกิดในครอบครัวเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง[6][7] เป็นบุตรสาวจากบุตรทั้งหมดสี่คนของยุทธ ภู่ทอง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดไพรแวง[8] และจังหวัดเกาะกง[6] กับสมศรี ภู่ทอง[5] และมีศักดิ์เป็นหลานสาวของใส่ ภู่ทอง นักการเมือง นักการทหาร และนักปฏิวัติของกัมพูชา[3][4] มิถุนาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย[2] และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการทัพบกสหรัฐ สหรัฐ[6][7] ด้านชีวิตส่วนตัว เธอสมรสและมีบุตรแล้ว[4]

การทำงาน[แก้]

หลังสำเร็จการศึกษา มิถุนาได้กลับมาช่วยงานของบิดาที่เกาะกง แล้วได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาจังหวัดเกาะกง หลังจากนั้นเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกงช่วงกลาง พ.ศ. 2559[3] คู่กับไพฑูรย์ พราหมณ์เกษร ซึ่งเป็นชาวไทยเกาะกงเช่นกัน[6][7] กระทั่งการเลือกตั้งท้องถิ่นใน พ.ศ. 2560 มิถุนาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะกง ถือเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นเพศหญิงคนแรก และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งในขณะนั้นเธอมีอายุได้ 38 ปี[3][4] ชำ บุนเทต นักวิเคราะห์การเมืองชาวจังหวัดเกาะกงแสดงความเห็นว่า "[การขึ้นดำรงตำแหน่งของมิถุนา] สร้างความหวังมากมายให้กับชาวเกาะกง"[3]

ในช่วงที่เธอดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง มีนโยบายพัฒนาจังหวัดเกาะกง ด้วยการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการของประชาชน ได้แก่ การก่อสร้างศาลากลางจังหวัดแห่งใหม่ สร้างสวนสาธารณะใหม่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน และวัด เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนมาลงทุนในจังหวัดเกาะกงมากขึ้น สอดคล้องกับสมญานามของเกาะกง คือ ดวงดาวแห่งทิศหรดี[4] อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านการค้าและการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน[2][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปิยวิทย์ ทรัพย์ขจร และสุนทรี ทับมาโนช (3 ธันวาคม 2562). "จังหวัดตราด จังหวัดเกาะกง หารือร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกัน". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-27. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ (3 สิงหาคม 2565). "ปั่นร้อยใจ ไทย-เกาะกง มิตรภาพ ผ่าน 'โลว์คาร์บอน'". อิศรา. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Aun Pheap (19 June 2017). "Provincial Governor Changes Draw Praise, Disappointment". The Cambodia Daily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Nov Sivutha (3 March 2022). "Koh Kong governor Mithona Phuthong on her building boom and famous grandfather". The Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 July 2023.
  5. 5.0 5.1 5.2 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 197
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "เปิดวาร์ป ผู้ว่าหญิงเขมร สายคลองใหญ่". คมชัดลึก. 13 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "ชัวร์หรือมั่ว จีนยึดเกาะกง ถาม 'มิถุนา ภูทอง'". คมชัดลึก. 13 กันยายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 193
  9. ปิยวิทย์ ทรัพย์ขจร และวรรณวิไล สนิทผล (8 พฤศจิกายน 2562). "จ.ตราด ประสานความร่วมมือ จ.เกาะกง พัฒนาการค้าชายแดน การท่องเที่ยว ร่วมสร้างความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ให้ก้าวหน้า ยั่งยืน". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-27. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)