ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Minos777/โรงเรียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถูกสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยกรมศึกษาธิการได้รับไว้เรียกชื่อว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม โดยเปิดทำการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 เป็นโรงเรียนชายล้วน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษและเป็นโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงโรงเรียนหนึ่ง ดำเนินนโยบายแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา ดำเนินนโยบายแผนปฏิบัติการประจำปีสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร มีอาคารเรียนทั้งหมด 6 หลัง ห้องเรียน 72 ห้อง มีครูทั้งหมด 149 คน จำนวนนักเรียนในปีการศึกษา 2554 รวมทั้งสิ้น 3,520 คน

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และพระราชทานนามว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษวัดสุทธิวราราม

การสถาปนาโรงเรียนนั้นเกิดมาจากแนวคิดของบุตรธิดานางอุปการโกษากร หรือ ท่านปั้น ณ สงขลา วัชราภัย มีพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) บุตรชายคนโตของท่านปั้นเป็นหัวหน้า โดยตกลงกันว่าจะบำเพ็ญกุศลสนองคุณบุพการีในการฌาปนกิจศพท่านปั้นผู้เป็นมารดาซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรคฝีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ด้วยการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ "สถานศึกษา" โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถูกสถาปนาขึ้นบนธรณีสงฆ์ของบริเวณที่เดิมเรียกว่าวัดลาว อันเนื่องมาจาก เดิมวัดลาวนี้เป็นวัดร้าง ท่านผู้หญิงสุทธิ์ภรรยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) มารดาของท่านปั้น ได้บูรณะขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชนามใหม่ว่า "วัดสุทธิวราราม" ตามนามของท่านผู้หญิงสุทธิ์ ซึ่งภายหลังท่านปั้น ได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม โดยท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นมรรคนายิกา ดังนั้นเมื่อท่านปั้นได้ถึงแก่กรรมลง บุตร-ธิดาของท่านปั้นจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นบำเพ็ญกุศลแทนคุณมารดาที่วัดสุทธิวรารามแห่งนี้

พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ได้เป็นผู้นำในการปรึกษาเรื่องดังกล่าวกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ซึ่งได้ให้ความร่วมมือในการออกแบบก่อสร้างอาคารตามแบบที่เหมาะสม โรงเรียนดังกล่าวซึ่งกรมศึกษาธิการรับไว้เรียกชื่อว่า "'โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม"' เริ่มเปิดทำการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นวันแรก มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

หลังจากมีพิธีเปิดโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 และเริ่มทำการเรียนการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 แล้ว พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ทำหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวไปถวาย พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ในจดหมายนั้นมีใจความสำคัญตอนท้ายว่า

โรงเรียนนี้กรมศึกษาธิการได้รับไว้ และเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมเรียกว่าโรงเรียนพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ร.ศ.130 เป็นต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนของพระราชทานถวายพระราชกุศล ถ้ามีโอกาสอันควรขอฝ่าพระบาทได้โปรดนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า วิสุทธสุริยศักดิ์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความกราบบังคมทูลแล้ว จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมายังราชเลขานุการในวันเดียวกัน พระราชกระแสในพระราชหัตถเลขามีความว่า

อนุโมทนา และมีความมั่นใจอยู่ว่า การที่บุตรของปั้นได้พร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลเช่นนี้ คงจะมีผลานิสงษ์ดียิ่งกว่าที่สร้างวัดขึ้นได้สำหรับให้เปนที่อาไศยแอบแฝงแห่งเหล่าอลัชชี ซึ่งเอาผ้ากาสาวพัตร์ปกปิดกายไว้เพื่อให้พ้นความอดเท่านั้น มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักรและอาณาจักรเลย การสร้างโรงเรียนขึ้นให้เป็นที่ศึกษาแห่งคนไทยเช่นนี้ เชื่อว่ามีผลดีทั้งในฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร เพราะฉะนั้นจึ่งควรสรรเสริญและอนุโมทนามาในส่วนกุศล


อนึ่งถ้ามีโอกาสขอให้พระยาวิสุทธช่วยชี้แจงต่อๆไปว่า ถ้าผู้ใดมีน้ำใจศรัทธาและมีความประสงค์ขะทำบุญให้ได้ผลานิสงษ์อันงามจริง ทั้งเปนที่พอพระราชหฤทัยพระเจ้าแผ่นดินด้วยแล้ว ก็ขอให้สร้างโรงเรียนขึ้นเถิด การที่จะสร้างวัดขึ้นใหม่ไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ถ้าแม้ว่ามีความประสงค์จะทำการอันใดซึ่งเป็นทางสร้างวัด ขอชักชวนให้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้วให้ดีงามต่อไป ดีกว่าที่สร้างวัดขึ้นใหม่แล้วไม่รักษา ทิ้งให้โทรมเป็นพงรกร้าง ฤๅร้ายกว่านั้นคือกลายเปนที่ซ่องโจรผู้ปล้นพระสาสนาดังมีตัวอย่างอยู่แล้วหลายแห่ง ผู้ที่สร้างวัดไว้ให้เปนซ่องคนขะโมยเพศเช่นนี้ เราเชื่อแน่ว่าไม่ได้รับส่วนกุศลอันใดเลย น่าจะตกนรกเสียอีก ข้อนี้ผู้ที่สร้างวัดจะไม่ใคร่ได้คิดไปให้ตลอด จึงควรอธิบายให้เข้าใจเสียบ้าง

เมื่อพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ได้รับพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาจากราชเลขานุการและถวายร่างประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จากจดหมายราชการกระทรวงธรรมการเลขที่ 283/3530 โดยมีพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบกลับมาว่า “ดีแล้ว ออกได้” จึงได้ประสานและนำเรื่องแจ้งความต่อหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ความตอนหนึ่งว่า

การที่พวกบุตร์ของปั้นมีน้ำใจศรัทธาบำเพญกุศลโดยวิธีสร้างโรงเรียนอันเปนสิ่งต้องการในสมัยนี้ขึ้น ให้เปนที่ศึกษาของประชาชน นับว่าเปนการแผ่ผลให้เปนสาธารณประโยชน์ต่อไปเช่นนี้ ทรงพระราชดำริห์เห็นมั่นในพระราชหฤทัยว่า จะมีผลดีทั้งฝ่ายพระพุทธจักร์แลอาณาจักร์ จะเปนผลานิสงษ์อันงามจริง เปนอันพอพระราชหฤทัย แลต้องด้วยพระราชนิยมยิ่งนัก จึงทรงสรรเสริญแลทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลอันนี้ แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชนิยมอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าผู้ใดมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา ประสงค์จะบำเพญกุศลให้เป็นผลานิสงษ์อันดีจริงแล้ว ก็ควรจะถือเอาการสร้างโรงเรียนว่าเปนการกุศลที่จะพึงกระทำวันหนึ่งได้ ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะทำการอันใดซึ่งเปนทางสร้างวัด ก็ควรที่จะช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้ว ให้ดีงามแลสืบอายุให้มั่นคงถาวรต่อไปดีกว่าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วไม่รักษา ปล่อยให้ทรุดโทรมเปนที่น่าสังเวช อันเปนทางที่จะชักพาให้คนมีใจหมิ่นประมาทในพระพุทธสาสนากอบไปด้วยโทษดังกล่าวแล้วนั้น
กระทรวงธรรมการจึงได้รับพระบรมราชโองการเชิญกระแสพระราชดำริห์แลพระราชนิยมนี้ออกประกาศให้มหาชนทราบทั่วกัน ๚


จากหลักฐานที่พบจึงสามารถระบุได้ว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนแห่งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการใช้เป็นโรงเรียน ซึ่งต้องด้วยพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียนแทนวัด"

ในปีการศึกษาแรกเมื่อ พ.ศ. 2454 โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม มีนักเรียนทั้งสิ้น 86 คน เป็นชาวบ้านในบริเวณนั้น ซึ่งโดยมากเป็นคนไทยและคนไทยเชื้อสายจีน

เมื่อ พ.ศ. 2460 ท่านขุนสุทธิ์ดรุณเวชย์ ครูผู้ปกครองของโรงเรียน ได้ที่ดินซึ่งแต่ก่อนเป็นห้างสี่ตาจากวัดสุทธิวราราม เพื่อสร้างโรงเรียนชั้นประถม จึงรื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางตะวันตก เมื่อสร้างเสร็จ กระทรวงธรรมการเห็นควรให้เปิดโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแผนก จึงได้เปิดเป็น โรงเรียนสตรีวัดสุทธิวราราม

การเรียนการสอนในสมัยนี้ เปิดทำการทั้งหมด 9 ระดับชั้น รวมทั้งสิ้น 12 ห้อง คือ ชั้นประถมสามัญ 1-3 มัธยมสามัญตอนต้น ม.1-3 และมัธยมสามัญตอนกลาง ม.4-6 ไม่มีมัธยมสามัญตอนปลายคือ ม.7-8 นักเรียนที่ประสงค์จะเรียนต่อต้องไปศึกษาต่อที่อื่น ซึ่งในขณะนั้นเปิดรับสมัครอยู่สองแห่ง คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ โรงเรียนเทพศิรินทร์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 กระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้นใหม่ที่ตรอกยายกะตา โดยใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสตรีบ้านทวาย ปัจจุบันคือ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย และอพยพนักเรียนสตรีไป นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2474 และ 2475 ทางโรงเรียนได้เปิดสอนชั้นมัธยมสามัญตอนปลาย คือ ม.7 และ ม.8 ตามลำดับ

ปลายปีการศึกษา 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวรารามก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดเป็นค่ายพักอาศัยชั่วคราว โรงเรียนจึงต้องปิดทำการสอน ในปีต่อมา สงครามทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ระยะนี้ นักเรียนต้องอาศัยศาลาเชื้อ ณ สงขลา (สีเหลือง) ศาลาการเปรียญในวัดสุทธิวรารามเป็นที่เรียนชั่วคราว ต่อมากระทรวงธรรมการจึงได้สร้างเรือนไม้ชั้นเดียวมุงจาก ฝาลำแพน (ปัจจุบันคืออาคารเฉลิมพระเกียรติร. 9) เป็นที่เรียนชั่วคราว

พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสร้างอาคาร 2 ชั้น คืออาคาร 1 ซึ่งรื้อถอนออกแล้ว ออกแบบโดยหลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม) จึงได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491

ต่อมาเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2495 ได้รื้อเรือนหลังคามุงจากออก พอถึงเดือนตุลาคมจึงได้มีการสร้างอาคาร 3 ชั้น คืออาคาร 2 ซึ่งปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว กับหอประชุมอีก 1 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงได้งบประมาณต่อเติมอาคาร 2 และอาคาร 3ซึ่งมี 2 ชั้น และหอประชุมจนเสร็จสมบูรณ์ หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา จึงเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายมังกร พรหมโยธี มาเปิดอาคารทั้ง 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2498

ในปี พ.ศ. 2498 นี้เองมีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนมัธยมพิเศษวัดสุทธิวราราม" เป็น " โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาถึงปัจจุบัน

จากนั้นในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์เปรื่อง สุเสวี ได้ให้กำเนิด "วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" ขึ้น และมีโอกาสได้แสดงต่อหน้าพระที่นั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องใน พิธีเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี พ.ศ. 2507 จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยและมีพระดำรัชกับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ทรงชมเชยว่า "แตรวงวัดสุทธิวรารามดีมาก" ซึ่งนายกอง วิสุทธารมณ์ อธิบดีกรมพลศึกษา ได้มีหนังสือราชการกรมพลศึกษาที่ ศธ.0501/4236 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 แสดงความชื่นชมยินดีในความสำเร็จและขอบคุณมายังอาจารย์ใหญ่

ในปี พ.ศ. 2503 - 2505 ได้ตัดชั้นมัธยมปีที่ 1, 2 และ 3 ออกปีละลำดับชั้น และในปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชั้นมัธยมปีที่ 4-6 เป็น"ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3" แลเปลี่ยนชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1-2 เรียกว่า "ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6"(ชั้นมัธยมปลายในปัจจุบัน)

ใน พ.ศ. 2511 ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างกำแพงหน้าโรงเรียนใหม่ โดยรื้อของเก่าทิ้งและสร้างหอประชุม ห้องอาหารขึ้นอีกหนึ่งตึก เป็นตึกชั้นเดียวไม่มีฝาผนังอยู่หลังตึก 1

ปลาย พ.ศ. 2512 ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างตึกอาคารเรียน 3 ชั้นยาวตามแนวขนานกับถนนเจริญกรุง บริเวณหน้าโรงเรียน ขึ้นอีกตึกหนึ่ง คืออาคารสุทธิ์รังสรรค์(ตึก 4) ในปัจจุบัน และย้ายเสาธงกลางสนามมาตั้งใหม่(หน้าอาคาร 7 ในปัจจุบัน) ส่วนบริเวณเสาธงเดิมได้สร้างสนามบาสเก็ตบอลแทนที่สนามเก่าที่ถูกทำลายลงในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา

ในสมัยของอาจารย์ พิทยา ไทยวุฒิพงศ์ อาจารย์ใหญ่ลำดับที่ 11 ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาศ 60 ปีแห่งการสถาปนาโรงเรียน หรืองาน "พัชรสมโภช" ขึ้น

สืบเนื่องจากผลสำเร็จของงานพัชรโภช ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2514 อาจารย์พิทยา ไทยวุฒิพงศ์ ได้ทำเรื่องของบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณ 2515 จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 6 ชั้น มีชื่อว่าอาคารปั้นรังสฤษฏ์ มีจำนวน 18 ห้องเรียน ปีงบประมาณ 2519 ได้รับงบประมาณ จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคาร 3 ชั้น ปัจจุบันคืออาคารวิจิตรวรศาสตร์ เป็นอาคารอเนกประสงค์ และเนื่องจากสมัยนั้นโรงเรียนประสบปัญหาเรื่องสถานที่เรียนของนักเรียนเป็นอย่างมาก ปีหนึ่งๆมีนักเรียนสมัครเรียนจำนวนมากจนมีห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องแบ่งนักเรียนเรียนเป็น 2 ผลัดซึ่งยากแก่การปกครองดูแล ในปีงบประมาณ 2520 ทางโรงเรียนจึงได้รับงบประมาณ จำนวน 6 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น เรียกว่าอาคารพัชรนาถบงกช มีจำนวน 18 ห้องเรียน เมื่อปีการศึกษา 2523 เนื่องจากมีสถานที่เรียนเพียงพอ จึงได้มีการเรียนการสอนเป็นผลัดเดียว

ในการสอบของนักเรียนในระดับชั้น ม.ศ.5 มีนักเรียนสอบได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 สามปีติดต่อกัน โรงเรียนจึงได้รบพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับพระราชทานเงิน 2,000 บาท ใน พ.ศ. 2519 ซึ่งอาจารย์เจิม สืบขจร ผู้บริหารโณงเรียนลำดับถัดมาเป็นผู้ไปรับพระราชทานรางวัล

ในสมัยของอาจารย์เจิม สืบขจร โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับแต่งตั้งให้เป็น "โรงเรียนมัธยมชั้นพิเศษ" ซึ่งผู้บริหารจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น "ผู้อำนายการ" ดังนั้นอาจารย์เจิม สืบขจร จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนสุดท้าย และเป็น ผู้อำนวยการคนแรก ส่วนทางด้านวิชาการของโรงเรียน นักเรียนระดับชั้น ม.6 สมารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เป็นอับดับ 1 ของประเทศถึง 3 ปี ในขณะที่วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นวงดุริยางค์โรงเรียนวงแรกของประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันรัดับนานาชติ ซึ่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 6 ประเภท จากการแข่งขนดุริยางค์อาเซียนครั้งที่ 4 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ในปีพ.ศ. 2533 รวมทั้งรางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดดนตรีโลก ครั้งที่ 9 ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2534

ในปีพ.ศ. 2530 โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็น "โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ในเขตกรุงเทพมหานคร" ประจำปีการศึกษา 2530 และ ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐาน 306 ล./27 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างแทนที่อาคาร 3 หลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 คืออาคารพัชรยศบุษกร

ปีการศึกษา 2532 พลเอกประเทียบ เทศวิศาล นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พร้อมด้วยอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน นายสุชาติ สุประกอบ คณะครู-อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองได้จัดทอดผ้าป่าสร้างอาคารธรรมสถานบริเวณทางเข้าโรงเรียน ประดิษฐานหลวงพ่อสุทธิมงคลชัย พระพุทธรูปประจำโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,600,000 บาทเศษ

ปีงบประมาณ 2533 ได้รับงบประมาณ 3,775,000 บาท สร้างแฟลตนักการภารโรง จำนวน 20 หน่วย 1หลัง ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้ต่อเติมห้องเรียนอีก5ห้องบริเวณชั้นล่างอาคารปั้นรังสฤษฏ์ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปีเดียวกัน เป็นปีครบรอบ 80 ปีวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม คณะศิษย์เก่า รุ่น 2500 ได้ร่วมกันจัดสร้างรูปปั้น ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพื่อให้ทุกคนได้สักการบูชา

ต่อมาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ได้นับคัดเลือกให้เป็น "สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2535" พร้อมกันนี้ วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามก็ได้รับรางวสัลชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2534 และรางวัลเหรียญทองจากการประกวดดนตรีโลกครั้งที่ 12 ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2536

ไฟล์:อาคารเรียนตึก 9 ปี 2554.JPG
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9

ปีการศึกษา 2535 ได้รับอนุมัติงบประมาณของปี 2536 จำนวน 9,000,000 บาท และปี 2537 ผูกพันงบประมาณอีก 50,400,000บาท จากกรมสามัญศึกษา ก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้รับพระบรมราชานุญาติ ให้ใช้ตรากาญจนาภิเษก ประจำอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตึก 9) เริ่มใช้เมื่อปีการศึกษา 2537

ในปีพ.ศ. 2541 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ได้รับเกียรติให้ร่วมแสดงในพืธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมครั้งที่ 13 ในการแสดงชุด สหพันธไมตรี (United Asia) และให้วงดุริยางค์ของโรงเรียนเป็นวงนำขบวนนักกีฬาอีกด้วย นอกจากนี้วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามก็ได้รับรางวัลชนะเลิศคะแนนสูงสุดประเภท Brass & Percussion Band จากการแข่งขัน "1999 World Championship for Marching Show Bands" ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

ในปีพ.ศ. 2544 โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับเชิญจากกระทรวงต่างประเทศให้นำนักเรียนระดบัมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 152 คน ร่วมเชิญธงในพิธีเปิดการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ครั้งที่ 10 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และในปีเดียวกันนั้นเอง นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราม ก็สามารถคว้าเหรียญทองเคมีโอลิมปิก เหรียญแรกของประเทศไทย


ปีการศึกษา 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิดนิศรรศการ "ศตวัชรบงกช 100 ปี วัดสุทธิวราราม" เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อหารายได้ก่อสร้างเพิ่มเติมหอประชุมชั้น 10 ณอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตึก 9)

หน่วยงานภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม (ส.สธ) มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมความสัมพันธ์ และสามัคคีระหว่างสมาชิก ครอบครัวของสมาชิกและนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา การดนตรี และกิจกรรมต่าง ๆ ของ นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ส่งเสริมเผยแพร่เกียรติคุณ และความเจริญของโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  • สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (ส.ป.ส.ธ.)
  • มูลนิธิรุจิรวงศ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ชมรมครูเก่าสุทธิวราราม
  • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จัดตั้งขึ้น ตามความในมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีรายนามประธานกรรมการสถานศึกษา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันดังต่อไปนี้
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ตันธนะเดชา
  2. ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
  3. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) - ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน
  • คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  • คณะกรรมการนักเรียน โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (ก.น.) ทำหน้าที่จัดและปฏิบัติกิจกรรมของโรงเรียนร่วมกับฝ่ายต่างๆ
  • ศูนย์บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาคารเรียน[แก้]

แผนผังโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

ปัจจุบันโรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีอาคารเรียนจำนวน 7 อาคาร ชื่อของอาคาร 6 หลังถูกตั้งชื่อให้ คล้องกัน ดังนี้ "สุทธิ์รังสรรค์ ปั้นรังสฤษดิ์ วิจิตรวรศาสน์ พัชรนาถบงกช พัชรยศบุษกร ขจรเกียรติวชิโรบล"

  1. อาคาร 4 สุทธิ์รังสรรค์
  2. อาคาร 5 ปั้นรังสฤษดิ์
  3. อาคาร 6 วิจิตรวรศาสน์
  4. อาคาร 7 พัชรนาถบงกช
  5. อาคาร 3 พัชรยศบุษกร เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างแทนที่อาคาร 3 หลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 ภายในประกอบด้วย
  • ห้องพักครูงานช่างอุตสาหกรรม
  • ห้องพักครูงานคหกรรม
  • ห้องพักครูดนตรี
  • ห้องเรียนเขียนแบบ
  • ห้องเรียนงานช่างไฟฟ้า
  • ห้องเรียนงานช่างไม้
  • ห้องเรียนงานช่างฝีมือ
  • ห้องเรียนคหกรรม
  • ห้องเรียนดนตรีไทย
  1. อาคาร 9 เฉลิมพระเกียรติ ร.๙
  1. อาคารทางเชื่อม ขจรเกียรติวชิโรบล
  • ห้องเรียนภาษาจีน
  • ห้องชุมนุมมายากล
  • ห้องพักนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน
  • ห้องโครงการแผนการเรียนศิลป์-ดนตรี
  • สมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม
  • มูลนิธิรุจิรวงศ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ราชกิจจา เล่มที่ 28 หน้า 896[แก้]

แจ้งความกระทรวงธรรมการ

พแนกกรมธรรมการ

ประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน

ด้วยพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ มรรคนายกวัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย แขวงกรุงเทพฯ ยื่นรายงานการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดสุทธิวรารามหลังหนึ่ง มีใจความว่า ปั้น มารดาพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้ถึงแก่กรรมมาตั้งแต่ศก ๑๒๗ บรรดาบุตร์ของปั้น คือ สมบุญ ภรรยาพระวิเชียรคีรี (ชม) ๑ เชื้อภรรยาพระอนันต์สมบัติ (เอม) ๑ พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ๑ เป้าภรรยาพระเพ็ชร์กำแหงสงคราม ๑ หลวงการุญนรากร ๑ ตาบภรรยาพระศรีสังข์กร ๑ ได้ปรารถถึงการที่จะบำเพญกุศลในการฌาปนกิจสนองคุณแห่ง ปั้น มารดาให้เปนสาธารณะประโยชน์ที่มั่นคงจึงได้ตกลงกันเห็นว่า สถานที่ศึกษาเปนสิ่งสำคัญอันเปนประโยชน์ให้กุลบุตร์ได้อาศรัยเล่าเรียน ซึ่งเป็นเวลาต้องการของบ้านเมืองด้วย แลเมื่อปั้นยังมีชีวิตอยู่ได้เปนมรรคนายิกา วัดสุทธิวราราม ตลอดมาจนถึงแก่กรรม จึ่งคิดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ เพื่อให้เปนเกียรติคุณแห่งปั้นมารดานั้น พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ผู้เปนหัวน่า ได้หารือต่อกรมศึกษาธิการ ๆ เห็นเปนการสมควร จึ่งได้ออกแบบตัวอย่างที่จะก่อสร้างให้เหมาะแก่ที่จะใช้เปนโรงเรียน พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ได้จัดการก่อสร้างตามที่กรมศึกษาธิการได้ให้แบบตัวอย่างนั้น เปนตึก ๒ ชั้น กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว ยาว ๑๓ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว สูงแต่พื้นชั้นล่างถึงเพดาน ๔ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ตัวไม้ใช้ไม้สักทั้งหมด หลังคามุงกระเบื้องสิเมนต์ สิ้นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท กับทำโรงอาหารอีกหลังหนึ่ง กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ยาว ๙ วา เสาใช้ไม้เต็งรัง เครื่องบนไม้สัก พื้นแลฝาใช้ไม้สิงคโปร์ หลังคามุงสังกะสี สิ้นงาน ๙๐๐ บาท แลเครื่องใช้สำหรับโรงเรียนก็ได้ทำแลซื้อให้บางอย่าง คือ ตู้ห้องสมุด ๑ ตู้ ตู้เก็บของ ๖ ตู้ โต๊ะสำหรับเขียนหนังสือ ๗ โต๊ะ กระดานดำ ๔ แผ่น ป้ายชื่อโรงเรียนหนึ่งแผ่น ถึงน้ำ ๑ ถัง รวมเงิน ๖๔๐ บาท รวมทั้งสิ้นเปนเงิน ๒๒,๕๐๔ บาท เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ใช้สถานที่นี้กระทำการฌาปนกิจศพปั้นแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้แล้ว แลได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่กรมศึกษาธิการใช้ที่สถานที่ศึกษาตามที่เจตนาไว้ กรมศึกษาธิการได้รับแลเปิดใช้เปนโรงเรียนมัธยม เรียกว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ เปนต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียน ขอพระราชทานถวานพระราชกุศล

กระทรวงธรรมการได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชกระแสมาว่า แต่ก่อนมาผู้ใดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาก็มักจะสร้างวัดขึ้น การสร้างวัดขึ้นใหม่เช่นนั้น โดยมากก็คงอยู่ได้ชั่วคราว คือ ชั่วอายุแลกำลังของบุคคลที่จะปกครองรักษา ถ้าขาดความทนุบำรุงเมื่อใดวัดที่สร้างขึ้นไว้ก็รกร้างว่างเปล่าเปนป่าพง อันเปนที่พึงสลดใจแห่งพุทธสาสนิกชน ใช้แต่เท่านั้น แม้วัดซึ่งยังเปนที่อาศรัยได้อยู่บ้าง แต่ขาดความปกครองอันดี ปล่อยให้ทรุดโทรมรถเรื้อเลวทราม ก็กลับจะเป็นซ่องที่อาศรัยแอบแฝงของผู้ประพฤติชั่ว สถานที่ซึ่งตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้กลับเปนทางชั่วร้าย มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักร์แลอาณาจักร์เลย

การที่พวกบุตร์ของปั้นมีน้ำใจศรัทธาบำเพญกุศลโดยวิธีสร้างโรงเรียนอันเปนสิ่งต้องการในสมัยนี้ขึ้น ให้เปนที่ศึกษาของประชาชน นับว่าเปนการแผ่ผลให้เปนสาธารณประโยชน์ต่อไปเช่นนี้ ทรงพระราชดำริห์เห็นมั่นในพระราชหฤทัยว่า จะมีผลดีทั้งฝ่ายพระพุทธจักร์แลอาณาจักร์ จะเปนผลานิสงษ์อันงามจริง เปนอันพอพระราชหฤทัย แลต้องด้วยพระราชนิยมยิ่งนัก จึงทรงสรรเสริญแลทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลอันนี้ แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชนิยมอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าผู้ใดมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา ประสงค์จะบำเพญกุศลให้เป็นผลานิสงษ์อันดีจริงแล้ว ก็ควรจะถือเอาการสร้างโรงเรียนว่าเปนการกุศลที่จะพึงกระทำวันหนึ่งได้ ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะทำการอันใดซึ่งเปนทางสร้างวัด ก็ควรที่จะช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้ว ให้ดีงามแลสืบอายุให้มั่นคงถาวรต่อไปดีกว่าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วไม่รักษา ปล่อยให้ทรุดโทรมเปนที่น่าสังเวช อันเปนทางที่จะชักพาให้คนมีใจหมิ่นประมาทในพระพุทธสาสนากอบไปด้วยโทษดังกล่าวแล้วนั้น
กระทรวงธรรมการจึงได้รับพระบรมราชโองการเชิญกระแสพระราชดำริห์แลพระราชนิยมนี้ออกประกาศให้มหาชนทราบทั่วกัน ๚
แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ สิงหาคม ๑๓๐ เล่ม ๒๘ หน้า ๘๙๖-๘๙๙

ราชกิจจา เล่มที่ 28 หน้า 737[แก้]

ด้วยตึกที่สร้างขึ้นที่วัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย ถนนเจริญกรุง สำหรับบำเพญกุศลในการศพท่านปั้น มรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามนั้น เมื่อเสร็จการฌาปนกิจแล้ว ผู้ออกทุนทรัพย์ก่อสร้างตึกหลังนี้ขอมอบให้กรมศึกษาธิการจัดเปนสถานศึกษาต่อไป กรมศึกษาธิการได้รับไว้แลจะเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๓๐ ชื่อว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม" จัดการสอนตั้งแต่ชั้นมูลประถมพิเศษตลอดจนมัธยมพิเศษ กระทรวงธรรมการได้ให้หลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์โรงเรียนราชบุณะเปนอาจารย์ใหญ่แลโรงเรียนนี้นับเข้าในประเภทโรงเรียนชั้นสูง ซึ่งกำหนดเวลาสอนในปีหนึ่งเปน ๓ เทอม คือ
เทอมต้นเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กันยายน รวมเวลาเรียน ๔ เดือน แล้วหยุด ๓ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๔ บาท พแนกประถมเก็บ ๘ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๒๕ บาท
เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๕ วัน แล้วหยุดวิก ๑ เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท
เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๔ วัน แล้วหยุด ๖ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท
ผู้ใดจะส่งบุตร์หลานเข้าเรียนโรงเรียนนี้ ขอให้ไปตกลงกับหลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์ใหญ่
แจ้งความมา ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๙ กรกฎาคม ๑๓๐ เล่ม ๒๘ หน้า ๗๓๗-๗๓๘

ผู้อุปการะโรงเรียนวัดสุทธิวราราม[แก้]

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ลำดับ รูป รายนาม ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระยาวิจิตรวรสาสน์
(พุ่ม อังศุกสิกร)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2447
2 ขุนชำนิขบวนสาสน์
(ถนอม นาควัชระ)
รักษาการอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2450
3 พระยาศึกษาสมบูรณ์
(หม่อมหลวงแหยม อินทรางกูร)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2452
ขุนชำนิขบวนสาสน์
(ถนอม นาควัชระ)
รักษาการอาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2452 พ.ศ. 2455
4 หลวงทรงวิทยาศาสตร์
(ทรง ประนิช)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2458
5 หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ
(สวัสดิ์ สุมิตร)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2465
6 หลวงดรุณกิจวิฑูร
(ชด เมนะโพธิ)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2468
7 หลวงจรัสการคุรุกรรม
(จรัส บุนนาค)
อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2468 พ.ศ. 2472
8 นายโชค สุคันธวณิช อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2472 พ.ศ. 2473
9 นายเปรื่อง สุเสวี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2473 พ.ศ. 2475
10 นายพิพัฒน์ บุญสร้างสม อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2476
11 นายพิทยา ไทยวุฒิพงศ์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2476
12 นายเจิม สืบขจร อาจารย์ใหญ่
ผู้อำนวยการ
พ.ศ. 2476 พ.ศ. 2477
13 นายเสนาะ จันทร์สุริยา ม.4 - ม.8 พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2478
14 นายสุชาติ สุประกอบ ม.4 - ม.6 พ.ศ. 2478 พ.ศ. 2479
15 นายมาโนช ปานโต ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2479 พ.ศ. 2481
16 นายศิริ สุงคาสิทธิ์ ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2485
17 นายธานี สมบูรณ์บูรณะ ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2489
18 นายสุรินทร์ ต่อเนื่อง ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2491
19 นายประมาญ บุญญพาพงศ์ ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2493
20 นายมนตรี แสนวิเศษ ม.1 - ม.6 พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2498
21 'นายคงวุฒิ ไพบูลย์ศิลป ม.1 - ตร.1 พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2505
22 นายสุนันท์วิทย์ พลอยขาว ม.3 - ต.2 พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2507

ประวัติแก้[แก้]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถูกสถาปนาขึ้นบนธรณีสงฆ์ของบริเวณที่เดิมเรียกว่าวัดลาว เนื่องจาก เดิมวัดลาวนี้เป็นวัดร้าง ในพ.ศ. 2424 ท่านผู้หญิงสุทธิ์ มารดาของท่านปั้น ภรรยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างวัดลาวขึ้นใหม่และหลังจากได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดสุทธิวราราม” ตามนามของท่านผู้หญิงสุทธิ์

ภายหลังวัดนี้ทรุดโทรมลง ท่านปั้นมีกตัญญูระลึกถึงคุณบิดา มารดา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างขึ้นบริบูรณ์ในพ.ศ. 2442 และได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม โดยท่านได้รับการแต่งตั้งพระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายกเป็นมรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ต่อมาเมื่อท่านปั้น อุปการโกษากร ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2451 ด้วยโรคฝีที่ข้อศอกข้างซ้าย[1] พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) บุตรชายดำรงตำแหน่งมรรคนายกวัดสุทธิวรารามต่อจากมารดา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2451[2] บรรดาบุตรธิดาของท่านปั้น ได้แก่[3]

นางปั้น อุปการโกษากร
พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย)
  1. คุณหญิงวิเชียรคีรี (สมบุญ วัชราภัย ณ สงขลา) ภริยาพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 8
  2. คุณหญิงสุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย (บุญรอด วัชราภัย จารุจินดา) ภริยา เจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) สมุหพระนครบาล อุปราชมณฑลพายัพ และองคมนตรี
  3. นางอนันตสมบัติ (เชื้อ วัชราภัย ณ สงขลา) ภริยาพระอนันตสมบัติ (เอม ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา มารดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานองคมนตรี และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) องคมนตรี
  4. พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) ต่อมาเป็น ต่อมาเป็น พระยาพิจารณาปฤชามาตย์มานวธรรมศาสตร์สุปฤชา (สุหร่าย วัชราภัย) องคมนตรี
  5. คุณหญิงเพชรกำแหงสงคราม (เป้า วัชราภัย ยุกตะนันท์) ภริยาพระยาเพชรกำแหงสงคราม (มะลิ ยุกตะนันท์) ผู้สำเร็จราชการเมืองชุมพร ลำดับที่ 12
  6. หลวงการุญนรากร (แดง วัชราภัย) ต่อมาเป็น พระกรณีศรีสำรวจ (แดง วัชราภัย)
  7. คุณหญิงศรีสังกร (ตาบ วัชราภัย จารุรัตน์) ภริยาพระศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ต่อมาเป็น พระยาศรีสังกร (ตาด จารุรัตน์) ประธานศาลฎีกา

มีประสงค์จะสร้างอนุสรณ์สถานเพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา โดยมีพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์เป็นหัวหน้า ตกลงกันว่าจะบำเพ็ญกุศลสนองคุณบุพการีในการฌาปนกิจศพท่านปั้นผู้เป็นมารดาซึ่ง ด้วยการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ "สถานศึกษา" จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนขึ้นในบริเวณที่ธรณีสงฆ์วัดสุทธิวราราม

พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้เป็นผู้นำในการปรึกษาเรื่องดังกล่าวกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ซึ่งได้ให้ความร่วมมือในการออกแบบก่อสร้างอาคารตามแบบที่เหมาะสม และได้เป็นผู้อุปการะโรงเรียนต่อมาอีกด้วย[4] โรงเรียนดังกล่าวซึ่งกรมศึกษาธิการรับไว้เรียกชื่อว่า "'โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม"' เริ่มเปิดทำการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นวันแรก และมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[5] ดังนี้

ด้วยตึกที่สร้างขึ้นที่วัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย ถนนเจริญกรุง สำหรับบำเพญกุศลในการศพท่านปั้น มรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามนั้น เมื่อเสร็จการฌาปนกิจแล้ว ผู้ออกทุนทรัพย์ก่อสร้างตึกหลังนี้ขอมอบให้กรมศึกษาธิการจัดเปนสถานศึกษาต่อไป กรมศึกษาธิการได้รับไว้แลจะเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมพิเศษ ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๓๐ ชื่อว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม" จัดการสอนตั้งแต่ชั้นมูลประถมพิเศษตลอดจนมัธยมพิเศษ กระทรวงธรรมการได้ให้หลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์โรงเรียนราชบุณะเปนอาจารย์ใหญ่แลโรงเรียนนี้นับเข้าในประเภทโรงเรียนชั้นสูง ซึ่งกำหนดเวลาสอนในปีหนึ่งเปน ๓ เทอม คือ

เทอมต้นเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๕ กันยายน รวมเวลาเรียน ๔ เดือน แล้วหยุด ๓ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๔ บาท พแนกประถมเก็บ ๘ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๒๕ บาท
เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๕ วัน แล้วหยุดวิก ๑ เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท
เทอมกลางเปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม รวมเวลาเรียน ๒ เดือนกับ ๒๔ วัน แล้วหยุด ๖ วิก เงินค่าเล่าเรียนสำหรับเทอมนี้ พแนกมูลเก็บ ๓ บาท พแนกประถมเก็บ ๖ บาท พแนกมัธยมเก็บ ๑๘ บาท
ผู้ใดจะส่งบุตร์หลานเข้าเรียนโรงเรียนนี้ ขอให้ไปตกลงกับหลวงวิจิตร์วรสาสน์ อาจารย์ใหญ่

แจ้งความมา ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

พิธีเปิดโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามอย่างเป็นทางการจัดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิด หลวงวิจิตรวรสาสน์ อาจารย์ใหญ่ ถวายรายงาน เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ชักเชือกเปิดผ้าคลุมป้ายนามโรงเรียน[6] เริ่มทำการเรียนการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จากนั้นพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ทำหนังสือรายงานเรื่องดังกล่าวไปถวาย พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[7] ในจดหมายนั้นมีใจความสำคัญตอนท้ายว่า

โรงเรียนนี้กรมศึกษาธิการได้รับไว้ และเปิดใช้เปนโรงเรียนชั้นมัธยมเรียกว่าโรงเรียนพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม ร.ศ.130 เป็นต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียนของพระราชทานถวายพระราชกุศล ถ้ามีโอกาสอันควรขอฝ่าพระบาทได้โปรดนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า วิสุทธสุริยศักดิ์
ไฟล์:รูปภาพ31.jpg
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชมเชยการสร้างโรงเรียนวัดสุทธิวราราม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความกราบบังคมทูลแล้ว จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบกลับมายังราชเลขานุการในวันเดียวกัน พระราชกระแสในพระราชหัตถเลขา[8]มีความว่า

อนุโมทนา และมีความมั่นใจอยู่ว่า การที่บุตรของปั้นได้พร้อมใจกันบำเพ็ญกุศลเช่นนี้ คงจะมีผลานิสงษ์ดียิ่งกว่าที่สร้างวัดขึ้นได้สำหรับให้เปนที่อาไศยแอบแฝงแห่งเหล่าอลัชชี ซึ่งเอาผ้ากาสาวพัตร์ปกปิดกายไว้เพื่อให้พ้นความอดเท่านั้น มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักรและอาณาจักรเลย การสร้างโรงเรียนขึ้นให้เป็นที่ศึกษาแห่งคนไทยเช่นนี้ เชื่อว่ามีผลดีทั้งในฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร เพราะฉะนั้นจึ่งควรสรรเสริญและอนุโมทนามาในส่วนกุศล


อนึ่งถ้ามีโอกาสขอให้พระยาวิสุทธช่วยชี้แจงต่อๆไปว่า ถ้าผู้ใดมีน้ำใจศรัทธาและมีความประสงค์ขะทำบุญให้ได้ผลานิสงษ์อันงามจริง ทั้งเปนที่พอพระราชหฤทัยพระเจ้าแผ่นดินด้วยแล้ว ก็ขอให้สร้างโรงเรียนขึ้นเถิด การที่จะสร้างวัดขึ้นใหม่ไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ถ้าแม้ว่ามีความประสงค์จะทำการอันใดซึ่งเป็นทางสร้างวัด ขอชักชวนให้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้วให้ดีงามต่อไป ดีกว่าที่สร้างวัดขึ้นใหม่แล้วไม่รักษา ทิ้งให้โทรมเป็นพงรกร้าง ฤๅร้ายกว่านั้นคือกลายเปนที่ซ่องโจรผู้ปล้นพระสาสนาดังมีตัวอย่างอยู่แล้วหลายแห่ง ผู้ที่สร้างวัดไว้ให้เปนซ่องคนขะโมยเพศเช่นนี้ เราเชื่อแน่ว่าไม่ได้รับส่วนกุศลอันใดเลย น่าจะตกนรกเสียอีก ข้อนี้ผู้ที่สร้างวัดจะไม่ใคร่ได้คิดไปให้ตลอด จึงควรอธิบายให้เข้าใจเสียบ้าง

เมื่อพระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ได้รับพระราชหัตถเลขาตอบกลับมาจากราชเลขานุการและถวายร่างประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จากจดหมายราชการกระทรวงธรรมการเลขที่ 283/3530 โดยมีพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตอบกลับมาว่า “ดีแล้ว ออกได้” จึงได้ประสานและนำเรื่องแจ้งความต่อหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ตีพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2454[9] มีความดังนี้


แจ้งความกระทรวงธรรมการ

พแนกกรมธรรมการ

ประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน

ด้วยพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ มรรคนายกวัดสุทธิวราราม ตำบลบ้านทวาย แขวงกรุงเทพฯ ยื่นรายงานการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดสุทธิวรารามหลังหนึ่ง มีใจความว่า ปั้น มารดาพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้ถึงแก่กรรมมาตั้งแต่ศก ๑๒๗ บรรดาบุตร์ของปั้น คือ สมบุญ ภรรยาพระวิเชียรคีรี (ชม) ๑ เชื้อภรรยาพระอนันต์สมบัติ (เอม) ๑ พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ๑ เป้าภรรยาพระเพ็ชร์กำแหงสงคราม ๑ หลวงการุญนรากร ๑ ตาบภรรยาพระศรีสังข์กร ๑ ได้ปรารถถึงการที่จะบำเพญกุศลในการฌาปนกิจสนองคุณแห่ง ปั้น มารดาให้เปนสาธารณะประโยชน์ที่มั่นคงจึงได้ตกลงกันเห็นว่า สถานที่ศึกษาเปนสิ่งสำคัญอันเปนประโยชน์ให้กุลบุตร์ได้อาศรัยเล่าเรียน ซึ่งเป็นเวลาต้องการของบ้านเมืองด้วย แลเมื่อปั้นยังมีชีวิตอยู่ได้เปนมรรคนายิกา วัดสุทธิวราราม ตลอดมาจนถึงแก่กรรม จึ่งคิดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดนี้ เพื่อให้เปนเกียรติคุณแห่งปั้นมารดานั้น พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ผู้เปนหัวน่า ได้หารือต่อกรมศึกษาธิการ ๆ เห็นเปนการสมควร จึ่งได้ออกแบบตัวอย่างที่จะก่อสร้างให้เหมาะแก่ที่จะใช้เปนโรงเรียน พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ได้จัดการก่อสร้างตามที่กรมศึกษาธิการได้ให้แบบตัวอย่างนั้น เปนตึก ๒ ชั้น กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว ยาว ๑๓ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว สูงแต่พื้นชั้นล่างถึงเพดาน ๔ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ตัวไม้ใช้ไม้สักทั้งหมด หลังคามุงกระเบื้องสิเมนต์ สิ้นเงิน ๒๑,๐๐๐ บาท กับทำโรงอาหารอีกหลังหนึ่ง กว้าง ๕ วา ๓ ศอก ยาว ๙ วา เสาใช้ไม้เต็งรัง เครื่องบนไม้สัก พื้นแลฝาใช้ไม้สิงคโปร์ หลังคามุงสังกะสี สิ้นงาน ๙๐๐ บาท แลเครื่องใช้สำหรับโรงเรียนก็ได้ทำแลซื้อให้บางอย่าง คือ ตู้ห้องสมุด ๑ ตู้ ตู้เก็บของ ๖ ตู้ โต๊ะสำหรับเขียนหนังสือ ๗ โต๊ะ กระดานดำ ๔ แผ่น ป้ายชื่อโรงเรียนหนึ่งแผ่น ถึงน้ำ ๑ ถัง รวมเงิน ๖๔๐ บาท รวมทั้งสิ้นเปนเงิน ๒๒,๕๐๔ บาท เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ใช้สถานที่นี้กระทำการฌาปนกิจศพปั้นแต่เมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้แล้ว แลได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่กรมศึกษาธิการใช้ที่สถานที่ศึกษาตามที่เจตนาไว้ กรมศึกษาธิการได้รับแลเปิดใช้เปนโรงเรียนมัธยม เรียกว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม รับนักเรียนเข้าเล่าเรียนตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ เปนต้นไป บรรดาผู้ที่ออกทรัพย์ก่อสร้างโรงเรียน ขอพระราชทานถวานพระราชกุศล

กระทรวงธรรมการได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชกระแสมาว่า แต่ก่อนมาผู้ใดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาก็มักจะสร้างวัดขึ้น การสร้างวัดขึ้นใหม่เช่นนั้น โดยมากก็คงอยู่ได้ชั่วคราว คือ ชั่วอายุแลกำลังของบุคคลที่จะปกครองรักษา ถ้าขาดความทนุบำรุงเมื่อใดวัดที่สร้างขึ้นไว้ก็รกร้างว่างเปล่าเปนป่าพง อันเปนที่พึงสลดใจแห่งพุทธสาสนิกชน ใช้แต่เท่านั้น แม้วัดซึ่งยังเปนที่อาศรัยได้อยู่บ้าง แต่ขาดความปกครองอันดี ปล่อยให้ทรุดโทรมรถเรื้อเลวทราม ก็กลับจะเป็นซ่องที่อาศรัยแอบแฝงของผู้ประพฤติชั่ว สถานที่ซึ่งตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้กลับเปนทางชั่วร้าย มิได้นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพุทธจักร์แลอาณาจักร์เลย

การที่พวกบุตร์ของปั้นมีน้ำใจศรัทธาบำเพญกุศลโดยวิธีสร้างโรงเรียนอันเปนสิ่งต้องการในสมัยนี้ขึ้น ให้เปนที่ศึกษาของประชาชน นับว่าเปนการแผ่ผลให้เปนสาธารณประโยชน์ต่อไปเช่นนี้ ทรงพระราชดำริห์เห็นมั่นในพระราชหฤทัยว่า จะมีผลดีทั้งฝ่ายพระพุทธจักร์แลอาณาจักร์ จะเปนผลานิสงษ์อันงามจริง เปนอันพอพระราชหฤทัย แลต้องด้วยพระราชนิยมยิ่งนัก จึงทรงสรรเสริญแลทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลอันนี้ แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชนิยมอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่า ถ้าผู้ใดมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา ประสงค์จะบำเพญกุศลให้เป็นผลานิสงษ์อันดีจริงแล้ว ก็ควรจะถือเอาการสร้างโรงเรียนว่าเปนการกุศลที่จะพึงกระทำวันหนึ่งได้ ถ้าหากมีความประสงค์ที่จะทำการอันใดซึ่งเปนทางสร้างวัด ก็ควรที่จะช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่แล้ว ให้ดีงามแลสืบอายุให้มั่นคงถาวรต่อไปดีกว่าที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วไม่รักษา ปล่อยให้ทรุดโทรมเปนที่น่าสังเวช อันเปนทางที่จะชักพาให้คนมีใจหมิ่นประมาทในพระพุทธสาสนากอบไปด้วยโทษดังกล่าวแล้วนั้น
กระทรวงธรรมการจึงได้รับพระบรมราชโองการเชิญกระแสพระราชดำริห์แลพระราชนิยมนี้ออกประกาศให้มหาชนทราบทั่วกัน ๚

แจ้งความมา ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐


จากหลักฐานที่พบจึงสามารถระบุได้ว่า "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนแห่งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการใช้เป็นโรงเรียน ซึ่งต้องด้วยพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียนแทนวัด"

การแต่งของของนักเรียนในสมัยแรกนั้น คือ สวมเสื้อนอกราชปะแตนชั้นนอกขาวคอปิด ติดกระดุมทองเหลือง 5 เม็ด รองเท้าสีดำถุงเท้ายาวสีขาว สวมหมวกฟางกลมแบนนสีขาวมีปีกและผ้าพันหมวกสีน้ำเงินอ่อน มีแถบสีเหลือง ด้านหน้าของหมวกมีตัวอักษรย่อ ส.ท. ทำด้วยทองเหลือง

ในปีวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จมาตรวจโรงเรียน มีหลวงอนุพันธ์ฯ เจ้าพนักงานจัดการแขวงตะวันออกใต้เป็นผู้นำเสด็จ

เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี ทางรัฐบาลจึงส่งทหารเข้ายึดพื้นที่ที่ดินของบริษัทวินด์เซอร์โรซซึ่งชาวเยอรมันเช่าที่วัดสุทธิวรารามอยู่ โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามจึงได้ขยายพื้นที่โรงเรียนออกไป โดย ขุนสิทธิ์ดรุณเวชย์ ครูฝ่ายปกครอง ได้ขอที่ดินดังกล่าวจากเจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม เพื่อสร้างโรงเรียนชั้นประถม จึงรื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางตะวันตก เป็นแผนกประถมของโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม เมื่อแล้วเสร็จ กระทรวงธรรมการเห็นควรให้เปิดโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแผนก จึงได้เปิดเป็น โรงเรียนสตรีวัดสุทธิวราราม อยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม มีรั้วกั้นอาณาเขตแต่มีประตูเดิมเชื่อมถึงกันได้ โดยนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามเดินเข้าออกโรงเรียนทางถนนเข้าสะพานปลา

ในสมัยที่ขุนชำนิขบวนสาสน์เป็นผู้บริหารโรงเรียน จัดการเปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 ชั้น รวมทั้งสิ้น 12 ห้อง คือ ชั้นประถมสามัญ 1-3 มัธยมสามัญตอนต้น ม.1-3 และมัธยมสามัญตอนกลาง ม.4-6 ไม่มีมัธยมสามัญตอนปลายคือ ม.7-8 นักเรียนที่ประสงค์จะเรียนต่อในระดับชั้นดังกล่าว จะต้องไปศึกษาที่อื่น ซึ่งในขณะนั้นเปิดรับสมัครอยู่ 2 แห่ง คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนเทพศิรินทร์

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เวลา 04.00 น. เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตลาดบ้านทวาย[10] แล้วลุกลามมาถึงโรงเรียนชั้นประถมและบริเวณห้องสมุด กระทรวงธรรมการจีงได้สร้างตึกหลังใหม่ให้ต่อต่อกับตึกหลังเดิม โดยยื่นไปทางทิศใต้เป็นรูปตัวแอล ไม่ปรากฏว่าชั้นประถมมีการเปิดดการเรียนการสอนต่อหรือไม่

ต่อมาในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 สมัยที่ขุนชำนิขบวนสาสน์ดังรงตำแหน่งรักษาการอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งที่ 2 กระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้นใหม่ที่ตรอกยายกะตา โดยใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสตรีบ้านทวาย และอพยพนักเรียนสตรีไป (ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมการให้แยกโรงเรียนสตรีบ้านทวายออกเป็น 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนสตรีบ้ายทวาย สังกัดกรมสามัญศึกษา ปัจจุบันคือ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย และโรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้ สังกัดกรมอาชีวศึกษา ปัจจุบันคือ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
และในปีการศึกษา 2474 และ 2475 นี้ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ได้เปิดทำการสอนชั้นมัธยมปีที่ 7 และ 8 ตามลำดับ ทำให้การเรียนการสอนในระดับมัธยมสามัญครอบคลุมทั้งตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ครบ 8 ชั้น ใน พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่งผลกระทบตอ่การดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยในระยะแรกที่หลวงทรงวิทยาศาสตร์ (ทรง ประนิช) เข้ามาเป็นผู้บริหารลำดับที่ 4 ของโรงเรียน ระหว่างพ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2476 ยังไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ต่อมาในสมัย หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) เข้ามาเป็นผู้บริหารลำดับที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2480 โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม จึงได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2479 โรงเรียนได้ถูกใช้เป็นศูนย์สาธิตอาวุธชนิดใหม่ให้นักเรียนและประชาชนได้ชม มีการจัดแสดงรถถัง ปตอ. แบบ 76 ติดตั้งบนรถสายพานปืนใหญ่ ขนาด 75 ม.ม. และรถเกราะขนาดจิ๋วซึ่งติดตั้งปืนกลหนักในบริเวณสนามฟุตบอลของโรงเรียน มีการสาธิตการยิงปืนใหญ่ด้วยกระสุนซอมรบ โดยมีความมุ่งหมายให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในกองทัพและปลุกใจความรักชาติ และในสมัยนั้น มีการจัดตั้งกรมยุวชนทหาร มี พันเอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นเจ้ากรม โดยรัฐบาลกำหนดให้เยาวชนที่มีอายุเข้าเกณฑ์สมัครเป็นยุวชนทหาร นักเรียนระดับอาชีวศึกษาและนักเรียนเตรียมฯ เป็นยุวชนนายสิบ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป็นยุวชนนายทหาร ซึ่งโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามถูกกำหนดให้เป็นศูนย์ฝึกยุวชนทหารของกองทัพบก โดยส่งครูมาฝึกให้กับนักเรียนชั้น ม.4 ในเวลาหลังเลิกเรียน ทั้งฝึกในสนามและสอนในห้องเรียน การแต่งการของนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายจึงเปลี่ยนแปลงไป คือ นุ่งกางเกงขาสั้น กับเสื้อเชิ๊ตแขนสั้นหรือยาวสีกากีแกมเขียว พร้อมด้วยผ้าพันหมวกสีแดง ตามแบบของนักเรียนที่เป็นยุวชนทหาร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2480 ได้เกิดพายุใหญ่พัดต้นก้ามปูล้มทับเรือนไม้สีเทา พังจนใช้การไม่ได้ ต่อมากระทรวงธรรมการจึงได้สร้างต่อเติมอาคารบริเวณเรือนไม้ สีเทา แต่เดิมต่อจากอาคารรูปตัวแอลที่ได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2470

ปลายปีการศึกษา 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวรารามก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดเป็นค่ายพักอาศัยชั่วคราว โรงเรียนจึงต้องปิดทำการสอน ไม่มีการจัดสอบไล่ กระทรวงธรรมการจึงใช้ผลการเรียนและเวลาเข้าเรียนเป็นการตัดสินสอบได้-ตก

ในปีต่อมา สงครามทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดทำลายบริษัทบอร์เนียว ทำให้อาคารโรงเรียนด้านตะวันตก ส่วนที่เป็นห้องเก็บเครื่องมือวิทยาศาสตร์ถูกทำลายไปด้วย รัศมีการทำลายของระเบิดกินเนื้อที่ไปถึงอู่กรุงเทพ เมื่อโรงเรียนไหม้หมดแล้ว หินอ่อนแผ่นสูงจารึกพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียนก็ได้อันตรธานหายไปในครั้งนั้น[11][12] หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ภัยสงครามได้ทำให้โรงเรียนอยู่ในสภาพย่อยยับ ยากต่อการบูรณะซ่อมแซม ทางราชการมีนโยบายว่าจะยุบเลิกโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม คณะครูอาจารย์และราษฎรจึงต้องร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ จนทางการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังทำหนังสือขอขยายบริเวณพื้นที่โรงเรียนออกไปถึงเขตอู่กรุงเทพและจรดแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากขาดงบประมาณ ในระยะแรกนักเรียนต้องอาศัยศาลาเชื้อ ณ สงขลา ศาลาการเปรียญในวัดสุทธิวรารามเป็นที่เรียนชั่วคราว จนต่อมากระทรวงธรรมการจึงได้สร้างเรือนไม้ 2 ชั้น หลังคามุงจาก ฝาลำแพน (ปัจจุบันคือที่ตั้งอาคารเฉลิมพระเกียรติร. 9) เป็นที่เรียนชั่วคราว
ในสมัยนั้น ด้านความสัมพันธ์กับโรงเรียนอื่นๆ โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามมีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลกับโรงเรียนอื่นๆ โดยโรงเรียนที่เป็นคู่แข่งทางการกีฬาฟุตบอลกับโรงเรียนคือโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ซึ่งผลัดกับชิงตำแหน่งชนะเลิศของบอลรุ่นเล็ก จนถึงกับมีบทเพลงลำตัดสำหรับกองเชียร์ได้ร้องเวลาเชียร์ฟุตบอล

พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสร้างอาคาร 2 ชั้น คืออาคาร 1 ซึ่งรื้อถอนออกแล้ว ออกแบบโดยหลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม) จึงได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491

ต่อมาเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2495 ได้รื้อเรือนหลังคามุงจากออก พอถึงเดือนตุลาคมจึงได้มีการสร้างอาคาร 3 ชั้น คืออาคาร 2 ซึ่งปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว กับหอประชุมอีก 1 หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 จึงได้งบประมาณต่อเติมอาคาร 2 และอาคาร 3 ซึ่งมี 2 ชั้น และหอประชุมจนเสร็จสมบูรณ์ หลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา จึงเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายมังกร พรหมโยธี มาเปิดอาคารทั้ง 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2498
ในปี พ.ศ. 2498 มีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม" เป็น "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม"

ในปี พ.ศ. 2503 - 2505 ได้ตัดชั้นมัธยมปีที่ 1, 2 และ 3 ออกปีละลำดับชั้น และในปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชั้นมัธยมปีที่ 4-6 เป็น"ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3" แลเปลี่ยนชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1-2 เรียกว่า "ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6"(ชั้นมัธยมปลายในปัจจุบัน)

ใน วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2511 คณะครูนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้มีโอกาสเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จพระราชดำเนินมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดสุทธิวราราม ซึ่งเป็นการถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดซึ่งไม่ใช่พระอารามหลวงครั้งแรก ในปีเดียวกันนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างกำแพงหน้าโรงเรียนใหม่ พร้อมด้วยอาคารหอประชุม เป็นตึกชั้นเดียวไม่มีฝาผนัง ตั้งอยู่หลังอาคาร 1

ปลาย พ.ศ. 2512 ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ให้งบประมาณสร้างตึกอาคารเรียน 3 ชั้นยาวตามแนวขนานกับถนนเจริญกรุง บริเวณหน้าโรงเรียน ขึ้นอีกตึกหนึ่ง คืออาคารสุทธิ์รังสรรค์(ตึก 4) ในปัจจุบัน และย้ายเสาธงกลางสนามมาตั้งใหม่(หน้าอาคาร 7 ในปัจจุบัน) ส่วนบริเวณเสาธงเดิมได้สร้างสนามบาสเก็ตบอลแทนที่สนามเก่าที่ถูกทำลายลงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในสมัยนี้ โรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศ และมีการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาโรงเรียน หรืองาน "พัชรสมโภช" ในวันที่ 3-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 มีการจัดนิทรรศการวิชาการ 3 วัน เปิดให้เข้าชมงานตั้งแต่ 09.00 - 1.00 โดยในวันแรกมีการทำบุญเลี้ยงพระตอนเช้า และจัดฟลอร์ลีลาศในตอนกลางคืน วันที่สองมีการแสดงวงโยธาธิตออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มีนายแสวง บุตรน้ำเพ็ชร เป็นผู้ควบคุมวง

สืบเนื่องจากความสำเร็จของงานพัชรสมโภช ในปีงบประมาณ 2515 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณ จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 6 ชั้น ภายหลังตั้งชื่อว่า อาคารปั้นรังสฤษฏ์ มีจำนวน 18 ห้องเรียน ในการสอบของนักเรียนระดับชั้น ม.ศ.5 มีนักเรียนสอบได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 85 สามปีติดต่อกัน โรงเรียนจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินรางวัล มีนายเจิม สืบขจร ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้ไปรับพระราชทานรางวัล เมื่อ พ.ศ. 2519 ปีงบประมาณ 2519 ได้รับงบประมาณ จำนวน 4 ล้านบาทเศษ สร้างอาคาร 3 ชั้น ปัจจุบันคืออาคารวิจิตรวรศาสตร์ เป็นอาคารอเนกประสงค์ และเนื่องจากสมัยนั้นโรงเรียนประสบปัญหาเรื่องสถานที่เรียนของนักเรียนเป็นอย่างมาก ปีหนึ่งๆมีนักเรียนสมัครเรียนจำนวนมากจนมีห้องเรียนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องแบ่งนักเรียนเรียนเป็น 2 ผลัดซึ่งยากแก่การปกครองดูแล ในปีงบประมาณ 2520 ทางโรงเรียนจึงได้รับงบประมาณ จำนวน 6 ล้านบาทเศษ สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น เรียกว่าอาคารพัชรนาถบงกช มีจำนวน 18 ห้องเรียน เมื่อปีการศึกษา 2523 เนื่องจากมีสถานที่เรียนเพียงพอ จึงได้มีการเรียนการสอนเป็นผลัดเดียว
ด้านวิชาการและกิจกรรม นักเรียนชั้น ม.6 ของโรงเรียนวัดสุทธิวรารามสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศถึง 3 ปีซ้อน วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติเป็นโรงเรียนแรกของประเทศ และได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 6 ประเภทจากการแข่งขันดุริยางค์อาเซียนครั้งที่ 4 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ใน พ.ศ. 2523 และได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดดนตรีโลก ครั้งที่ 9 ณ ประเทศเนเธอรืแลนด์ ในพ.ศ. 2554 ในส่วนของกิจการลูกเสือ ผู้อำนวยการเจิม สืบขจรได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือของกรมสามัญศึกษา และโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้ถูกใช้เป็นค่ายลูกเสือชั่วคราวในการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2526

ไฟล์:อาคารเรียนตึก 9 ปี 2554.JPG
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9

ในปี พ.ศ. 2526 มีการจัดตั้งวงดนตรีไทยของโรงเรียนอย่างเป็นทางการ และมีการปรับเปลี่ยนการแสดงของวงดุริยางค์จากการสวนสนามเป็นคอนเสิร์ตเครื่องลม และในปี พ.ศ. 2529 มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัดสุทธิวราราม พ.ศ. 2530 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ได้รับเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็น "โรงเรียนมัธยมศึกาดีเด่น ในเขตกรุงเทพมหานคร" ประจำปีการศึกษา 2530 และโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐาน 306 ล./27 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างแทนที่อาคาร 3 หลังเก่า แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2531 คืออาคารพัชรยศบุษกร ในปีเดียวกันนี้ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ ได้เสด็จทอดพระเนตร "คอนเสิร์ตเครื่องลมเฉลิมพระเกียรติ" ครั้งที่ 5 ที่วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามจัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 30 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ สีลม

ปีการศึกษา 2532 พลเอกประเทียบ เทศวิศาล นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พร้อมด้วยอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน นายสุชาติ สุประกอบ คณะครู-อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองได้จัดทอดผ้าป่าสร้างอาคารธรรมสถานบริเวณทางเข้าโรงเรียน ประดิษฐานหลวงพ่อสุทธิมงคลชัย พระพุทธรูปประจำโรงเรียนวัดสุทธิวราราม โดย พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดธรรมสถาน

ปีงบประมาณ 2533 ได้รับงบประมาณ 3,775,000 บาท สร้างแฟลตนักการภารโรง จำนวน 20 หน่วย 1หลัง ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้ต่อเติมห้องเรียนอีก5ห้องบริเวณชั้นล่างอาคารปั้นรังสฤษฏ์ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปีเดียวกัน เป็นปีครบรอบ 80 ปีวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม คณะศิษย์เก่า รุ่น 2500 ได้ร่วมกันจัดสร้างรูปปั้น ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพื่อให้ทุกคนได้สักการบูชา

ในปีการศึกษา 2535 โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับคัดเลือกให้เป็น "สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำปีการศึกษา 2535" และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้จัดงาน "เดิน-วิ่งการกุศลเฉลิมพระเกียรติ" โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ เสด็จเป็นองค์ประธาน ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ

วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดวงโยธาวาธิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชิงถ้วายพระราชทาน ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2534 และรางวัลเหรียญทองจาการประกวดดนตรีโลกครั้งที่ 12 ณ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2536

โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้รับอนุมติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 9 ชั้น ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ในการนี้ได้ทรงเยื่ยมชมพิพิธภัณฑ์โรงเรียน ทรงพระสุหร่ายคฑาครุฑ และทอดพระเนตรนิทรรศการวิชาการพร้อมทั้งพระราชทานเข็มพระนามาภิไทยย่อ ส.ธ. ให้กับโรงเรียน และในปีพ.ศ. 2537 อาคารเรียนดังกล่าวสร้างแล้วเสร็จ เปิดใช้งานในต้นปีการศึกษา 2537

ในปี พ.ศ. 2539 มีการตั้งชื่ออาคารเรียนนี้อย่างเป็นทางการว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ตึก 9) ได้รับพระบรมราชานุญาติ ให้ใช้ตรากาญจนาภิเษกประดับอาคาร เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

ใน พ.ศ. 2541 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันครูประจำปี พ.ศ. 2541 ของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการแปรอักษรบนอัฒจันทร์ ณ สนามศุกภชลาศัย และในปลายปี โรงเรียนได้รับเกียรติจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเข้าภาพ ให้จัดส่งนักเรียนจำนวน 1,600 คน ไปแสดงชุดสหพันธไมตรี (United Asia) ในพิธีเปิดการแข่งขัน และวงโยธวาทิตโรงเรียนวัดสุทธิวรารามก็ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดประเภท Brass & Percussion Band จากการแข่งขัน "1999 World Championship for Marching Show Bands" ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2542 ใน วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ เสด็จมาทรงเปิด "ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550" ณ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ในการนี้ทรงทอดพระเนตรการแสดงผลงานวิชาการของโรงเรียนและการสาธิตการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

ปีการศึกษา 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเปิดนิศรรศการ "ศตวัชรบงกช 100 ปี วัดสุทธิวราราม" เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทั้งนี้เพื่อหารายได้ก่อสร้างเพิ่มเติมหอประชุมชั้น 10 ณอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9(ตึก 9)

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25, แจ้งความกระทรวงธรรมการ [เรื่อง ปั้นมรรคนายิกาวัดสุทธิวรารามป่วยถึงแก่กรรม] หน้า 116
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 25, พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก [พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์เป็นมรรคนายกวัดสุทธิวราราม] หน้า 585
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 28, แจ้งความกระทรวงธรรมการ [ประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน] หน้า 896
  4. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 49 เรื่องจดหมายเหตุของมองซิเออร์เซเบเรต์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในกรุงสยาม ครั้งแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช (ตอนที่ 3ต่อจากประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์โท พระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย วัชราภัย) เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2471
  5. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 9 กรกฎาคม 130 เล่ม 28 หน้า 737-738
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 100ปี
  7. สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มร. 6ศ/5, ทูลเกล้าถวายร่างประกาศพระราชนิยมเรื่องบำเพ็ญกุศลในวิธีสร้างโรงเรียน
  8. สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ มร. 6ศ/5, เรื่องโรงเรียนวัดสุทธิวรารามแลประกาศพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียน, หน้า 10-11
  9. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 สิงหาคม 130 เล่ม 28 หน้า 896-899
  10. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 1 มกราคม 2470 เล่ม 44 หน้า 3190]
  11. ประวัติโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
  12. ประวัติโรงเรียน - วัชรสมโภช 80 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราม