พรรคไทยศรีวิไลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคไทยศรีวิไลย์
หัวหน้าภคอร จันทรคณา (รักษาการ)
รองหัวหน้าว่าง
เลขาธิการว่าง
รองเลขาธิการว่าง
เหรัญญิกว่าง
นายทะเบียนสมาชิกว่าง
โฆษกว่าง
กรรมการบริหารว่าง
คำขวัญพรรคการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างแท้จริง
ก่อตั้ง2 มีนาคม พ.ศ. 2561 (6 ปี)
ที่ทำการ59/23 หมู่ 2 ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
จำนวนสมาชิก  (ปี 2565)10,040 คน [1]
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม
ชาตินิยม
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคไทยศรีวิไลย์ (อังกฤษ: Thai Civilized Party; ชื่อย่อ: ทศล./TCL.) พรรคการเมืองที่จดแจ้งชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เป็นลำดับที่ 28/2561 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561 โดยมีมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติเป็นผู้ยื่นจดแจ้งชื่อพรรค [2]

ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคไทยศรีวิไลย์ได้รับหนังสือจดแจ้งจัดตั้งพรรค หรือ พ.ก. ๗/๒ จาก กกต. เพื่อให้ทางพรรคดำเนินการจดทะเบียนพรรคอย่างเป็นทางการต่อไป [3]

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่ห้องประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการ พรรคไทยศรีวิไลย์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1 เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนาย มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เป็นหัวหน้าพรรคและนายณัชพล สุพัฒนะ หรือ มาร์ค พิทบูล เป็นรองหัวหน้าพรรค [4] และได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ต่อมาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายมงคลกิตติ์ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ โดยนายมงคลกิตติ์ให้เหตุผลว่าขอเบรคการเมือง[5] จากนั้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2566 พรรคไทยศรีวิไลย์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 4/2566 เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมงคลกิตติ์ ให้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ขณะที่ตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่ประชุมมีมติเลือกนางสาวภคอร จันทรคณา และตำแหน่งโฆษกพรรคที่ประชุมมีมติเลือก ลูกศร อรศศิพัชร์ มามีเกตุรัตน์ อดีตนักแสดงชื่อดัง[6]

หลังจากนั้นนายมงคลกิตติ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคไทยศรีวิไลย์ ทำให้พ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ในวันที่ 27 เมษายน 2567 ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคประชาธิปัตย์ นายมงคลกิตติ์ได้มาเข้าร่วมประชุมและโชว์บัตรสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากไปสมัครสมาชิกพรรค ณ ที่ทำการพรรค เมื่อวันที่ 26 เมษายน[7]

กระแสวิจารณ์[แก้]

ในโลกโซเชียลมีการแชร์ข้อความขอรับบริจาคของพรรคไทยศรีวิไลย์ จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยในเพจ พรรคไทยศรีวิไลย์ ระบุว่า ”ร่วมบริจาคทุนได้ตามบัญชีนี้ครับ  พรรคการเมืองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างแท้จริง” ปรากฏว่ามีผู้มาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก  โดยส่วนใหญ่เป็นห่วงว่าการขอบริจาครูปแบบดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่[8]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา[แก้]

ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ฝ่ายค้าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2565
  3. "พ.ก. ๗/๒ จาก กกต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-06-11.
  4. พรรคไทยศรีวิไลย์เลือก “มงคลกิตติ์” นั่งหัวหน้าพรรค โชว์ทุบหม้อข้าวประกาศนโยบายปราบโกงทั้งแผ่นดิน
  5. "'เต้ มงคลกิตติ์' ทิ้ง 'ไทยศรีวิไลย์' ลาออกพ้นหัวหน้าพรรค". ไทยโพสต์. 27 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  6. ""มงคลกิตติ์" คัมแบคหัวหน้าไทยศรีวิไลย์ ตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ "ลูกศร-อรศศิพัชร์" โทรโข่งพรรค". Sanook.com. 17 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  7. ""เต้ มงคลกิตติ์" โชว์บัตรสมาชิก ปชป. มั่นใจพรรคจะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งในปี 70". ไทยรัฐ. 27 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
  8. โซเชียลกระหึ่ม! ถามความเหมาะสม ‘ไทยศรีวิไลย์’ ขอบริจาคทุนพรรค แต่ในนามส่วนตัว

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]