ผู้ใช้:Kallayarat/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

pws.npru.ac.th/chanokchone/data/files/การคลังท้องถิ่น.pdf[1][2]การคลังท้องถิ่น (Local Finance)

ความหมายของการคลังท้องถิ่น[แก้]

[3] การคลังท้องถิ่นได้มีการให้ความหมายของคำนี้โดยอาจารย์หลายท่าน ในที่นี้จะขอกล่าวในบางส่วน เอนก เธียรถาวร (2535)ได้ให้ความหมายไว้ว่าการคลังท้องถิ่นจะประกอบไปด้วยรายได้ขรายจ่าย วิธีการงบประมาณและการควบคุมงบประมาณ-รายจ่าย วิธีการงบประมาณและการคบคุมงบประมาI ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร (2525) ได้ให้ความหมายการคลังท้องถิ่นว่า การบริหารงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นการพิจารณาถึงการจัดหารายได้ การกำหนดรายจ่าย การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อวัสดุ การว่าจ้างการบัญชี และการสำรวจบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ท่านอื่นอีกที่ได้ให้ความหมายไว้ ซึ่งพอสรุปความหมายของการคลังท้องถิ่น ได้ดังนี้ การคลังท้องถิ่น คือ การดำเนินงานทางการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงการจัดทำงบประมาณ การแสวงหารายได้ การบริหารรายได้-รายจ่าย การก่อหนี้และการบริหารหนี้ อันเกิดจากกิจกรรมของรัฐบาลท้องถิ่น ตลอดจนการดำเนินงานคลังต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นและประเทศ

ความสำคัญของบริหารเงินคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นเพราะเป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เหตุผลหลักที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักที่ควรได้รับการเอาใจใส่ในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำหน้าที่และความพร้อม ความเข้มแข็งของการทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะคือการที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความได้เปรียบจากความใกล้ชิดและรับรู้ปัญหาของประชาชนได้ดี ความเข้มแข็งในการจัดการทางการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเงินการคลังทางการเงินการคลังในระยะยาว ที่มุ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำหน้าที่ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าแก่ประชาชน ไม่มีการรั่วไหลของทรัพยากรและงบประมาณ รวมทั้งการป้องกันการประพฤติมิชอบในการจัดการ หากการทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดการรั่วไหลของทรัพยากรของท้องถิ่นไปกับการจัดการที่สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ประชาชนหรือทำให้นักการเมืองท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำหน้าที่ขององค์กร ดังนั้น ความจำเป็นที่ต้องมีการบริหารจัดการการเงินการคลังที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นกรอบในการทำหน้าที่และกำกับทิศทางการใช้จ่ายหรือหารายได้ของตนเองและเนื่องจากความได้เปรียบของการจัดการการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเหนือกว่าการจัดการของหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความใกล้ชิดและสามารถรับรู้ความต้องการ ( Preferences ) ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทำให้การตัดสินใจการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องนำเสนอความต้องการของประชาชนในพื้นที่มาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจให้บริการสาธารณะของตนเองอยู่เสมอเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มความรับผิดชอบต่อประชาชนของตนเองยิ่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

แนวคิดเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น[แก้]

การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองที่เกิดจากการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปยังการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้และดำเนินกิจการต่างๆ ในการปกครองท้องถิ่นด้วยตัวเอง เพื่อที่จะตอบสนองการการไขปัญหาของประชาชนได้อย่างตรงจุด Willam A. Robson ให้ความหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น ว่า เป็นการปกครองประเทศส่วนหนึ่งซึ่งได้รับอำนาจอย่างอิสระในการปฎิบัติตามสมควร ซึ่งจะต้องไม่มากจนมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ได้มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง การปกครองครองท้องถิ่นมีสิธิตามกฎหมาย มีองค์กรที่จำเป็นปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปกครองท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีเขตปกครองแน่นอน
  2. มีอิสระในการบริหารและกำหนดนโยบายได้
  3. มีการเลือกตั้งและมีการรับคณะบุคคลจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือบางส่วน เพื่อเข้ามาบริหารและทำหน้าที่ปกครองท้องถิ่น
  4. มีงบประมาณเป็ยของตนเอง มีอำนาจการจัดเก็บภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคืออะไร ?[แก้]

จากกการศึกษาของ Dennis Rondinelli (1999) ได้กล่าวถึงความหมายการกระจายอำนาจไว้ว่า เป็นการโอนหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริการสาธารณะ จากรัฐบาลกลางสู่หน่วยงานส่วนย่อยที่เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชน กล่าวอีกนัยหนึ่ง "การกระจายอำนาจ" หมายถึงภาวะที่ทำให้หน่วยงานหรือชุมชนระดับล่างสุดมีอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการดำเนินกิจกรรมของตนเองได้อย่างกว้างขวาง การกระจายอำนาจเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับ "การรวมอำนาจ" (Centralization) ซึ่งเป็นภาวะที่หน่วยงานระดับสูงสุดเป็นผู้กำหนดแนวทางและวิธีการดำเนินกิจกรรมต่างๆในทุกเรื่อง ทั้งนี้การกระจายอำนาจ มีความแตกต่างกันออกไปได้หลายมิติตามสภาวะที่ใช้อธิบาย เช่น การกระจายอำนาจในองค์กรทั่วไป หมายถึงการให้หน่วยปฏิบัติงานระดับล่างมีอำนาจในการตัดสินใจในเชิงนโยบายและการจัดการในหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง เป็นต้น หรือหากใช้วิธีจำแนกรูปแบบของการกระจายอำนาจตามลักษณะของอำนาจหรือรูปแบบหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว สามารถจำแนกรูปแบบของการกระจายอำนาจ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้อีหลายประเภท อาทิ กระกระจายอำนาจทางการเมือง การกระจายอำนาจทางการบริหาร การกระจายอำนาจทางการคลัง เป็นต้น ทั้งสามรูปแบบนี้มีความแตกต่างกันและสามรถผสมผสานกันได้ทั้งระหว่างประเทศ ในประเทศ หรือแม้แต่ในหน่วยงานเดียวกัน อย่างไรก็ตามพยายามกำหนดนิยามของการกระจายอำนาจที่ถูกต้องเที่ยงตรงเท่านั้นได้มีความสำคัญมากไปกว่าการสามารถเข้าใจแนวทางการกระจายอำนาจรูปแบบต่างๆได้อย่างถูกต้อง

การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคืออะไร ?[แก้]

การกระจายอำนาจแท้จริงเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในหลายๆมาตรการของการกระจายอำนาจ คือการโอนอำนาจ กระจายหน้าที่ความรับผิดชอบในหน้าที่เพื่อสาธารณะจากรัฐบาลกลางสู่หน่วยงานส่วนย่อยหัวใจของการกระจายอำนาจทางการคลังคือ ความรับผิดชอบทางการคลัง หากหน่วยงานส่วนกลางสามารถกระจายอำนาจไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามามีรายได้ที่จะนำมาเป็นงบประมาณท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นจนเพียงพอต่อบริการสาธารณะทั้งนี้การกระจายอำนาจทางการคลังสามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้ ก.การเพิ่มรายได้ด้วยตัวเอง (Self-financing) หรือการครอบคลุมรายจ่ายผ่านการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้ ข.การร่วมมือทางการคลังหรือการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้บริการและสาธารณูปโภคผ่านการสนับสนุนทางการเงินหรือการอุทิศแรงงาน (Labor Contribution) ค.การขยายตัวของรายรับท้องถิ่นผ่านภาษีทรัพย์สินและภาษีการค้า หรือเก็บค่าธรรมเนียมทางอ้อม ง.การถ่ายโอนรายรับปกติซึ่งเก็บภาษีโดยรัฐบาลมาให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการใช้จ่ายปกติและการใช้จ่ายในกรณีปกติและการใช้จ่ายในกรณีพิเศษหรือกรณีเฉพาะ จ.การอนุญาตเกี่ยวกับการกู้ยืมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายๆประเทศ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถควบคุมกฎหมายให้เก็บภาษีเองได้แต่ฐานของภาษียังคงไม่แข็งแรงยังคงต้องมีการพึ่งพิงสนับสนุนจากส่วนกลาง

ความสำคัญของการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

การกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการคลังสาธารณะ ได้มีวิวัฒนาการเป็นเวลานานแล้วสำหรับประเทศพัฒนา แนวคิด หลักเกณฑ์ ตลอดจนการปฏิบัติและการพัฒนาเป็นองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง แต่กรณีของประเทศกำลังพัฒนาได้มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัตถุประสงค์ขององค์กรในเรื่องของการกระจายอำนาจในภาพรวม และเงื่อนไขของผลลัพธ์ที่ต้องการจากการกระจายอำนาจการคลัง ไม่เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วแม้ว่าบทบาทของภาครัฐที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาไม่แตกต่างจาประเทศพัฒนาแล้วมากนัก แต่บทบาทขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศกำลังพัฒนามักจะถูกครอบงำ หรืออยู่ใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง การเงิน การคลัง จากรัฐบาลในระดับที่สุงกว่า จึงทำให้ดูเหมือนกับว่าองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศกำลังพัฒนาไม่มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจและไม่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศมากมายนัก แม้ในประเทศที่กำลังพัฒนาบางอย่างอาจให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการคลังเป็นอย่างมากและเพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจการคลังสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจประวัติศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งมีพื้นฐานต่างกันทั้งในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

ผลดีที่เกิดจากการกระจายอำนาจทางการคลังที่แท้จริง[แก้]

           การกระจายอำนาจทางการคลังที่แท้จริงและผลสำเร็จที่เป็นตัวอย่างจากการที่มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพนั้นได้ทั้งที่เป็นความสำเร็จในระดับมหภาคและในระดับการจัดการในพื้นที่ของท้องถิ่น และได้ว่าความสำเร็จอยู่ในระดับใดก็ตามสามารถก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติได้ทั้งสิ้น ซึ่งสามารถสรุปผลดีใน้านต่างๆได้ดังต่อไปนี้
           ก.การกระจายรายได้ (Income Redistribution) ปกติการกระจายรายได้มักจะถูกมมองว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลกลางมากกว่าที่จะเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยเหตุที่ว่ารัฐบาลสามารถระดมทรัพยากรไปสู่เศรษฐกิจที่มีปัญหาความยากจนหรือล้าหลังในการพัฒนา 
           ข.การจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) หน้าที่การจัดการทรัพยากรนั้นถือได้ว่าเป็นบทยาทสำคัญที่ส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจทางการคลัง เพราะการให้บริการสาธารณะโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่ามีความใกล้ชิดกับความต้องการของประชาชนที่มีความแตกต่างกัน เป็นผลให้สวัสดิการของประชาชนจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติอย่างหนึ่งของสิสนค้าสาธารณะ คือ ไม่สามารถใช้กลไกราคาปกติในการตัดสินใจผลิตและบริโภคได้ ดังนั้นการตัดสินใจให้บริการสาธารณะจึงต้องหันมาใช้วิธีการตัดสินใจร่วมกัน (Collective Decision) หรือการออกเสียง (Voting) นั่นเอง ในสภาวะนี้ยิ่งทำให้การกระจายอำนาจสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น จากากรตัดสินใจร่วมกันเพื่อให้บริการสาธารณะของท้องถิ่นมีความใกล้ชิด ทั้งนี้หากมีการกระจายอำนาจการคลังมากขึ้นแล้ว ย่อมก่อให้เกิดการแข่งขันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการ อันเป็นการส่งเสริมให้มีนวัตกรรมใหม่ของการให้บริการสาธารณะ
           นอกเหนือจากความมีประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรอันเป็นผลจากการกระจายอำนาจทางการคลังแล้ว การกระจายอำนาจการคลังยังช่วยให้ประชาชนมีโอกาสเลือกรับบริการสาธารณะตามความพอใจของแต่ละบุคคลได้มากขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกถิ่นที่อยู่ที่มีการให้บริการสาธารณะ ตามความพอใจของแต่ละบุคคลมากขึ้น 
          ค.การมีส่วนร่วมของประชาชน (Local People Participation) เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าหากมีการกระจายอำนาจทางการคลังเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ประชาชนหันมาสนใจการทำงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น และสร้างความรับผิดชอบมากขึ้น มีการศึกษาที่ยืนยันว่าการเลือกตั้ง และการปฏิสัมพันธ์ของการเลือกตั้งกับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มสูงขั้นจากการส่งเสริมการกระจายอำนาจการคลัง 

เครื่องมือมาตรการในการกระจายอำนาจทางการคลังแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

เครื่องมือหรือมาตรการทางการคลังมีรัฐบาลนำมาใช้ในการสนสนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลังสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นมี 3 มาตรการหลัก คือ ภาษีและการหารายได้ งบประมาณรายจ่าย และเงินกู้ ก.ด้านภาษีและการหารายได้ รัฐบาลสามารถกำหนดภาระหน้าที่ให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการให้อำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น (Local Taxes) บางประเภทเป็นภาระหน้าที่ของท้องถิ่นเอง หรืออาจทำให้ท้องถิ่นมีรายได้จากภาษีประเภทร่วมกับรัฐบาลระดับชาติ ข.ด้านงบประมาณรายจ่าย รัฐบาลสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่นโดยรัฐบาลสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของท้องถิ่นโดยการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายกิจกรรมหรือเงินอุดหนุนทั่วไปตามกรณี โดยตามหลักการแล้ว องค์กรปกครองท้องถิ่นมีศักยภาพทางการเงินการคลังต่ำ ควรจะได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนในสัดส่วนที่สุงกว่า ทั้งนี้เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล่ำทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคและชุมชน ค.ด้านเงินกู้ รัฐบาลจะอนุญาตให้ท้องถิ่นกู้เงินมาใช้ในโครงการลงทุนหรือใช้ดำเนินกิจกรรมหลักของตนเองได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังสามรถสนับสนุนการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยการเป็นผู้ค้ำประกันให้ท้องถิ่น หรือจัดหาเงินกู้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกู้เงินได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

กระบวนการงบประมาณคลังท้องถิ่น[แก้]

[4] การบวนการงบประมาณท้องถิ่น มี 3 กระบวนการ ได้แก่

  1. การจัดเตรียมงบประมาณ (Preparation) เจ้าหน้าที่ประจำองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่เสนอคำของบประมาณต่อผู้ที่มีอำนาจส่วนกลาง ตามแผนงานและโครงการของท้องถิ่น
  2. การอนุมัติงบประมาณ (Adoption) ฝ่ายบริหารท้องถิ่นเสนองบประมาณท้องถิ่นต่อสภาแล้ว สภาท้องถิ่นมีหน้าที่พิจารณาอนุมัติงบประมาณแก่ท้องถิ่น คล้ายหน้าที่ของรัฐสภาของประเทศในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
  3. การบริหารงบประมาณ (Execution) ฝ่ายบริหารท้องถิ่น มีหน้าที่ในการบริหารจัดเก็บรายได้ตามการและบริหาร การบบริหารจัดเก็บรายได้ตามประมาณการและบริหารหรือควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งติดตามรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ

วิธีการทำงบประมาณของหน่วยการปกครองท้องถิ่น[แก้]

  1. หัวหน้าหน่วยงาน ประมาณรายรับ-รายจ่ายเสนอต่อหัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. เจ้าหน้าที่งบประมาณ พิจารณา ตรวจ วิเคราะห์ ข้อมูลแล้วนำเสนอหัวหน้าหน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. หัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่างงบประมาณเสนอต่อสภาจังหวัด สภาเทศบาล สภาเมืองพัทยา สภากรุงเทพมหานคร สภาตำบล สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ภายในวันที่ 15 สิงหาคม ยกเว้น กรุงเทพมหานคร ต้องเสนอต่อสภาก่อน กรุงเทพมหานครก่อนเริ่มปีงบประมาณอย่างน้อย 60 วัน ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบให้ส่งขื่อนายอำเภอเพื่อลงชื่ออนุมัติ แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการไม่เห็นชอบร่างข้อบังคับงบประมาณก็ตกไป
  4. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณที่ได้ผ่านการพิจารณาแต่ละสภาแล้ว ให้ประกาศใช้ได้และสำเนาให้กระทรวงมหาดไทยได้ทราบ

การบริหารการจัดเก็บรายได้ขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

การกำหนดรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญหลายประการ เช่น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ฐานะทางการคลังกับรัฐบาล ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่สำคัญคือ ปัจจัยทางด้านการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันท้องถิ่นแต่ละรูปแบบมีรายได้ประเภทคล้ายคลึงกัน มีเพียงองค์การบริการส่วนตำบลเท่านั้น ที่มีรายได้มากกว่าการปกคอรงท้องถิ่นรูปแบบอื่น โดยจะนำเสนอรายละเอียดดังนี้

รายได้ของเทศบาล[แก้]

รายได้ของเทศบาล มีดังต่อไปนี้

  1. ภาษีอากรแต่จะมีตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  2. ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  3. รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
  4. รายได้จากสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
  5. พันธ์บัตรหรือเงินกู ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
  6. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ
  7. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  8. เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
  9. รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้

พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ. 2497 มาตรา4-8 มาตรา 10 13 และมาตรา15 กำหนดรายได้ของเทศบาล ดังนี้

  1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  2. ภาษีบำรุงท้องที่
  3. ภาษีป้าย
  4. อากรการฆ่าสัตว์
  5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  7. ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
  8. ภาษีบำรุงเทศบาลจากอากรข้าวและภาษีการซื้อโภคภัณฑ์จากน้ำมันเบนซิน
  9. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
  10. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน
  11. ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม และค่าปรับ
  12. เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินของไทย

รายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

รายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

  1. ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
  2. ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
  3. รายได้จากทรัพย์สินส่วนจังหวัด
  4. รายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ของจังหวัด
  5. พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
  6. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ
  7. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  8. เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
  9. รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน เป็นต้น

รายได้ของเมืองพัทยา[แก้]

รายได้ของเมืองพัทยา มีรายได้ดังต่อไปนี้

  1. ภาษีบำรุงท้องที่
  2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  3. ภาษีป้าย
  4. อากรการฆ่าสัตว์
  5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  7. ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
  8. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
  9. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน
  10. ภาษีบำรุงเมืองพัทยาจากน้ำมันเบนซิน
  11. นอกจากรายได้ตาม 1-10 เมืองพัทยาอาจมีรายรับ ดังนี้
  • รายได้จากทรัพย์สินของเมืองพัทยา
  • รายได้จากสาธารณูปโภคของเมืองพัทยา
  • รายได้จากพาณิชย์ของเมืองพัทยา
  • รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร
  • เงินกู้
  • เงินอุดหนุน
  • เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
  • เงินช่วยเหลือและค่าตอบแทน
  • เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
  • รายได้ของทรัพย์สินของแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการ เพื่อมุ่งแสวงหากำไรเมืองพัทยาตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของเมืองพัทยา

รายได้ของกรุงเทพมหานคร[แก้]

สรุปได้ดังนี้

  1. ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และอากรการฆ่าสัตว์
  2. ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
  3. ภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครจากน้ำมันเบนชินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซล และน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลี่ยม
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  5. ค่าธรรมเนียมอนุญาตในการขายสุรา
  6. ค่าธรรมเนียมอนุญาตในการเล่นการพนัน
  7. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  8. นอกจากรายได้ตาม1-7 กรุงเทพมหานครมีรายได้ ดังต่อไปนี้
  • รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
  • รายได้จากสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
  • รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นจากสหการ
  • ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
  • ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
  • ค่าบริการ
  • รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร
  • เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ
  • เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น และเงินสบทบจากรัฐบาล
  • เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
  • เงินหรืทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
  • เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
  • รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อแสวงหากำไรใน กรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
  • รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษ ตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
  • รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร

รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล[แก้]

มีรายได้ดังนี้

  1. ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และอากรการฆ่าสัตว์
  2. ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
  3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  4. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา
  5. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน
  6. ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ และค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลี่ยม
  7. เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
  8. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  9. องค์การบริหารส่วนตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
  • รายได้จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
  • รายได้จากสาธารณูปโภคขององค์การบริหารส่วนตำบล
  • รายได้จากกิจการเกี่ยวกับพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
  • ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
  • เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้
  • รายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้
  • เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
                  รายได้ตามที่จะมีกฎหมายกำหนดให้เป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล นอกเหนือจากรายได้ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว กฎหมายยังกำหนดให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนตำบล มีรายได้จากภาษี ภาษีสรรพสามิต ภาษีการพนัน
  1. รศ.ดร. สกนธ์ วรัญญูวัฒนา. (2551). การบริหารการคลังขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด
  2. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2551). การคลังท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ ลีฟวิ่ง จำกัด
  3. รศ.นคร ยิ้ม ศิริวัฒนะ. (2547). การคลังท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  4. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2551). ข้อมูลการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรครองส่วนท้องถิ่น