ผู้ใช้:Sarunya355/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้ หรือ มะกอกโคโรเนย์กี้[แก้]

มะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้ หรือ มะกอกโคโรเนย์กี้ (อังกฤษ: Greek Koroneiki Olive / Koroneiki Olive) คือ สายพันธุ์หนึ่งของต้นมะกอกที่มีปลูกอยู่แพร่หลายในประเทศกรีซ มีต้นกำเนิดอยู่ในแคว้นเมสซิเนีย (ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส) ซึ่งมะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้นี้ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศที่ไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป จึงเหมาะสมกับการเจริญเติบโตในลักษณะเฉพาะของดิน และสภาพภูมิอากาศของประเทศกรีซ มะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้จึงมีปลูกอยู่แพร่หลาย มากถึง 50-60% ของพื้นที่ในประเทศกรีซ[1] และเจริญเติบโตในประเทศกรีซมามากกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ อย่างไรก็ดีปัจจุบันมีการนิยมปลูกมะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในทวีปยุโรป และอเมริกา

การใช้ประโยชน์[แก้]

มะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้ ถูกยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งมะกอก” เนื่องจากพบว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีผลมะกอกเล็กกว่าสายพันธุ์อื่นๆหลายชนิด แต่กลับมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่น สควาเลน และโพลีฟีนอลอยู่มาก[2] ซึ่งกลุ่มสารอินทรีย์เหล่านี้สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายมนุษย์ได้อย่างดีเยียม มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ลดระดับของคอลเลสเตอรอล (อังกฤษ: Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (อังกฤษ: Triglyceride) ในเส้นเลือด กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยต้านแบคทีเรีย[2][3] มะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้จึงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกโดยเฉพาะในแถบตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศที่นิยมการผลิตน้ำมันมะกอกคุณภาพสูง เช่น น้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (อังกฤษ: Extra Virgin Olive Oil) ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการบริโภค รวมถึงการบำรุงผิวพรรณให้สวยงาม

ฤดูการเก็บเกี่ยว[แก้]

โดยส่วนมากฤดูการเก็บเกี่ยวของผลมะกอกกรีกสายพันธุ์โคโรเนย์กี้มักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผลมะกอกกรีกชนิดนี้กำลังสุก และเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวอ่อนเป็นสีม่วง หรือสีม่วงดำ อย่างไรก็ดีในบางพื้นที่ฤดูการเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมซึ่งผลมะกอกยังไม่สุกดี และมีสีเขียวอ่อน ซึ่งสีของผลมะกอกบ่งบอกถึงความสุกมากน้อย และส่งผลกับรสชาติเช่นเดียวกับผลไม้ชนิดอื่นๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1 World Catalogue of Olive VarietiesInternational Olive Council, 2000, p. 95, ISBN 978-84-931663-1-1
  2. 2.0 2.1 Kalogeropoulos, N., Tsimidou M. Z. (2014), Antioxidants of Greek Virgin Olive Oils, Antioxidants, 3, 387-413, ISSN 2076-3921.
  3. Paul M. Vossen (2007), Organic Olive Production Manual, UCANR Publications, pp. 9, 32, ISBN 978-1-60107-440-9