ผู้ใช้:Aomjeerapun/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management)

การจัดการหรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม[1]

วิทยาศาสตร์(Science) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งธรรมชาติที่มนุษย์สะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และกระบวนการประมวลความรู้ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์[2]

การจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific Management) หมายถึง เป็นกระบวนการจัดการที่อาศัยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์วิเคราะห์และแก้ปัญหาขององค์การ ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ ใช้หลักเหตุผล สามารถพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ หรือเป็นกลไกเทคนิคชุดหนึ่งของการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การให้ดีขึ้น[3]

แนวคิดและทฤษฎี[แก้]

ทฤษฎีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมาภายในระยะเวลาเดียวกับทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีระบบราชการใน ค.ศ. 1900 ทฤษฎีทั้งสามจะสนับสนุนระหว่างกันและเข้าหากันได้ ทฤษฎีทั้งสามจะมีทัศนะทางลักษณะของบุคคลและองค์การร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านและโครงสร้างขององค์การ การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์งานที่ต้องใช้กำลังกาย ในขณะที่ทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีระบบราชการเน้นถึงความสำคัญของโครงสร้างและกระบวนการขององค์การดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เราจะเห็นได้ว่าการบริหารแบบวิทยาศาสตร์จะเป็นทฤษฎีจุลภาค (Micro Theory) ในขณะที่ทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีระบบราชการจะเป็นทฤษฎีมหภาค (Macro Theory) การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและงาน เน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและเครื่องจักร พร้อมกับเป้าหมายของการปรับปรุงการปฏิบัติงานประจำวัน และงานผลิตที่ทำซ้ำกันให้ดีขึ้น ส่วนทฤษฎีทั้งสองจะพิจารณาถึงโครงสร้างขององค์การ ความสัมพันธ์ และกระบวนการ เช่น ทฤษฎีการบริหารจะให้ความสำคัญกับหลักการบริหารและหน้าที่การบริหาร เป็นต้น การบริหารแบบวิทยาศาสตร์เสนอแนะให้มีการทดลอง และการศึกษารายละเอียดของงานแต่ละอย่าง เพื่อพิจารณาดูว่าจะทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อย่างไร ทฤษฎีระบบราชการและทฤษฎีการบริหารให้ความสำคัญน้อยมากกับการทดลอง ทฤษฎีทั้งสองพยายามใช้สิ่งที่เป็นจริง โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ด้วยการใช้แบบจำลองที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการศึกษาทดลอง การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ได้มาจากการศึกษาเฉพาะในแต่ละกรณี[4]

ประวัติ[แก้]

เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทย์เลอร์(Frederick Winslow Taylor) คือ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ เทย์เลอร์นั้นมีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกร โดยที่การนำเสนอทฤษฎีการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์นั้น ได้มีขึ้นหลังจากที่เทย์เลอร์ได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการโรงงานแห่งหนึ่งในเมืองฟิลาเดลเฟีย ในขณะนั้นปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมที่ประเทศอเมริกาในขณะนั้นประสบอยู่คือปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจากความด้อยในเรื่องประสิทธิภาพในการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นหน่วยทำการผลิตในระดับจุลภาคได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระดับมหภาคคือทำให้ประเทศอเมริกาในขณะนั้นประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้นเทย์เลอร์จึงพยายามแก้ไขปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการผลิต โดยในระยะแรกของการแก้ปัญหา เทย์เลอร์ได้ให้ความสนใจไปในการปรับปรุงเครื่องจักร เครื่องไม้ เครื่องมือ ตลอดจนไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน แต่ประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าใดนัก ดังนั้นเทย์เลอร์จึงได้เปลี่ยนแนวความคิดใหม่ โดยได้ลองทำการสังเกตวิธีการทำงานของคนงานแต่ละคน จากการสังเกตเทย์เลอร์พบว่าคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมของเขานั้นมีวิธีการทำงานตามหลักความเคยชิน ซึ่งลักษณะการทำงานตามหลักความเคยชินนั้น ในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานอย่างเดียวกันนั้นคนงานจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างกันหลายวิธี และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเคยชินของคนงานแต่ละคน โดยจากการสังเกตของเทย์เลอร์ พบว่าวิธีการทำงานที่แตกต่างกันตามความเคยชินของคนงานแต่ละคนนั้นมักก่อให้เกิดการอู้งานได้ และการอู้งานก็ทำอย่างเป็นระบบโดยได้รับการรู้เห็นเป็นใจจากผู้นำสหภาพแรงงานในโรงงาน[5]

เทคนิคของ Taylor[แก้]

Taylor ได้ให้คำแนะนำอย่างหนักแน่นว่าเราไม่ควรจะสับสนระหว่างกลไกและปรัชญาของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ เขาถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคนิคของการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา การแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน การทำให้เป็นมาตรฐาน การวางแผน การให้คำแนะนำการทำงาน และการจ่ายผลตอบแทนต่อหน่วยของผลผลิต เป็นต้น สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม การบริหารงานอุตสาหกรรมและการบริหารงานบุคคลจะสืบทอดมาจากผลงานของเขาโดยตรง[6]

หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์[แก้]


1.พัฒนาหลักการทำงานโดยใช้หลักการแบบวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้แทนการทำงานรูปแบบเดิม(Scientific Job Analysis)
2.ต้องมีการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสม สอนและอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรตามหลักการวิทยาศาสตร์(Selection of Personel)
3.การพัฒนาและบริหารบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมกับวิธีที่ได้พัฒนาขึ้น(Management Coorperation)
4.มีการมอบหมายการทำงานและความรับผิดชอบของคนงานและผู้บริหาร(Friendly Cooperation)

หลักการที่สำคัญที่สุดของ Scientific Management คือแนวความคิดเกี่ยวกับการทำงาน การทำงานของคนงานแต่ละคนจะถูกวางแผนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน โดยฝ่ายวางแผน โดยคนงานจะได้รับคู่มือที่เขียนขึ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอธิบายรายละเอียดของงานที่เขาจะต้องทำให้สำเร็จ เพื่อนำมาใช้เป็นคู่มือในการทำงาน การวางแผนล่วงหน้าเช่นนี้จึงเท่ากับว่าคนงานไม่ต้องแก้ปัญหาเพียงลำพังเหมือนเมื่อก่อน แต่เป็นความพยายามร่วมกันระหว่างคนทำงานและผู้บริหาร การมอบหมายงานจึงไม่ใช่เพียงการบอกว่าต้องทำอะไรเท่านั้น แต่ยังบอกด้วยว่าจะทำได้อย่างไร และมีเวลาให้เท่าไร และถ้าคนงานสามารถทำงานได้สำเร็จอย่างถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด เขาก็จะได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้นอีก 30-100% จากค่าแรงปกติ งานที่กำหนดขึ้นจะถูกวางแผนมาอย่างรอบคอบ ดังนั้น จึงต้องการการทำงานอย่างดีและรอบคอบจากคนงานด้วย แต่ก็ต้องเป็นที่เข้าใจด้วยว่า ต้องไม่เรียกร้องให้คนงานทำในสิ่งที่จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของพวกเขา ในการทำงานมักจะวางระเบียบเอาไว้ให้คนที่เหมาะสมกับงานมีโอกาสเติบโต เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าขึ้นเมื่อทำงานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น งานส่วนใหญ่ของ Scientific Management ก็คือการเตรียมพร้อมและทำสิ่งเหล่านี้ให้บรรลุผลนั่นเอง[7]

“ผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้างนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะความเจริญรุ่งเรืองของนายจ้างไม่สามารถจะยั่งยืนอยู่ได้ถ้าขาดความเจริญรุ่งเรืองของลูกจ้าง และเช่นเดียวกัน ความเจริญรุ่งเรืองของลูกจ้างก็ไม่สามารถยืนยาวได้ถ้าขาดความเจริญรุ่งเรืองของนายจ้าง”[8]

การนำไปใช้[แก้]

การเปลี่ยนแปลงจากการจัดการแบบดั้งเดิมมาเป็น Scientific Management นั้น ไม่เพียงเกี่ยวข้องกับการการศึกษาถึงความเร็วที่เหมาะสมในการทำงาน การออกแบบเครื่องมือและรูปแบบการทำงานใหม่เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนงานที่มีต่องานและต่อนายจ้างของเขา[9]

เหตุผลที่ใช้การจัดการแบบวิทยาศาสตร์[แก้]


1. มีกระบวนการในการพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงาน โดยคิดและวิเคราะห์จากการเก็บข้อมูลจริง ทำให้สามารถออกแบบกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เช่น การศึกษาวิธีการเคลื่อนไหวของคนงานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติ (time and motion study)
2.เนื่องจากกระบวนการวิทยาศาสตร์มีขั้นมีตอนที่ชัดเจนและสามารถพิสูจน์ได้จึงนำมาสู่การสร้างมาตรฐานการทำงาน
3.การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานที่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้โดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิมหรือลดลง[10]

ข้อดีของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์[แก้]


1.ทำให้นายจ้างและลูกจ้างมีความสามัคคี กลมเกลียวกันดีขึ้นเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างรู้ถึงภาระหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีว่า แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องทำอะไร นั่นคือ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่กำหนดหลักและวิธีการทำงานของแต่ละอย่างขึ้นมาเพื่อให้คนงานปฏิบัติตาม ส่วนฝ่ายคนงานมีหน้าที่ต้องทำงานตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ให้ได้อย่างถูกต้องและต้องทำงานให้ได้ปริมาณและมีคุณภาพตามที่องค์การกำหนดไว้
2.คนงานทราบว่าถ้าทำงานได้ตามปริมาณและมีคุณภาพตามที่องค์การกำหนดไว้แล้วจะได้รับค่าตอบแทนเท่าใด ถ้าทำได้มากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานจะได้ค่าตอบแทนเท่าใด จึงทำให้ฝ่ายคนงานและฝ่ายจัดการทราบถึงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับเป็นอย่างดี ความเข้าใจกันจึงเกิดขึ้น
3.ทำให้องค์การได้รับผลผลิตสูง ขณะที่ฝ่ายลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นตามผลผลิตที่ทำได้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างพยายามพัฒนาผลิตภาพการผลิตให้กับองค์การอย่างเต็มที่ ทำให้องค์การประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการมากขึ้น[11]

ข้อเสียของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์[แก้]


1.หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มีแนวมุ่งว่าผลสำเร็จของการดำเนินงานองค์การอยู่ที่ผลผลิตและผลตอบแทนของลูกจ้าง โดยใช้เงินเป็นสิ่งจูงใจ ส่งผลให้คนพยายามทำงาน เพื่อให้ได้ค่าจ้างสูงสุดแต่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการทางด้านจิตใจ ความต้องการทางด้านสังคมของบุคคลที่ทำงานอยู่ในองค์การเลย ทุกคนต้องทำงานตามหลักเกณฑ์ขั้นตอนและวิธีการที่องค์การกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2.หลักวิทยาศาสตร์การจัดการทำให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกันทำงานเพราะต้องการได้ค่าจ้างสูงกว่าคนอื่นๆ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนที่ทำงานด้วยกันถูกทำลายลงเพราะคนงานต่างมุ่งทำงานในหน้าที่ของตนโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น เพราะฉะนั้นจึงทำให้ความรักใคร่ สามัคคี สนิทสนมกลมเกลียว และการทำงานร่วมกันเป็นทีมไม่เกิดขึ้น
3.หลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ไม่มีการกำหนดถึงมาตรฐานทางด้านแรงงานไว้ เช่น สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทำให้ไม่มีวิธีการบริหารงานบุคคลที่เป็นระบบจึงต้องให้หัวหน้างานเป็นผู้ควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนอย่างเคร่งครัดและใช้วิธีการให้รางวัลกับคนงานที่เชื่อฟังและทำได้ดีตามหลักการและลงโทษคนงานที่ไม่เชื่อฟังหรือทำงานไม่ดี
4.หลักการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับเทคนิควิธีการทำงานมากเกินไป มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้านมากเกินไปเหมาะสมที่จะนำไปใช้เฉพาะการทำงานที่ต้องทำซ้ำๆกันเป็นส่วนใหญ่เพราะระบบการทำงานแบบสายพานการผลิตได้มีการแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนตามกระบวนการของงานและมีการวางโปรแกรมให้คนงานทำงานด้วยการใช้แนวทางตามกลไกของเครื่องจักรกล เป็นระบบการผลิตแบบที่ใช้[12]

อ้างอิง[แก้]

https://www.im2market.com/2015/06/20/1449 http://www.trueplookpanya.com/new/asktrueplookpanya/questiondetail/9187 https://www.im2market.com/2015/11/21/2071 [หน้า102.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526] [หน้า103.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526] https://www.gotoknow.org/posts/458783 [หน้า112.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526] [หน้า24.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545] [หน้า8.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545] [หน้า56.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545] http://colacooper.blogspot.com/2012/10/scientific-management-frederick-winslow.html https://kanokratkhaisi003.wordpress.com/2013/12/15/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1/

  1. https://www.im2market.com/2015/06/20/1449
  2. http://www.trueplookpanya.com/new/asktrueplookpanya/questiondetail/9187
  3. [หน้า102.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526]
  4. [หน้า103.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526]
  5. https://www.gotoknow.org/posts/458783
  6. [หน้า112.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมยศ นาวีการ,ทฤษฎีองค์การ,สำนักพิมพ์บรรณกิจ กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งที่ 2 : ตุลาคม 2526]
  7. [หน้า24.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545]
  8. [หน้า8.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545]
  9. [หน้า56.วิริญบิดร วัฒนา,เฟรดเดอริก เทย์เลอร์ Scientific Management,บริษัทสื่อดีจำกัด กรุงเทพฯ,พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2545]
  10. http://colacooper.blogspot.com/2012/10/scientific-management-frederick-winslow.html
  11. https://kanokratkhaisi003.wordpress.com/2013/12/15/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1/
  12. https://kanokratkhaisi003.wordpress.com/2013/12/15/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4-%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1/