พูดคุย:ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ความโดดเด่น[แก้]

  • จาก วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง หัวข้อเงื่อนไข แหล่งอ้างอิงที่ใส่ในบทความ เป็นเพียงลิสต์รายชื่อที่มีชื่อบุคคลนี้อยู่ แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ไม่มีแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้ข้อมูลของบุคคลดังกล่าว จึงใส่ป้าย {{ใคร}} --Sry85 16:16, 12 เมษายน 2553 (ICT)

นำเนื้อหาออก[แก้]

เนื่องจาก เนื้อหาในลักษณะอัตชีวประวัติ คือมีแหล่งข้อมูลจำนวนมากที่เขียนในเชิง ชื่นชม โฆษณา และขาดแหล่งอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ 3 ตัวอย่างเช่นระบุ "ผลักดันตลาดทุนไทยให้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับในเวที ก.ล.ต. นานาชาติ (IOSCO)" และในทุกหัวข้อที่อ้างว่าเป็นผู้มีส่วนร่วม/ผลักดัน/พัฒนา/สร้าง/.../ แต่ไม่มีอ้างอิง หรือแหล่งข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่นที่บอกเช่นนี้ จึงน่าเป็นข้อมูลที่เขียนขึ้นเองเพื่อชื่นชม โฆษณา มากกว่า --Sry85 11:34, 7 พฤษภาคม 2553 (ICT)

ด้านการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับต่างประเทศ

1. ผลักดันตลาดทุนไทยให้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับในเวที ก.ล.ต. นานาชาติ (IOSCO) จนได้รับเลือกเป็นประธาน Asia Pacific Regional Committee สองสมัยติดกัน (ปี พ.ศ. 2548 ถึง 2549) และได้ร่วมเป็น committee member ใน IOSCO Executive Committee มีบทบาทเป็นกระบอกเสียงให้ประเทศกำลังพัฒนาในการสื่อสารความคิดเห็นจากมุมมองของประเทศในกลุ่ม Emerging Markets

2. ผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างตลาดทุนใน ASEAN เป็นผู้นำในการจัดตั้ง ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ผลักดันให้เกิด Implementation Plan ซึ่งเป็นแผนเพื่อการรวมตลาดทุน ASEAN (เป้าหมายสำเร็จในปี พ.ศ. 2558) เนื่องจากได้ตระหนักถึงแนวโน้มการแข่งขันในตลาดทุนโลกที่นับวันจะยิ่งเข้มข้นขึ้น และตลาดทุนขนาดเล็กจะอยู่โดยลำพังได้ลำบาก เพราะขนาดจะเล็กลงไปเรื่อยๆ

3. เปิดให้ผู้ลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น โดยประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยขยายวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศตามลำดับ ณ ปัจจุบันได้รับอนุมัติวงเงิน 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมไปกับผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ ธุรกิจจัดการกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงผู้ลงทุนทั่วไป

4. เปิดให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาขายในไทยได้มากขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป และในรูปแบบต่างๆ เช่น foreign ETF ซึ่งเริ่มจากผ่านตัวกลางในประเทศก่อน และ foreign listing ซึ่งเริ่มจาก secondary listing ก่อน หลังจากนี้จะขยายไปถึง primary listing


ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย

1. ปรับปรุงโครงสร้างของ ก.ล.ต. โดยให้มีคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเพิ่มขึ้น อีกหนึ่งคณะ เพื่อให้ทำหน้าที่ออกประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแล และโดยที่คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในธุรกิจหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียนถึง 3 คน (จากทั้งหมด 7 คน) ทำให้หลักเกณฑ์ที่ออกมาบังคับใช้มีความเป็นมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับการปฏิบัติอย่างแท้จริง

2. ประกาศนโยบายเปิดเสรีใบอนุญาตหลักทรัพย์และเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (เปิดเสรีเต็มที่ในปี พ.ศ. 2555) เพื่อให้เกิดการแข่งขันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนและความแข็งแกร่งของบริษัทหลักทรัพย์ต่อตลาดทุนไทยในอนาคต

3. ผลักดันและสนับสนุนการแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เป็นบริษัทมหาชนจำกัด และกระจายหุ้นต่อประชาชน เพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีโครง สร้างการถือหุ้นที่ชัดเจน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเชื่อมโยงกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ขจัดการผูกขาดในธุรกิจตลาดหลักทรัพย์

4. ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจและการแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์ ทำหลักเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นหลายเรื่อง เช่น การอนุญาตให้ทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง การลงทุนโดยพอร์ตของบริษัท การปรับและขยายเวลาทำการ และการเปิดสาขา เป็นต้น และมีแนวคิดที่จะให้มีการอนุมัติการเสนอขายกองทุนรวมแบบอัตโนมัติ

5. สร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับการประกอบธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจและผู้ลงทุน ได้แก่ การเปิดตลาดอนุพันธ์ (TFEX) เมื่อปี 2549 การจัดโครงสร้างตลาดตราสารหนี้ให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบทบาทหลักในด้านระบบซื้อขายและให้สมาคม Thai BMA ทำหน้าที่เป็น SRO และ pricing agency รวมทั้งผลักดันให้ TSD เป็นศูนย์กลางในเรื่องการทำระบบรองรับธุรกรรม securities borrowing and lending

6. พัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ โดยปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้การออกและเสนอขายของภาคเอกชนทำได้ ง่ายขึ้น-เร็วขึ้น-ถูกลง ด้วยระบบ shelf filing และอนุญาตเป็นการทั่วไปสำหรับการเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุน high net worth และลดระยะเวลาและขั้นตอน filing การเสนอขายตราสารหนี้โดยรวม ยอมรับ rating ของ international credit rating agency สำหรับผู้ออกบางประเภท นอกจากนี้ จะอนุญาตให้มีการออกหุ้นกู้สกุลเงินต่างประเทศได้ด้วย

7. ผลักดันให้มีการเพิ่มสินค้าประเภทใหม่ในตลาดทุน ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนและสามารถบริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และตลาดทุนโดยรวมมีความน่าสนใจ เช่น SET 50 ETF, single stock futures, gold futures และที่กำลังจะออกต่อไปคือ infrastructure fund, SUKUK, interest rate futures, venture capital, gold ETF, FX bond

8. เปิดให้ร้านค้าทองคำขอรับใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงทองคำ ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนมีช่องทางการลงทุนมากขึ้น

9. นำหลักการของทรัสต์มาใช้ในธุรกรรมในตลาดทุน โดยเปิดให้มีการขออนุญาตประกอบธุรกิจทรัสตีและให้ใบทรัสต์เป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ หลักการของทรัสต์จะช่วยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสินค้าใหม่ในตลาดทุนเพิ่มเติมอีก

10. สนับสนุนให้สมาคมผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุนแสดงบทบาทของ Self Regulating Organization (SRO) เพื่อทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจและกำกับดูแลสมาชิกของตน ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ภาคธุรกิจ และหลักเกณฑ์ที่ออกมาจะสอดคล้องกับการปฏิบัติยิ่งขึ้น รวมทั้งริเริ่มให้มีการประชุมกับสมาคมต่างๆ ในตลาดทุนเป็นประจำทุกไตรมาสเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟังปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

11. ให้ความสำคัญอย่างมากในการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับ การกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแล เพื่อให้หลักเกณฑ์ที่ออกมาสามารถปฏิบัติได้ผลจริง และไม่เป็นอุปสรรคหรือภาระแก่ภาคธุรกิจมากเกินควร


ด้านการกำกับดูแลและส่งเสริมบรรษัทภิบาลและการคุ้มครองผู้ลงทุน

1. นำตลาดทุนไทย โครงสร้าง และกฎเกณฑ์การกำกับดูแลเข้ารับการประเมินในโครงการ CG Report on the Observance of Standards and Codes ซึ่งเป็นการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านบรรษัทภิบาลของ World Bank (ปี พ.ศ. 2547 - 2548) เพื่อให้ผู้ลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศมั่นใจถึงบรรษัทภิบาลของตลาดทุนไทย โดยภาพรวมผลการประเมินของประเทศไทยสอบผ่านมาตรฐานสากลและอยู่ในระดับน่าพอใจเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย

2. เข้าร่วมโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP) ของ World Bank และ (International Monetary Fund: IMF) (ปี พ.ศ. 2550 ) ซึ่งผลการประเมินในส่วนของกระบวนการทำงานและระบบงานของ ก.ล.ต. สรุปว่ามีประสิทธิภาพ มีความรัดกุมและน่าเชื่อถือ ในระดับมาตรฐานสากล สำหรับส่วนที่ได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุง ได้แก่ อำนาจการบังคับใช้กฎหมาย ความเป็นอิสระของ ก.ล.ต. การเปิดเสรีใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ (ให้เร็วขึ้นกว่าที่ประกาศไว้) การประสานงานกับหน่วยงานทางการอื่นภายในประเทศ และการปกป้องดูแลทรัพย์สินของลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในเวลาต่อมา

3. แก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์ในประเด็นที่มาตรฐานของ ก.ล.ต. ยังหย่อนไปจากมาตรฐานสากล โดยมีเรื่องสำคัญได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและเพิ่มสิทธิของผู้ถือหุ้นในการฟ้องร้องกรรมการบริษัทแทนบริษัทเพื่อเรียกคืนประโยชน์คืนแก่บริษัท การคุ้มครองทรัพย์สินลูกค้าและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้นำเสนอและผลักดันการออกกฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่ม (class action) เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถฟ้องร้องผู้กระทำผิดให้ชดใช้ค่าเสียหายได้

4. ป้องปรามการทุจริตหรือการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดย (1) ยกระดับการกำกับดูแลผ่านการจัดทำบัญชีของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน และการทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี โดยดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีอย่างเข้มงวด และ (2) ดูแลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการซื้อขายทรัพย์สินขนาดใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนให้มีความโปร่งใส ไม่เป็นช่องทางในการยักยอกทรัพย์สินออกจากบริษัท

5. เร่งรัดการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล International Financial report Standards: IFRS เพื่อให้งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในสายตาของต่างชาติและสามารถเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของผู้ลงทุนและการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียนในการเสนอขายหรือจดทะเบียนในต่างประเทศ

6. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวในการยกร่างมาตรฐานบัญชีสากลของ International Accounting Standard Board เพื่อกระจายข้อมูลดังกล่าวแก่ภาคเอกชน และหน่วยงานของทางการเพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้า และจัดทำคำวิจารณ์และข้อเสนอแนะแก่การยกร่างมาตรฐานดังกล่าวเป็นประจำ

7. ยกระดับคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (Annual General Meeting: AGM) ของบริษัทจดทะเบียนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ และ ส่งผลให้คุณภาพของAGM ตั้งแต่ปี 2550 ดีขึ้น ริเริ่มให้มีการเปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายร้อนแรงโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ หรือ turnover list turnover list เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น และบริษัทหลักทรัพย์สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการปล่อยมาร์จิ้นให้แก่ลูกค้า ทำให้สามารถบริหารความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ดีขึ้น

8. ออกมาตรการในการป้องปรามการปั่นหุ้น โดยบริษัทหลักทรัพย์ต้องมีระเบียบในการควบคุมพนักงานในเรื่องนี้อย่างเข้มงวด และบริษัทหลักทรัพย์ต้องร่วมรับผิดชอบหากพนักงานของบริษัทมีส่วนร่วมในการปั่นหุ้น


ด้านการบังคับใช้กฎหมาย

1. เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย โดยการประสานงานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อย่างใกล้ชิด เช่น เข้าร่วมเป็น co-investigator ในกรณีที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ และทำ MoU กับ DSI เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงจัดสัมมนาร่วมกับศาลและอัยการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินคดีตามกฎหมายหลักทรัพย์ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

2. กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุนต้องมีระบบป้องกันมิให้ตนเองถูกใช้เป็นช่องทางในการฟอกเงิน

3. แก้ไขกฎหมายเพิ่มการดำเนินคดีทางแพ่ง (civil sanction) เพิ่มเติมจากการดำเนินคดีทางอาญาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์สัมฤทธิ์ผลมากขึ้น