ฟตีรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิล-ฟตีรา ศิลปะการทำอาหาร
และวัฒนธรรมขนมปังแบนแป้งเปรี้ยว
ในมอลตา *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ฟตีรา
ประเทศ มอลตา
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01580
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2563 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ฟตีรา (มอลตา: ftira) คือขนมปังชนิดหนึ่งจากตำรับอาหารมอลตา มีลักษณะเป็นขนมปังรูปวงแหวนที่ผ่านกระบวนการทำให้ขึ้นฟู นิยมเสิร์ฟโดยหั่นให้เล็กลงแล้วยัดไส้ด้วยส่วนผสมต่าง ๆ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า มันฝรั่ง มะเขือเทศ หัวหอม เคเปอร์ มะกอกออลิฟ เป็นต้น[1] รูปแบบท้องถิ่นอย่างหนึ่งของฟตีราได้แก่ ฟตีราโกโซ (ftira Ghawdxija) วิธีทำคือการคลึงแป้งออกเป็นแผ่นกลม วางส่วนผสมตรงกลาง ยกขอบแป้งขึ้นปิดหน้าบางส่วน จากนั้นนำไปอบและเสิร์ฟแบบเปิดหน้า ฟตีรารูปแบบนี้จึงมีลักษณะคล้ายพิซซามากกว่าแซนด์วิช[2]

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[แก้]

หลังจากที่รัฐสภามอลตามีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก[3] ใน พ.ศ. 2561 กรมวัฒนธรรมมอลตาก็ยื่นเรื่องเสนอให้มีการบรรจุฟตีราของมอลตาเป็นส่วนหนึ่งของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การดังกล่าว[4][5][6][7] ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นคนหนึ่งกล่าวว่า "การทำฟตีราของมอลตา" (ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายการมรดกแห่งชาติของกรมฯ) มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16[8] หลังจากการเรียกร้องอย่างแข็งขันจากสาธารณชน รัฐบาลมอลตาจึงประกาศว่าจะเสนอฟตีราของมอลตาให้ยูเนสโกพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[9][10] จากนั้นใน พ.ศ. 2563 ฟตีราของมอลตาก็ได้รับการบรรจุไว้ในรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การ[11][12][13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. "A true taste of Malta". The Telegraph. 10 March 2017.
  2. Rix, Juliet (2015). Malta and Gozo. England: Bradt Travel Guides. p. 68. ISBN 9781784770259.
  3. "Motion to authorise the ratification of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage". Parliament of Malta. March 7, 2017. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
  4. "Maltese Ftira – UNESCO Intangible Cultural Heritage List hopeful". Newsbook. August 13, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
  5. "PD praises initiative to list ghana and ftira for UNESCO recognition; questions exclusion of festa". Malta Independent. August 19, 2018. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
  6. "Love The Maltese Ftira? You Can Now Help It Join The Hall Of Fame Of Global Human Heritage". www.change.org. October 2018. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
  7. "Is the ftira a marker of identity?". Times of Malta. January 11, 2019. สืบค้นเมื่อ January 17, 2019.
  8. "What makes the Maltese ftira different from other bread?". TVM. January 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 16, 2021.
  9. "Press Release by The Ministry for Justice, Culture and Local Government: Il-'ftira' to be the first element submitted to be part of the UNESCO intangible cultural heritage list". TVM. March 26, 2019. สืบค้นเมื่อ March 28, 2019.
  10. "Maltese 'ftira' to be submitted to UNESCO for consideration as intangible cultural heritage". TVM. March 26, 2019. สืบค้นเมื่อ March 28, 2019.
  11. "Il-Ftira, culinary art and culture of flattened sourdough bread in Malta". UNESCO. สืบค้นเมื่อ February 16, 2021.
  12. "Maltese ftira added to UNESCO's Intangible Cultural Heritage List". Times of Malta. December 16, 2020. สืบค้นเมื่อ December 16, 2020.
  13. "A Taste Of History! Beloved Maltese Ftira Officially Makes It To UNESCO's Intangible Cultural Heritage List". Lovin Malta. December 16, 2020. สืบค้นเมื่อ December 16, 2020.
  14. "International recognition for our traditional ftira". Times of Malta. February 7, 2021. สืบค้นเมื่อ February 16, 2021.