ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Tiewz/กระบะทราย

พิกัด: 13°16′43″N 100°55′40″E / 13.27872°N 100.927721°E / 13.27872; 100.927721
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ไฟล์:Asabuulogo.jpg
ตราสัญลักษณ์ประจำชมรม
คติพจน์ศรัทธา เชื่อมั่น ฅนอาสา
ประเภทกิจกรรมมหาวิทยาลัย
สถาปนาพุทธศักราช 2520
ที่ตั้ง
ห้อง 312 ชั้น 3 อาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต 2
, ,
13°16′43″N 100°55′40″E / 13.27872°N 100.927721°E / 13.27872; 100.927721

ความเป็นมา[แก้]

ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ห้อง 312 ชั้น 3 อาคารศูนย์กิจกรรมนิสิต 2 มหาวิทยาลัยบูรพา สังกัดกองกิจการนิสิตฝ่ายชมรมบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดตั้งขึ้น ในช่วงเวลาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงฐานะ จาก วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ประมาณปีพุทธศักราช 2520

วัตถุประสงค์หลัก[แก้]

วัตถุประสงค์ทั่วไปของชมรมฯ คือใช้กิจกรรมประเภทอาสาสมัคร สร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนิสิต นอกเหนือจากการเรียนในระบบปกติของมหาวิทยาลัย ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนในที่ห่างไกล และได้ทำกิจกรรมช่วยเหลือในพื้นที่นั้นๆ โดยส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนของชุมชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารเพิ่มเติม ปรับปรุงแก้ไขตัวอาคารให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นจากเดิม นอกเหนือไปจากการสร้างถาวรวัตถุทั้งหลายผ่านในรูปของกิจกรรมต่างๆ แล้วนั้น ยังมีการร่วมงานกันระหว่างนิสิตและชาวบ้านในพื้นที่ ไปจนถึงสร้างกิจกรรมสันทนาการกับเด็กๆ นักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อมุ่งหวังให้นิสิตทุกคนที่มีประสบการณ์จากกิจกรรมต่างๆ เมื่อได้สำเร็จการศึกษาออกไปแล้วนั้น เกิดจิตใจที่จะนำความรู้ ความสามารถ ช่วยเหลือแก่บุคคลอื่นในสังคมที่ด้อยโอกาสกว่า ตามสมควรแก่โอกาสของตนเอง และปลูกฝังเพื่อมิให้นำความรู้ความสามารถของตนเอง ไปใช้เพื่อรังแก หรือเอารัดเอาเปรียบกับผู้อื่นในสังคม

โครงสร้างชมรม[แก้]

ในระยะเวลา 1 ภาคปีการศึกษา จะมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ เพื่อจัดการดำเนินงานภายในชมรม ดังนี้

1. ประธานชมรม 2. รองประธานชมรม 3. เลขานุการ 4. พัสดุ 5. เหรัญญิก

และยังมีอาจารย์อีกอย่างน้อย 1 ท่าน เพื่อเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำชมรม ในแต่ละภาคปีการศึกษาอีกด้วย

การดำเนินกิจกรรม[แก้]

ในปัจจุบัน ชมรมอาสาฯ มหาวิทยาลัยบูรพา มีลักษณะการทำโครงการกิจกรรมหลัก 4 ครั้ง ใน 1 ภาคการศึกษา ซึ่งจะแบ่งย่อยออก เป็นค่ายที่เน้นกิจกรรมสันทนาการ 2 ครั้ง และค่ายที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับตัวอาคาร อีก 2 ครั้ง

ในส่วนของค่ายแต่ละครั้ง จะมีการคัดเลือกสมาชิกชมรมที่สนใจ เพื่อรับหน้าที่เป็นคณะกรรมการในฝ่ายต่างๆ ดังนี้

คณะกรรมการจัดการบริหารค่าย ได้แก่

1. ประธาน 2. เลขานุการ 3. เหรัญญิก 4. โครงงานหลัก 5. สันทนาการ 6. วิชาการ 7. ประชาสัมพันธ์ 8. สวัสดิการ 9. พัสดุ 10. ปฏิคม 11. อาหาร 12. พยาบาล 13. สาราณียกร

นอกจากนั้น ในตลอดระยะเวลาการเตรียมขั้นตอนต่างๆ จนถึงในวันจัดกิจกรรมค่ายอาสาแล้ว จะต้องมีการบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องของการประเมินงบประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ขั้นตอนการทำงานเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการแบ่งงาน ให้แก่นิสิตที่ได้เข้าร่วมกับค่ายทุกๆ คนนั้น ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด จึงนับเป็นประโยชน์นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลักของชมรมแล้ว ยังสามารถฝึกฝนขั้นตอนวิธีการทำงานต่างๆ ให้แก่นิสิตที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม ของทางชมรมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อ้างอิง[แก้]

วีดิโอแนะนำ ของชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี พ.ศ. 2555

วีดิโอ การประกาศผลงานรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมเยาวชนท่องเที่­ยวหัวใจสีเขียว Green Heart #3 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 นำโดยกลุ่มนิสิต จากชมรมอาสาฯ ม.บูรพา

โครงการร่วมมือระหว่างชมรมอาสาฯ ม.บูรพา และ บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด ส่งมอบอุปกรณ์เวชภัณฑ์ และปรับปรุงห้องพยาบาลให้โรงเรียนบ้านเขาสัตตพรหม จ. ชลบุรี