ผู้ใช้:Nihadajp/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติและข้อมูลโดยย่อ[แก้]

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่หลายๆคนคุ้นเคยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศอื่นๆในอาเซียน เรื่องแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆเนื่องมาจากในประเทศมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ อีกทั้งรอยเลื่อนของเปลือกโลก ทำให้มีข่าวเรื่องแผ่นดินไหวอยู่ตลอด ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เชื้อสายมาเลย์ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และยุโรป ถ้าแบ่งตามชาติวงศ์วิทยาถือว่ามีต้นกำเนิดมาจาก 365 เชื้อชาติ รวมเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 4 กลุ่มคือ เมสเลเนเซียน โปรโตออสโตรเนเซียน โพลีเนเซียน และโมโครเนเซียน[1] อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลียและระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว[2]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • ชื่อทางการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
  • เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta)
  • ศาสนา ศาสนาอิสลาม
  • ลักษณะภูมิศาสตร์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,070,606 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นทางบกและทางน้ำ
  • ภูมิประเทศ ทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับติมอร์-เลสเตและปาปัวนิวกินี ทิศใต้ติดกับทะเลติมอร์ และอินโดนีเซียมีหมู่เกาะมากที่สุดในโลก แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆคือ ซุนดาใหญ่ ซุนดาน้อย มาลุกุ และอีเรียนจายา
  • ประชากร มีประชากรมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 220 ล้านคนประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลาหลายกลุ่ม[3]

ประวัติโดยย่อ[แก้]

ชื่ออินโดนีเซียเป็นชื่อใหม่ที่ปรากฎในคริสตศตวรรษที่ 19 คนอินโดนีเซียเองมักจะใช้คำแทนชื่อประเทศของเขาว่า Tanah Air Kita หมายถึง พื้นดิน-พื้นน้ำ เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราชแล้วจึงเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรตั้งแต่อาณาจักรมาลายู ศรีวิชัย มะธะรัมในยุคแรก เดคิรี สิงหัสสารี มัชปาหิต ปาจาจารัน จนกระทั่งมะธะรัมในยุคหลังก่อนตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาในกลางคริสตศตวรรษที่ 17 อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดานาน 350 ปี ทำให้อินโดนีเซียมีผลเสียของการปกครองฮอลันดาที่แสวงหาผลประโยชน์ ชาวอินโดนีเซียได้ดำเนินการต่อสู้เพื่อเอกราช จนในปี ค.ศ.1950 จึงได้รับเอกราช เริ่มแรกนั้นมีรูปแบบการปกครองเป็นรัฐสหพันธ์ชื่อว่า สาธารณรัฐแห่งสหรัฐอินโดนีเซีย ในปีต่อมาเปลี่ยนเป็น สาธารณรัฐและอยู่จนปัจจุบัน[4]

ข้อมูลการเมืองการปกครอง[แก้]

อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2488 และประกาศหลักปัญจศีล ดร.ซูการ์โน ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีจนมีการต่อสู้เพื่อเอกราชและชีวิตชาวอินโดนีเซีย ในที่สุดก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2492 หลักปัญจศีลถือเป็นปรัญชาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคมและเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว รัฐธรรมนูญในปี พ.ศ.2488 มีการปกครองในแบบรัฐเดียว มีระบบปกครองแบบรวมทั้งประเทศ มีระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุดในการบริหาร มีวาระ 5 ปี ตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เป็นคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในปี พ.ศ.2547 ปัจจุบันอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองเป็น 30 จังหวัด 2 เขตพิเศษ และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ[5]

ประวัติความเป็นมาของระบบราชการ[แก้]

การปฏิรูประบบราชการ[แก้]

ภายใต้การปกครองระบบซูฮาร์โต 31 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ได้ผ่านการปกครองยุคเผด็จการ โดยให้ระบบทหารเข้ามามีบทบาทเหนือข้าราชการเรียกว่า ระบบเกการ์ยา ที่ให้ทหารเข้าไปดำรงตำแหน่งที่สำคัญตั้งแต่ระดับอธิบดีตามกรมต่างๆ เมื่อสิ้นอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเกิดกฎหมายปฏิรูปในปี พ.ศ.2549 ที่กระจายอำนาจตามตำแหน่งผู้ว่าราชการที่มาจากการเลือกตั้งและส่วนราชการอื่นๆก็เกิดการปฏิรูปเช่นกัน สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ดำเนินการปฏิรูปตามประกาศของประธานาธิบดีปี พ.ศ.2553 เพื่อมุ่งเป็นรัฐบาลมาตราฐานระดับโลก องค์การข้าราชการแห่งชาติได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ 9 โครงการต่อไปนี้ 1. ปรับปรุงโครงสร้างระบบข้าราชการพลเรือน 2. สร้างเสถียรภาพให้แก่จำนวนข้าราชการพลเรือน 3. ปรับปรุงระบบสรรหา คัดเลือกและการแต่งตั้งข้าราชการ 4. พัฒนาให้มีความเป็นมืออาชีพ 5. พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ 6. อำนวยความสะดวกด้านการจดทะเบียบธุรกิจและด้านธุรกรรมของเอกชน 7. ดำเนินการด้านความโปร่งใสด้านทรัพย์สิน 8. ปรับปรุงสวัสดิการ 9. สร้างประสิทธิภาพเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน[6]

ระบบราชการภายใต้การปกครองตั้งแต่ยุคซูฮาร์โตถึงปัจจุบัน[แก้]

สิ่งที่ทำเมื่อประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้อำนาจการบริหาร คือ ใช้กฎหมายบังคับให้ข้าราชการเป็นสมาชิกแบบถาวรของสมาคมข้าราชการแต่ละอาชีพที่รวมตัวจัดตั้งสำนักงานข้าราชการพลเรือนในลักษณะบริษัทที่ชื่อว่า คอร์ปส์ เปกาวาอี เนเกรี มีชื่อย่อว่า คอร์ปี ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของข้าราชการพลเรือน ไม่ใช่แค่หน่วยงานของตนเท่านั้นและต้องเป็นลูกจ้างที่ดีถูกกฎหมายและถูกวินัยข้าราชการการบังคับให้เป็นสมาชิกของพรรคโกลคาร์ เพราะเป็นองค์การที่ถูกกฎหมายองค์การเดียวที่ต้องเป็นสมาชิกถาวร ระบบราชการของอินโดนีเซียตั้งแต่ได้รับเอกราชมาก็ต้องการปรับตัวปรับกำลังคน แต่ก็ต้องมาถูกจัดให้เป็นระบบโดยพรรคการเมืองเป็นระบบที่ทำเพื่อบุคคลไม่ใช่ประเทศชาติ ทำให้ข้าราชการยุคนี้ทำงานล่าช้า ขาดความโปร่งใส ขาดความรับผิดชอบ ขาดความริเริ่ม มีการคอรัปชั่นจึงต้องปฏิรูปอย่างมาก หลังยุคของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเกิดการเคลื่อนไหวปฏิรูปและการกระจายอำนาจในยุคระเบียบใหม่และรัฐบาลได้กระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐอินโดนีเซียอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่บทสรุปของการปฏิรูปที่เพิ่มสมรรถนะของข้าราชการโดยยกระดับคุณภาพของข้าราชการและการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย[7]

ภาพรวมของระบบข้าราชการ[แก้]

รัฐบาล นโยบายรัฐบาลและนโยบายเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[แก้]

รัฐบาล อินโดนีเซียในยุคปัจจุบันอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดี ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน สมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ตุลาม พ.ศ.2552 ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี การปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตยนั้น ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เป็นทั้งประธานาธิบดีประมุข หัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรัฐมนตรีร่วมคณะ 35 คนและมีการปรับรัฐบาลครั้งแรกในช่วง 2 ปีเนื่องจากปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ประสิทธิภาพการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การแตกความสามัคคีระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล[8]

จำนวนข้าราชการในประเทศและคุณลักษณะหลักของข้าราชการ[แก้]

  • จำนวนข้าราชการในประเทศ ในปี พ.ศ.2555 มีข้าราชการประมาณ 5.5 ล้านคน ซึ่งมีประมาณ 4,732,472 คน
  • คุณลักษณะหลักของข้าราชการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ข้าราชการสามารถเลือกไปฝึกอบรมได้ตามสมรรถนะ ข้าราชการต้องเข้ารับการฝึกอบรมและมีการวางกระบวนการปรับเปลี่ยนฝึกอบรม 4 ระยะดังนี้

1. เป้าหมายการฝึกอบรมในระยะสั้น ข้าราชการจะเลือกเข้ารับการอบรมหรือไม่ก็ได้ 2. ในช่วงแรกในปี 2552-2553 การฝึกอบรมทางด้านเทคนิคเป็นไปตามการวิเคราะห์ความจำเป็น 3. ในระยะที่สองช่วงปี 2553-2555 การฝึกอบรมด้านเทคนิคยังคงเป็นทางเลือก 4. ในระยะยาวการฝึกอบรมข้าราชการสามารถเลือกเข้ารับการอบรมทุกประเภทหรือไม่ก็ได้[9]

ระบบพัฒนาข้าราชการ[แก้]

ภาพรวมของการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ประเทศอินโดนีเซียในปี 2005 มีจำนวนข้าราชการประมาณ 3.74 ล้านคน ที่แสดงให้เห็นว่าปริมาณลดลงจากปี 2517 จำนวนข้าราชการพลเรือนได้รับมอบอำนาจในระดับภูมิภาคมรมากกว่าข้าราชการส่วนกลาง ทั้งนี้ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรัฐให้มีบริการที่มีคุณภาพกับประชาชน ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญของการปฏิรูประบบราชการส่วนใหญ่ของประเทศต่างๆคือการปรับปรุงบริการให้แก่ประชาชน
  • การสรรหาและการคัดเลือก เป็นหน้าที่ของภาครัฐในแต่ละจังหวัดที่สามารถสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเองได้ โดยประกอบด้วยใบสมัครและการสอบ จะดูว่าเหมาะสมกับงานหรือไม่และเมื่อสอบผ่านข้อเขียนต้องลองงานก่อน 1 ถึง 2 ปีเมื่อผ่านการลองงานแล้วถึงจะได้เข้าทำงานของรัฐ
  • การจ่ายค่าตอบแทน ภาครัฐจะจ่ายน้อยกว่าภาคเอกชน เอกชนจะจ่ายให้มากถึง 3-4 เท่า ส่วนทางภาครัฐพยายามจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเพื่อป้องกันไม่ให้คนไหลออก และค่าตอบแทนประกอบด้วย เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ซึ่งอาจเหมารวมค่าเบี้ยเลี้ยง เงินสงเคราะห์ครอบครัว เงินพิเศษตามโครงสร้างต่างๆ นอกจากนี้ข้าราชการในระดับภูมิภาคยังมีการจ่ายเงินมากขึ้นตามสายงานสานอาชีพ โดยการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงในหน้าที่[10]

กลยุทธ์การพัฒนาข้าราชการ[แก้]

  • การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในภาครัฐ ภาครัฐได้จ้างสถาบันรัฐกิจแห่งชาติโดยจัดหลักสูตรฝึกอบรมที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด โดยผู้มีการศึกษาสูงก็จะได้รับโอกาสอบรมมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อย เช่น แพทย์ นักวิชาการ[11]

หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาข้าราชการ[แก้]

  1. องค์การข้าราชการแห่งชาติ (National Civil Service Agency-NCSA) เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดีที่มีหน้าที่กำหนดกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินงานของข้าราชการและจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายของชาติด้วย
  2. ศูนย์การประเมินข้าราชการ มีหน้าที่รับผิดชอบการประเมินของระบบบริหารจัดการราชการพลเรือน เป้าหมายสำคัญคือการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของข้าราชการเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  3. สถาบันการบริหารรัฐกิจแห่งชาติ เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการบริหารจัดการในระบบราชการของอินโดนีเซีย

กฎระเบียบข้าราชการ[แก้]

ข้อตกลงก่อนการเป็นข้าราชการ[แก้]

ผู้สมัครทุกคนจะต้องยอมรับกฎเกณฑ์บางประการ ดังนี้

  1. ผู้สมัครต้องผ่านการฝึกอบรมก่อนการเป็นข้าราชการถึงจะได้ใบรับรองเพื่อที่จะยืนยันว่าได้ผ่านการอบรมมาแล้ว (ต่างจากประเทศไทยที่ไม่มีการฝึกอบรมแบบนี้) และต้องมีเอกสารใบรับรองสุขภาพกายและสุขภาพจิตจากโรงพยาบาลที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  2. ผู้สมัครต้องมีเอกสารแบบประเมินผลสัมฤทธิ์จากการทำงานตามกฎหมายได้บังคับไว้ (DP3) คือ การประเมินผลการทำงานของแต่ละบุคคลในแต่ละหน่วยงาน
  3. เมื่อผ่านการทดสอบแบบต่างๆ ตามข้างต้นมาแล้วนั้นต่อไปคือ ผู้สมัครข้าราชการพลเรือนจะได้เป็นข้าราชการพลเรือนแบบสมบูรณ์แบบและได้เงินเดือนเต็มจำนวนก็เมื่อได้รับพระราชกฤษฎีกาที่ว่าด้วยการบรรจุข้าราชการแทนที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสมัครข้าราชการพลเรือน
  4. บทบัญญัติของกฎหมายได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎหมายฉบับที่ 43 ในปี พ.ศ.2542 ได้บอกไว้ว่าข้าราชการที่ผ่านการทดสอบมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีสามารถเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนได้เลยเมื่อปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อกำหนด[12]

การฝึกอบรมก่อนการเป็นข้าราชการและฝึกอบรมการทำงานของข้าราชการ[แก้]

ถูกจัดขึ้นโดยโปรแกรมการฝึกอบรมภายในโดย LAN ที่มุ่งเน้นที่การประเมินและการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติในสำนักงาน การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ความเข้าใจกฎหมายและการเลื่อนขั้นในระบบข้าราชการ การฝีกอบรมนี้จะช่วยให้เป็นข้าราชการที่ดีได้และเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ เพื่อให้ข้าราชการในประเทศมีความเป็นผู้นำและทำงานอย่างมีประสิทธภาพ[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. ที่มา ดร.กฎชนก สุขสถิต. (2555). สาธารณรัฐอินโดนีเซีย. สังคม วัฒนธรรม ประชาคมอาเซียน10ชาติ (หน้า51-53). กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง
  2. สรินยา ทอดแสน. (2555). ประเทศในอาเซียนอินโดนีเซีย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://sarinyaindonesia.blogspot.com/
  3. ที่มา ฝ่ายวิชาการเจเนซิส มีเดียคอม. เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย. รอบรู้ประชาคมอาเซียน (หน้า48-49). กรุงเทพฯ : บริษัทเจเนซิส มีเดียคอมจำกัด
  4. ที่มา ศูนย์อินโดนีเซียศึกษา (2547). ประวัติศาสตร์อินโดนีเซียฉบับย่อ. อินโดนีเซียศึกษา ฉบับปฐมฤกษ์ (หน้า21-26). นครศรีธรรมราช : อักษรการพิมพ์
  5. ที่มา สกลกาญจน์ วิเศษ (2555). การเมืองการปกครอง. สาระอาเซียน (หน้า157-158). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา
  6. ที่มา สำนักงานก.พ. (2559). การปฏิรูประบบราชการในอินโดนีเซีย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5193&filename=index
  7. ที่มา สำนักงานก.พ. (2559). ระบบราชการภายใต้การปกครองตั้งแต่ยุคซูฮาร์โตถึงปัจจุบัน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=6169&filename=index
  8. ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. รัฐบาล นโยบายรัฐบาลและนโยบายเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ระบบบริหารราชการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (หน้า72). นนทบุรี : กรกนกการพิมพ์
  9. ที่มา สำนักงานก.พ. (2559). คุณลักษณะหลักของข้าราชการในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=5955&filename=index
  10. ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ภาพรวมของการพัฒนาข้าราชการ. ระบบบริหารราชการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (หน้า 138-144). นนทบุรี : กรกนกการพิมพ์
  11. ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กลยุทธ์การพัฒนาข้าราชการ. ระบบบริหารราชการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (หน้า 145). นนทบุรี : กรกนกการพิมพ์
  12. ที่มา สำนักงานก.พ. (2558). ข้อตกลงก่อนการเป็นข้าราชการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://thailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=4513&filename=index
  13. ที่มา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การฝึกอบรมก่อนการเป็นข้าราชการและการฝึกอบรมการทำงานของข้าราชการ. ระบบบริหารราชการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (หน้า170-171). นนทบุรี : กรกนกการพิมพ์