ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกทีมชาติ 23 ทีมเพื่อเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2019ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยรวมกับทีมชาติฝรั่งเศสที่เข้ารอบโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพเป็น 24 ทีม[1] ซึ่งจะถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงครั้งที่ 8 นับตั้งแต่เริ่มการแข่งขันครั้งแรกในปี 1991 ซึ่งจะเป็นครั้งที่สามที่การแข่งขันจัดขึ้นในยุโรป ต่อจากปี 1995 ซึ่งจัดที่ประเทศสวีเดนและปี 2011 ซึ่งจัดที่ประเทศเยอรมนี โดยจำนวนทีมในแต่ละทวีปที่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายยังคงใช้ตามรอบคัดเลือกครั้งก่อนหน้านี้ เพียงแต่สิทธิ์ในฐานะเจ้าภาพโอนจากคอนคาแคฟในครั้งที่แล้ว (แคนาดา) ไปเป็นยูฟ่า (ฝรั่งเศส) โดยจำนวนทีมในแต่ละทวีปที่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายเป็นดังนี้

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย[แก้]

ทีม เข้ารอบในฐานะ วันที่ผ่านเข้ารอบ เข้ารอบสุดท้าย
เป็นครั้งที่
เข้ารอบสุดท้าย
ติดต่อกันเป็นครั้งที่
ผลงานดีที่สุดที่ผ่านมา
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส เจ้าภาพ 19 มีนาคม 2015 4 3 อันดับที่ 4 (2011)
ธงชาติจีน จีน เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 9 เมษายน 2018 7 2 รองชนะเลิศ (1999)
ธงชาติไทย ไทย เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 12 เมษายน 2018 2 2 รอบแบ่งกลุ่ม (2015)
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 13 เมษายน 2018 7 7 รอบก่อนรองชนะเลิศ (2007 2011 และ 2015)
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 13 เมษายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (2011)
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ อันดับที่ 5 ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 16 เมษายน 2018 3 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
ธงชาติบราซิล บราซิล ชนะเลิศโกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 19 เมษายน 2018 8 8 รองชนะเลิศ (2007)
ธงชาติชิลี ชิลี รองชนะเลิศโกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 22 เมษายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
ธงชาติสเปน สเปน ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 7 8 มิถุนายน 2018 2 2 รอบแบ่งกลุ่ม (2015)
ธงชาติอิตาลี อิตาลี ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 6 8 มิถุนายน 2018 3 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ (1991)
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 1 31 สิงหาคม 2018 5 4 อันดับที่ 3 (2015)
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 2 4 กันยายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
ธงชาตินอร์เวย์ นอร์เวย์ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 3 4 กันยายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (1995)
ธงชาติสวีเดน สวีเดน ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 4 4 กันยายน 2018 8 8 รองชนะเลิศ (2003)
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 5 4 กันยายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (2003 และ 2007)
ธงชาติแคนาดา แคนาดา เข้ารอบชิงชนะเลิศคอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 14 ตุลาคม 2018 7 7 อันดับที่ 4 (2003)
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ เข้ารอบชิงชนะเลิศคอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 14 ตุลาคม 2018 8 8 ชนะเลิศ (1991 1999 และ 2015)
ธงชาติจาเมกา จาเมกา อันดับที่ 3 คอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 17 ตุลาคม 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ชนะรอบเพลย์ออฟโซนยุโรป 13 พฤศจิกายน 2018 2 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา ชนะรอบเพลย์ออฟคอนคาแคฟ–คอนเมบอล 13 พฤศจิกายน 2018 3 1 รอบแบ่งกลุ่ม (2003 และ 2007)
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย เข้ารอบชิงชนะเลิศแอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 27 พฤศจิกายน 2018 8 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ (1999)
ธงชาติแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ เข้ารอบชิงชนะเลิศแอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 27 พฤศจิกายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน อันดับที่ 3 แอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 30 พฤศจิกายน 2018 2 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ ชนะเลิศโอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2018 1 ธันวาคม 2018 5 4 รอบแบ่งกลุ่ม (1991 2007 2011 และ 2015)

กระบวนการคัดเลือก[แก้]

การแข่งขันรอบคัดเลือกเริ่มต้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2017 และคาดว่าจะสิ้นสุดในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โดยมีทีมชาติที่เข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกทั้งหมด 143 ทีมไม่รวมทีมชาติฝรั่งเศสที่เข้ารอบอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ

ทวีป สมาพันธ์ การแข่งขัน จำนวนทีมที่เข้าร่วม จำนวนทีมที่มีสิทธิ์เข้ารอบสุดท้าย วันเริ่มการแข่งขัน วันสิ้นสุดการแข่งขัน
เอเชีย เอเอฟซี ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 24 5 3 เมษายน 2017 20 เมษายน 2018
แอฟริกา ซีเอเอฟ แอฟริกาวีเมนคัพออฟเนชันส์ 2018 24[1] 3 4 เมษายน 2018 1 ธันวาคม 2018
อเมริกาเหนือ คอนคาแคฟ คอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 28[2] 3 หรือ 4 5 พฤษภาคม 2018 17 ตุลาคม 2018[3]
อเมริกาใต้ คอนเมบอล โกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 10 2 หรือ 3 4 เมษายน 2018 22 เมษายน 2018[3]
โอเชียเนีย โอเอฟซี โอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2018 11 1 24 สิงหาคม 2018 1 ธันวาคม 2018
ยุโรป ยูฟ่า ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก โซนยุโรป 46+เจ้าภาพ 8+เจ้าภาพ 6 เมษายน 2018 13 พฤศจิกายน 2018
รวม - ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก 143+เจ้าภาพ 23+เจ้าภาพ 3 เมษายน 2017 1 ธันวาคม 2018
[1]ไม่รวมอิเควทอเรียลกินีที่ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงรอบสุดท้าย แต่ยังคงเข้าร่วมแข่งขันแอฟริกาวีเมนคัพออฟเนชันส์ได้
[2]ไม่รวมกัวเดอลุปและมาร์ตีนิกที่เป็นสมาชิกของคอนคาแคฟแต่ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า และไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลก
[3]ทีมอันดับที่ 4 ของโซนอเมริกาเหนือและทีมอันดับที่ 3 ของโซนอเมริกาใต้ต้องแข่งขันกันในรอบเพลย์ออฟในเดือนพฤศจิกายน 2018

รอบคัดเลือกในแต่ละทวีป[แก้]

เอเอฟซี (เอเชีย)[แก้]

เช่นเดียวกับการแข่งขันครั้งก่อนหน้านี้ การแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพจะถือเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกสำหรับฟุตบอลโลกหญิงในโซนเอเชียด้วย โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็นสองรอบ ได้แก่

  • รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกของการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 ถึง 12 เมษายน ค.ศ. 2017 โดยมีทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขัน 24 ทีม อย่างไรก็ตาม ทีมชาติจอร์แดนซึ่งเป็นเจ้าภาพและอีกสามทีมที่ได้สามอันดับแรกจากการแข่งขันครั้งก่อนหน้านี้ได้แก่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีนได้สิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพครั้งนี้โดยไม่ต้องแข่งขันรอบคัดเลือก แต่จอร์แดนตัดสินใจส่งทีมเข้าแข่งขันด้วย โดย 21 ทีมที่เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกถูกแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม หนึ่งกลุ่มมีหกทีมในขณะที่อีกสามกลุ่มที่เหลือมีห้าทีม โดยทีมหนึ่งในแต่ละกลุ่มรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ทีมชนะเลิศจากแต่ละกลุ่มจะได้สิทธิ์เข้ารอบสุดท้าย และเนื่องจากจอร์แดนซึ่งผ่านเข้ารอบไปแล้วเป็นผู้ชนะของกลุ่ม ทำให้ทีมรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้ารอบด้วย
  • รอบสุดท้าย ทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้งแปดทีมจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละสี่ทีม แข่งขันกันแบบพบกันหมด ทีมที่ได้สองอันดับแรกจะได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบแพ้คัดออก และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ในขณะที่อันดับที่สามจากแต่ละสายจะต้องแข่งขันกันในรอบเพลย์ออฟเพื่อหาทีมที่ห้าที่ได้ผ่านเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายต่อไป

รอบคัดเลือก[แก้]

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพได้แก่ ฟิลิปปินส์ (ในฐานะรองชนะเลิศ เนื่องจากทีมชนะเลิศคือจอร์แดนซึ่งผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ) เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

รอบสุดท้าย[แก้]

กลุ่มเอ

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติจีน จีน 3 3 0 0 15 1 +14 9 รอบแพ้คัดออก และ ฟุตบอลโลกหญิง 2019
2 ธงชาติไทย ไทย 3 2 0 1 9 6 +3 6
3 ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 3 1 0 2 3 7 −4 3 นัดชิงอันดับที่ 5
4 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน (H) 3 0 0 3 3 16 −13 0
แหล่งที่มา : เอเอฟซี
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขรอบแบ่งกลุ่ม
(H) เจ้าภาพ.

กลุ่มบี

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 3 1 2 0 9 1 +8 5[a] รอบแพ้คัดออก และ ฟุตบอลโลกหญิง 2019
2 ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 3 1 2 0 5 1 +4 5[a]
3 ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 3 1 2 0 4 0 +4 5[a] นัดชิงอันดับที่ 5
4 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 3 0 0 3 0 16 −16 0
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561. แหล่งที่มา : เอเอฟซี
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขรอบแบ่งกลุ่ม
หมายเหตุ :
  1. 1.0 1.1 1.2 ผลเฮด-ทู-เฮด: ออสเตรเลีย 0–0 เกาหลีใต้, เกาหลีใต้ 0–0 ญี่ปุ่น, ญี่ปุ่น 1–1 ออสเตรเลีย อันดับเฮด-ทู-เฮด:
    • ออสเตรเลีย: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 1 ประตู
    • ญี่ปุ่น: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 1 ประตู
    • เกาหลีใต้: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 0 ประตู
    เกาหลีใต้ได้อันดับที่สามตามประตูที่ยิงได้ในเฮด-ทู-เฮด ออสเตรเลียและญี่ปุ่นมีอันดับเสมอกันในเฮด-ทู-เฮดจึงต้องจัดอันดับตามผลต่างประตูได้-เสีย

รอบแพ้คัดออก

 
รอบรองชนะเลิศรอบชิงชนะเลิศ
 
      
 
17 เมษายน – อัมมาน
 
 
ธงชาติจีน จีน1
 
20 เมษายน – อัมมาน
 
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น3
 
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น1
 
17 เมษายน – อัมมาน
 
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย0
 
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (ลูกโทษ)2 (3)
 
 
ธงชาติไทย ไทย2 (1)
 
รอบชิงอันดับที่สาม
 
 
20 เมษายน – อัมมาน
 
 
ธงชาติจีน จีน3
 
 
ธงชาติไทย ไทย1
 
รอบชิงอันดับที่ห้า
 
  
 
16 เมษายน – อัมมาน
 
 
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์0
 
 
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้5
 

จีน ไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกหญิงรอบสุดท้าย

ซีเอเอฟ (แอฟริกา)[แก้]

คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ)[แก้]

คอนเมบอล (อเมริกาใต้)[แก้]

โอเอฟซี (โอเชียเนีย)[แก้]

ยูฟ่า (ยุโรป)[แก้]

การแข่งขันเพลย์ออฟระหว่างคอนคาแคฟและคอนเมบอล[แก้]

ผู้ทำประตูสูงสุด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "France to host the FIFA Women's World Cup in 2019". FIFA.com. 19 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-04.