ผู้ใช้:Niranarm/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสวินิต อิศรางกูร ณ อยุธยา
บุพการี
  • ชุนฮวง พรรณเชษฐ์ (บิดา)
  • ประทิน พรรณเชษฐ์ (มารดา)
อาชีพกุมารแพทย์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา (ชื่อจีน: 刘 Liú ไซ้เคง) เริ่มรับราชการที่แผนกกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ในช่วงแรกได้ไปศึกษาต่อวิชาโลหิตวิทยา และกุมารเวชศาสตร์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้ปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พ.ศ. 2506 ได้กลับมาปฏิบัติงานที่ศิริราชระยะหนึ่ง จึงย้ายมาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดีตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง[1]

ศ.เกียรติคุณ พญ.ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา เกิดวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คนของนายชุน หรือชุนฮวง พรรณเชษฐ์ และนางประทิน (ทองรวย)

ประวัติ[แก้]

ศ.เกียรติคุณ พญ.ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา สมรสกับ นายวินิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ไม่มีบุตร-ธิดา

ประวัติการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2492 ประกาศนียบัตรชั้นมัธยม 8 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2494 เตรียมแพทยศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2498 แพทยศาสตร์บัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2506 D.Sc.(Med) Pediatrics, University of Pennsylvania, U.S.A.
  • พ.ศ. 2506 Certificate in Clinical & Research Fellow in Hematology (3 years), The Children's Hospital of Philadelphia, U.S.A.

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • แพทย์ประจำบ้าน-อาจารย์แพทย์, แผนกกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พ.ศ. 2498-2512
  • ร่วมก่อตั้งภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คลังเลือดและห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, พ.ศ. 2508-2512
  • อนุกรรมการทางวิชาการ และที่ปรึกษา, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, พ.ศ. 2509-2521
  • ผู้อำนวยการคลังเลือด, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, พ.ศ. 2511-2513
  • กรรมการบริหาร และเหรัญญิก, มูลนิธิรามาธิบดี, พ.ศ. 2517-2521
  • กรรมการสอบสวนด้านจริยธรรม, แพทยสภา, พ.ศ. 2521-2533
  • กรรมการบริหาร และประธานสวัสดิการ, มูลนิธิรามาธิบดี, พ.ศ. 2524-2527
  • Working Committee on Neonatal Vitamin K Prophylaxis, International Committee of Thrombosis and Hemostasis, พ.ศ. 2528-2530
  • ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับโรคเอดส์, โรงพยาบาลรามาธิบดี, พ.ศ. 2529-2533
  • ตำแหน่งศาสตราจารย์ (ระดับ 11), พ.ศ. 2531
  • หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, พ.ศ. 2527-2535
  • รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, พ.ศ. 2529-2531
  • President of the Asian Pacific Congress on Bleeding Disorder and Transfusion Medicine, The World Federation of Hemophilia, พ.ศ. 2533-2535

หน้าที่การงานในปัจจุบัน[แก้]

  • Medical Advisory Board, The World Federation of Hemophilia
  • Director, Bangkok-International Hemophilia Training Center, The World Federation of Hemophilia
  • Director, Federation's Regional Office for ASEAN Countries, The World Federation of Hemophilia
  • Director, National Member Organization - Thailand, The World Federation of Hemophilia
  • Committee for Education on AIDS, The World Federation of Hemophilia
  • National Counselor of Asian Pacific Division, The International Society of Hematology

งานวิจัยที่สำคัญ[แก้]

  1. โรคเลือดออกง่าย (Acquired Prothrombin Complex Deficiency in Infant), ค้นพบในปี พ.ศ. 2508 ได้รายงานและทำการวิจัยตลอด 30 ปี
  2. โรคไข้เลือดออก; ศึกษาความผิดปรกติของภาวะเลือดออก, วิจัยการนำ platelet concentrate มารักษาเป็นที่ยอมรับทั่วภูมิภาค, วิจัยภาวะช็อคและผลการใช้ steroid
  3. Blood Component Therapy
  4. โรคฮีโมฟีเลีย; จัดตั้ง Blood Coagulation Lab แห่งแรกที่โรงพยาบาลศิริราช
  5. โรค Acquired Platelet Dysfunction with Eosinophilia
  6. โรคธาลัสซีเมีย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ที่ระลึก ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา มีอายุครบ 60 ปี, 9 ตุลาคม 2535
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๗๘, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๘๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]