พระวิเศษวังษา (นิกวน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระวิเศษวังษา (นิกวน) หรือ นิกูวง (มลายู: Nik Kuan หรือ Nik Kuwong) เป็นผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่งในสมัยพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ)

พระวิเศษวังษา (นิกวน)
เกิดวังยะหริ่ง(นิตีมุง)
สุสานป่าหลวง ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
สัญชาติมลายู
ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่ง
บุตร4 คน
บิดามารดา

ประวัติ[แก้]

พระวิเศษวังษา (นิกวน หรือ นิกูวง) เป็นบุตรคนโต[1]ของพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) และมีศักดิ์เป็นหลานของพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) เมื่อพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) ผู้เป็นพ่อถึงแก่พิราลัยได้มีการแต่งตั้งนิเมาะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ขึ้นมาเป็นเจ้าเมืองยะหริ่งแทนและได้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยราชการเมืองยะหริ่งและกรรมการที่ปรึกษาเมืองยะหริ่งดังนี้ พระโยธานุประดิษฐ์ (นิโวะ) เป็นรายามุดา พระสุนทรรายา (นิโซะ) หลวงประชาภิบาล (นิแว) หลวงบุรานุมัติการ (นิตีมุง) ขุนอภิบาลบุรีรักษ์ (กูปัตตารอ) ขุนสิริบำรุง (นิแม) และ พระวิเศษวังษา (นิกวน หรือ นิกูวง) บุตรพระยายะหริ่ง (นิตีมุง)

ต่อมาได้มีการถอดบรรดาศักดิ์พระวิเศษวังษา (นิกวน) เนื่องด้วยมีปัญหาภายในวงญาติชั้นปกครองกันเอง และมีการยื่นฟ้องเป็นคดีระหว่างเจ้าเมืองกับนิกวน โดยนิกวนร่วมกับบ่าวไพร่ยื่นฟ้องพระยายะหริ่งและพระโยธานุประดิษฐ์ ผู้ช่วยเจ้าเมืองยะหริ่ง ต่อศาลแพ่งกว่า 100 คดีในครั้งนั้นได้ฟ้องต่อเจ้าเมืองสงขลาว่าพระยายะหริ่งยกพวกปล้นและฆ่าลูกเมียและบริวารตายและริบทรัพย์สินไป ขอให้พระยาสงขลาดำเนินคดี เนื่องจากในสมัยนั้นสงขลาเป็นผู้ดูแลหัวเมืองทั้งเจ็ดก่อนที่จะเปลี่ยนสังกัดไปอยู่กับนครศรีธรรมราช พระยาสงขลาพยายามเรียกตัวพระยายะหริ่งมาสอบสวนแต่พระยายะหริ่งบ่ายเบี่ยงไม่ยอมมาจึงไม่สามารถไต่สวนความได้ พระยายะหริ่งได้ตอบทางจดหมายว่า ก่อนหน้านั้นคนใช้นิกวนไปบุกรุกที่นาและยังยิงทนายพระยายะหริ่ง ในขณะเดียวกันพระยายะหริ่งเองก็เคยมีราษฎรฟ้องร้องเช่นกัน ซึ่งราษฎรเคยยื่นฎีกากล่าวโทษพระยายะหริ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนปักษ์ใต้ โดยกล่าวว่าพระยายะหริ่งข่มเขงราษฎร ฆ่าคนและริบทรัพย์สมบัติตามใจชอบ[2] ทางกรุงเทพได้สั่งขุนรองมหาดไทยลงมาสอบสวนเรื่องนี้ที่เมืองยะหริ่ง ขุนรองมหาดไทยได้รายงานว่าพระยายะหริ่งได้กวาดต้อนราษฎรจำนวน 400-500 คน เพื่อเตรียมสู้รบกับนิกวน โดยทั้งสองฝ่ายตั้งท่าจะรบกัน

ในรายงานเกี่ยวกับคดีความของหลวงบริรักษ์ภูเบนทร์ในปี 1903 คดีแพ่งในศาลบริเวณในปีนั้นมีสูงถึง 370 คดี คดีเก่านิกวนอยู่ 100 คดี แต่ไม่ได้บอกว่าศาลตัดสินคดีอย่างไรและทำไมถึงเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา

นอกจากนี้ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. 108 กล่าวถึงนิกวน ดังต่อไปนี้

" อนึ่งหลวงประชาภิบาล (นิแว) บุตรพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) กับ (นิกวน) บุตรพระยายะหริ่ง(นิตีมุง) กับราษฎรมาร้องฎีกากล่าวโทษพระยายะหริ่ง ว่ากระทำการคุมเหงตัว และราษฎรต่างๆ ฉันเห็นว่าควรจะยื่นเรื่องราวที่ผู้รักษาเมืองสงขลาก่อนจึงได้คืนเรื่องราวไป แต่ความเรื่องพระยายะหริ่งนี้ ว่ามีโจทก์มาร้องต่อพระยาวิเชียรคีรีชมถึง 40 /50 คน ร้องที่พระยาสุนทราก็มีได้มีใบบอกเข้าไปที่กลาโหมสั่งให้หาตัวพระยายะหริ่งมาชำระ พระยายะหริ่งบิดพลิ้วเสียไม่มาเป็นช้านานจึงได้ได้ตัว ข้อความที่หานั้นหาว่าฆ่าคนไม่มีความผิดบ้าง เก็บริบทรัพย์สมบัติตามชอบใจบ้าง เดี๋ยวนี้ความก็ยังพิจารณาอยู่ แต่พระยายะหริ่ง บิดพลิ้วหลีกเลี่ยงไม่ใคร่ไปศาลจึงได้ช้าอยู่ ฉันก็ได้ตักเตือนพระยาสุนทราให้เร่งว่ากล่าวเสียให้เห็นผิดและชอบ ถ้ามีความผิดจริงก็ลงโทษได้ อย่าให้เป็นที่ติเตียนว่าหนักหน่วงความไว้ด้วยการที่แกล้งให้เป็นที่หวาดของเมืองแขกทั้งปวง"[3]

ในบั้นปลายชีวิตภายหลังจากมีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล นิกวนได้ร่วมกับรายาสาบันบริจาคที่ดินเพื่อสร้างที่ว่าการยะหริ่ง(ปัจจุบันคือ ที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง)

บุตรธิดา[แก้]

นิกวน มีบุตรธิดา 4 คน ดังนี้

  1. นิสกูว อับดุลบุตร
  2. นิตีมุง สนิบุตร
  3. นิเนาะ สนิบุตร
  4. ไม่ทราบชื่อ

อ้างอิง[แก้]

  1. พระวิเศษวังษา นิกวน หรือ (นิกูวง)
  2. ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม ปัตตานี ยะลา นราธิวาส บทที่2 การปฎิรูปกฎหมายและการศาล (PDF).P51-53
  3. พระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกการเสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (PDF)P.67-68