ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Khommathat/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

การที่รัฐบาลมอบอำนาจให้แก่การปกครองส่วนท้องถิ่นในการตัดสินใจและบริหารงานเองแต่ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้กำกับดูแลความคืบหน้าและความเป็นระบบของการทำงาน โดยการบริหารงานท้องถิ่นต้องจัดตั้งเป็น องค์กรและมเีจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยการปกครองท้องถิ่นมี 4 รูปแบบดังนี้

  1. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต)

มีองค์กรบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นโครงสร้างในการบริหาร โดยมี นายอำเภอเป็นผ้ดูแล

  1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

มีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นโครงสร้างในการบริหาร โดยมี ผ้วู่าราชการ จังหวัดเป็นผู้ดูแล

  1. เทศบาล

มีสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแล

  1. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

มีฐานะเป็นทบวงการเมืองและนิติบคุคล[1]

การปกครองท้องถิ่นจีน[แก้]

ประเทศจีนได้แบ่งรัฐการบริหารออกเป็น 3 ระดับหญ่ๆ คือ (๑) ระดับมณฑล ซึ่งมี ๒๓ มณฑล อาณาเขตการปกครอง ตนเอง ๕ เขต เทศบาลมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง อีก ๒ เทศบาล (๒) ระดับอำเภอหรือเทียบเท่าซึ้งมีอยู่ประมาณ ๒,๓00 หนว่ย ทั่วทั้งประเทศ และระดับประชาคมหรือเทียบเท่า (โรงงานมีฐานะเทียบเท่าประชาคม) ประชาคมยัง แบ่งย่อยลงไปอีกคือ ออกเป็นกองการผลิตใหญ่และองค์กรของรัฐ ในระดับต่างๆถัดจากระดับชาติลงไป มีโครงสร้าง เหมือนกันคือ มีสภาประชาชน(people's Congress) ที่ได้รับเลือกตั้งจากสภาประชาชนในระดับต่ำกว่า แต่ถ้าเป็นระดับต่ำสุดก็ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหน่วยนั้นๆ โดยให้สภาประชาชนในระดับมณฑลมีกำหนดวาระละ ๕ ปี สภาใน ระดับอำเภอเหรือเทียบเท่ามีกำหนดวาระละ ๓ ปี ส่วนสภาที่ต่ำกว่านี้กำหนดวาระละ ๒ ปี[2]

โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นจีน[แก้]

หน่วยการปกครองท้องถิ่นของสาธารณะรัฐประชาชนจีนให้แบ่งเป็นดังนี้

  • ทั้งประเทศให้แบ่งเป็นมณฑล,เขตการปกครอง และ นครขึ้นตรง
  • มณฑล หรือเขตปกครองตนเอง ให้แบ่งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง,อำเภอ,อำเภอปกครองตนเอง และ นคร
  • อำเภอ หรือ อำเภอปกครองตนเอง ให้แบ่งเป็นตำบล ตำบลชนชาติ และสุขาภิบาล

นครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง และนครที่มีขนาดใหญ่ให้แบ่งพื้นที่การปกครองเป็นเขต และอำเภอ จังหวัดปกครองตนเอง ให้แบ่งพื้นที่การปกครองเป็นอำเภอ อำเภอปกครองตนเอง และนคร กรณีของนครขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางการแบ่งพื้นที่การ ปกครองให้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือเป็นเขต และอำเภอ เป็นชั้นที่ ๒ และเจตหรืออำเภอแบ่งย่อยเป็นตำบลและสุขาภิบาล เป็น ชั้นที่ ๓ เขตปกครองตนเอง จังหวัดปกครองตนเอง อำเภอปกครองตนเอง ล้วนเป็นองค์กร ท้องถิ่นปกครองตนเองของชน ชาติส่วนน้อย

(1.) การปกครองชั้นมณฑล ตามสภาพปัจจุบันมีการจัดแบ่งพื้นที่ของประเทศออกเป็น ๒๓ มณฑล หรือเซิ่ง ๕ เขตปกครองตนเอง ๔ นครขึ้นตรง และ ๒ เขตปกครองพิเศษ รวมเป็นเขตการปกครองในชั้นมณฑลหรือซึ่งเท่ากับ ๓๔ หนว่ย มณฑล ๒๓ หน่วยได้แบ่งดังนี้ 1.เฮยหลุงเจียง 2.จี้ลิน 3.เหลียวหนิง 4. เฮ๋อเป่ย 5.เฮ๋อหนาน 6.ซ่านซี 7.ซันซี 8. อันฮุย 9.เจียงซี 10.ฝูเจียง 11.เจียงซู 12.เจ๋อเจียง 13.หเูป่ย 14.หูหนาน 15.ก่วงตง 16.ไฮ่หนาน 17.ซื่อชวน 18.กุ้ยโจว 19.หยุนหนาน 20.กันสู 21.ชิงไฮ่ 22.กันสู 23.ไถวันหรือไต้หวัน

(2.) การปกครองชั้นจังหวัด เป็นการปกครองท้องถิ่นชั้นที่ 2 คือชั้นจังหวัดหรือตีจี้ เป็นชั้นการปกครองท้องถิ่นที่มีความสำคัญในการควบคุมการใช้ อำนาจรัฐไม่น้อย ในด้านหนึ่งการปกครองชั้นจังหวัดสามารถกำหนดทิศทางการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ พื้นที่ในอีกด้านหนึ้งยังสามารถข้าร่วมในโครงการและการบริหารเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่

(3.) การปกครองชั้นอำเภอ เป็นหน่วยการปกครองชั้นอำเภอหรือเซี่ยนในประเทศจีนเกิดขึ้นและคงอยู่มานานกว่า ๒000 ปี ในสมัยโบราณอาจ กล่าวได้ว่าอำเภอเป็นโครงสร้างการปกครองในชั้นต่ำสุด ในทางปฏิบัติถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก มีอำเภอ หน่วยการ ปกครองในชั้นอำเภอได้แก่ รัฐบาล อำเภอ รัฐบาลนครที่มีฐานะเทียบเท่าอำเภอ และรัฐบาลเขตที่เป็นหน่วยย่อยของนครที่ มีฐานะเทียบเท่าจังหวัด รัฐบาลอำเภอปกครองตนเองของชนชาติได้แก่ รัฐบาล "ฉี" รัฐบาลเขตพิเศษ รัฐบาลเขตป่าไม้

(4.) การปกครองชั้นตำบล องค์กรปกครองท้องถิ่นในชั้นเซียงหรือตำบลถือเป็นชั้นล่างสุดของประเทศจีน มีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำงานเกี่ยวกับ มวลชน การปกครองตำบลและสุขาภิบาลครอบคลุมถึง ตำบล สุขาภิบาล ตำบล คนพื้นเมือง ซู้มู มาจากภาษามงโกล เป็นคำที่ บอกสถานะความเป็นหนว่ยการปกครองท้องถิ่นระหว่าง ฉี กับหมู่บ้าน สำนักงานในเขตการปกครองระดับนี้แม้จะไม่มี ฐานะเป็นชั้นขององค์กรการปกครองอย่างเป็นทางการ แต่มีหน้าที่ที่ต้องแบกรับภาระหน้าที่การบริการไม่น้อย [3]

หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกสภาผู้แทนท้องถิ่น[แก้]

ได้แก่การรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารในท้องถิ่น รักษากฏหมาย คำสั้งจากระดับเหนือมาปฏิบัติ ตระเตรียมการและ บริหารงานตามโครงสร้างเศรษฐกิจ วัฒธนธรรม พัฒนางานด้านสาธารณของท้องถิ่น อนุมัติตั้งงบประมาณและ รับ-ส่ง รายงานรักษาสาธารณสมบัติ รักษาความสงบเรียบร้อย พิทักษ์สิทธิของประชาชนโดยเท่าเทียม โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย (National Minorities) นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายอำนาจจากหน่วยงานบังคับบัญชาให้ออกคำสั้ง กฏเกณฑ์ต่างๆที่ สอดคล้องกับกฏหมายที่มีอยู่แล้วให้เป็นไปโดยเรียบร้อย มีสิทธิและอำนาจยกเลิก หรือทบทวนการตัดสินของสภาที่ ปรึกษาประชาชนในระดับเดียวกัน[4]

แนวโน้มการปกครองท้องถิ่นของจีน[แก้]

ระบบเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบันของจีนได้ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจกับการเกษตรมาเป็นเศรษฐกิจกับการอตุสาหกรรม และการบริการเป็นหลักแทน เศรษฐกิจของประเทศจีนได้พัฒนาไปถึงขั้นกลางและขั้นท้ายของการพัฒนาอตุสาหกรรมแล้ว รัฐบาลจึงต้องเปลี่ยนจาก การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก มาสู่การบริการสาธารณะเป็นหลัก แต่การพัฒนาความเป็นเมือง ของประเทศจีนเพิ่งเริ่มต้นเกินจากร้อยละ 50 ของประชากร ยังคงมีประชากรมากว่า 1 ใน 3 ของประเทศประกอบอาชีพใน ภาคเกษตร โครงสร้างสังคมและการพัฒนาความเป็นเมืองคงยังคงอยรู่ะหว่างการพัฒนาส้คูวามเป็นสมัยใหม่ ความไม่สมดลุของสภาวะต่างๆ คือรัฐบาลยังคงต้องแบกรับภาระอันหนักหน่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วง ๑0-๒0 ปีที่ผ่านมารัฐบาลท้องถิ่นของจีนบริหารงานในรูปแบบระบบการควบคุมและการบริการควบคู่กัน ด้านหนึ่งเพื่อ ดูแลระบบตลาดไม่ให้ขาดสภาพคล่อง โดยอาศัยกฏหมาย ระเบียบกฏเกณฑ์ และคำสั่งต่างๆในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลได้ ทุ่มเทไปในด้านการบริการมากขึ้น และทิศทางการบริการในรูปแบบดังกล่าวพอจะคาดหวังได้ว่าท้องถิ่นจีนจะมีการ ปฏิรูปให้ดีขึ้น[5]



ปัญหาสำคัญที่ยังดำรงอยู่ในการปกครอง[แก้]

ปัญหาการปกครองถิ่นของจีนมีจำนวนมาก อาทิเช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ประชาชน บางส่วนเลือกที่จะเชื่อถือข่าวลมีมากกวา่คำแถลงจากรัฐบาล รัฐบาลบาลเข้าแทรกแซงธุรกิจขนาดเล็กมากเกินไป ระบบ ตลาดถูกทำลายยิ่งกวา่นี้รัฐบาลใช้อำนาจบังคับรื้อถอนบ้านเรือนของชาวบ้าน ทำให้เกิดความขัดแย้งระหวา่งประชาชน กับข้าราชการ รัฐบาลท้องถิ่นจำนวนเวลากำหนดนโยบายไม่คำนึงถึงความมีเหตผุลและประสิทธิผลของนโยบาย เช่น การที่รัฐบาลนครปักกิ่งได้แก้ปัญหาการว้าจ้างแท๊กซี่ยากโดยการให้แท๊กซี่ขึ้นค่าโดยสารซึ่งนั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาการแย่งชิงตา แหน่งราชการ จาก ๙,000 คน ต่อราชการ ๑ ตำแหน่ง เนื่องจากแต่ละวงการอาชีพถือวา่ราชการเป็น ใหญ่ เจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วนไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริการ ปัญหาหลัก 3 ข้อที่ต้องการการแก้ไขอยา่งเร่ง รีบ

1. ปัญหาการบริหารให้เป็นไปตามกฏหมาย 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลขาดกฏเกณฑ์ทางกฏหมาย 1.2 ปรากฏการณ์ของการใช้อำนาจโดยมิชอบโดดเด่ดมาก 1.3 การจัดแบ่งอำนาจระหวา่งรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นไม่เป็นเหตเุป็นผลเพียงพอ 1.4 กลไกลการตรวจสอบของรัฐบาลยังไม่สมบรูณ์แบบ 1.5 เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนหนึ่งและมลชนยังไม่มีแนวความคิดกับกฏหมายและอำนาจที่เป็นสมัยใหม่

2.ปัญหาการปรับเปลี่ยนบทบาท ระบบบริหารดั้งเดิมของรัฐบาลจีนคือ ถือการควบคุมเป็นหลัก เป็นการปกครองประชาชนจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง อาศัยการบริหารโดยออกคำสั่งใช้อำนาจบังคับในการจัดทำภารกิจ ระบบบริหารทั้งหมดขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นหลักประเทศ จีนขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ตกอยู่มาก 2.1 การปฏิรูปการปกครองยิ่งนานวันยิ่งทำ ได้ยาก 2.2 เจ้าที่ภาครัฐคาดความกระตือรือร้นตอ่การปรับปรุงการบริหาร 2.3 รัฐบาลแทรกแซงระบบตลาดมากเกินไป 2.4 กระบวนการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นไมเ่ปิดกว้าง

3.ปัญหาความโปร่งใส ปัญหาความทจุริตในภาคของราชการปกครองสว่นท้องถิ่นเป็นปัญหาใหญ่ของจีนมาตั้งแต่อดีต ในอดีตการเปลี่ยนราชวงค์หลายครั้งมีส่วนการเกี่ยวพันกับการทจุริตแล้วความยตุธิรรมของข้าราชการและการไม่ดูแลความทุกข์สุกของประชาชน ในปัจจุบันปัญหานี้ก็ยังคงไม่ลดลงไป ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในตัวรัฐบาล ความเสื่อมโทรมเหล่านี้ปรากฏ ออกมาในลักษณะเหล่านี้

3.1 มีเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่งที่ขาดความศรัทธาในระบอบสังคมนิยมของจีน 3.2 พรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบบาลรวมกันเป็นหนึ่งทำให้การทจุริตเพิ่มมากขนึ้ 3.3 ความทุจริตของข้าราชการมีหลายรูปแบบ 3.4 เศรษฐกิจระบบตลาดในจีนยังไม่เข้มแข็งพอ 3.5 การจัดให้มีมาตราการต่อต้านการทุจริตไม่สำเร็จผล [6]

  1. MFUNEWS,"ความหมายของการปกครอง ท้องถิ่น",http://oopspolitics.blogspot.com/2008/12/blog-post_04.html
  2. ธีระวิทย์,การเมือง และ การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน,สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต,๒๕๑๙,(หน้า๑๔๒)
  3. รศ. ดร.นิยม รัฐอมกฤต,การปกครองท้องถิ่นจีน,บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง จากัด,(หน้า๖๒)
  4. ผ้ชู่วยซาสตราจารย์ วิเชษฐ์ เทพเฉลิม,การเมืองในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน,(หน้า ๕๕)
  5. รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมกฤต,เอกสารประกอบการสัมมนาการเมืองการปกครองไทย 2558,(23/4/2560)
  6. รองศาสตราจารย์.ดร.นิยม รัฐอมกฤต,การปกครองท้องถิ่นจีน,บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง จำกัด,(หน้า253)