ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาวิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ เพราะโลกมีความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าจากทฤษฎีใหม่ๆ จากการค้นพบใหม่ๆ ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้เกิดคำที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาวิทยาศาสตร์ หลักการและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นไปโดยเข้าใจตรงกัน จึงต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับภาษาวิทยาศาสตร์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความหมาย การบัญญัติศัพท์ การทับศัพท์

คำจำกัดความ[แก้]

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า วิทยาศาสตร์คือศาสตร์ของเหตุและผล ความถูกต้องที่เชื่อถือได้จากการพิสูจน์และการวัดที่มาตรฐาน แต่บ่อยครั้งที่เราพบว่า คำจำกัดความมีหลากหลายชวนสงสัยและเข้าใจผิด ประการสำคัญ คำจำกัดความมิใช่คำแปล ความรู้วิทยาศาสตร์ควรมีคำอธิบายชัดเจน หากใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปย่อมสร้างประโยชน์ได้มากมาย [1]"

ภาษาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในภาษาไทย[แก้]

ภาษาวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในภาษาไทยแสดงการผสมผสานระหว่างภาษาไทยและภาษาบาลีสันสกฤต อาจมีผลให้สื่อสารเข้าใจยาก ราชบัณฑิตยสถาน ได้ดำเนินภารกิจในการบัญญัติศัพท์และกำหนดมาตรฐานการแปลงอักษรโรมันเป็นภาษาไทย แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเท่าที่ควร เพราะประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบวิธีการคิดและตัดสินใจของราชบัณฑิต ซึ่งหากประชาชนทราบ เชื่อว่าผลงานของราชบัณฑิตยสถานจะได้รับการยอมรับมากขึ้น


อ้างอิง[แก้]

  1. Nature 23 October 2008 "What's in a word? Definitions that drive you mad.|http://www.nature.com/nature/journal/v455/n7216/edsumm/e081023-02.html