พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์
لہور میوزیم
عجائب گھر لاہور
อาคารพิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ ผลงานออกแบบของสถาปนิกคงคา ราม
พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ตั้งอยู่ในลาฮอร์
พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์
ที่ตั้งในลาฮอร์
ชื่อเดิม
พิพิธภัณฑ์กลาง
ก่อตั้ง1865, ย้ายมาที่ปัจจุบันในปี 1894
ที่ตั้งเดอะมอลล์ ลาฮอร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
พิกัดภูมิศาสตร์31°34′06″N 74°18′29″E / 31.568226°N 74.308174°E / 31.568226; 74.308174
ประเภทโบราณคดี, ศิลปะ
ขนาดผลงาน58,000
จำนวนผู้เยี่ยมชม227,994 (2018)
ภัณฑารักษ์Naushaba Anjum
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ (ปัญจาบ: لہور میوزیم; อูรดู: عجائب گھر لاہور; "บ้านอัศจรรย์ลาฮอร์") เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในย่านเดอะมอลล์ นครลาฮอร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน เปิดทำการครั้งแรกในปี 1865 ก่อนที่จะย้ายมาตั้งที่ปัจจุบันในปี 1894[1] พิพิธภัณฑ์ลาฮอร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศปากีสถาน และมีผู้เข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ[2][3][4]

ของสะสมของพิพิธภัณฑ์รวมถึงงานพุทธศิลป์โบราณจากวัมนธรรมอินโด-กรีก และ คันธาระ, โบราณวัตถุจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ, จักรวรรดิโมกุล, จักรวรรดิสิกข์ และจักรวรรดิอังกฤษ[5]

ในปี 1948 หลังการแบ่งปัญจาบ โบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์ได้ถูกแบ่งกันระหว่างสองประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งได้แก่อินเดียกับปากีสถาน โดยราว 60% ของของสะสมเดิมคงอยู่กับพิพิธภัณฑ์ลาฮอร์ในปากีสถาน ที่เหลือถูกส่งมอบแก่อินเดียและสุดท้ายได้นำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์แห่งรัฐในจัณฑีครห์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Lahore Museum | museum, Lahore, Pakistan | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  2. "Tourism boom: Foreigners visiting cultural sites, museums in Pakistan up by 121%". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  3. Akhtar, Anwar (7 July 2020). "Pakistan's Best Kept Secret: Lahore Museum". www.salzburgglobal.org. สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  4. Tariq, Minahil (22 January 2017). "A historic neglect | Shehr | thenews.com.pk". The News International (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-14.
  5. "AROUND TOWN: Lahore Museum". Dawn (ภาษาอังกฤษ). 31 October 2008. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  6. Shukla, Vandana (30 September 2018). "One foot in Lahore, the other in Chandigarh: How Partition's sundering affected a museum's artifacts". Firstpost. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]