ผู้ใช้:อนุตตริยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กรณีธรรมกาย[แก้]

ปัญหาการดำเนินงานของวัดพระธรรมกายทำให้เกิดประเด็นที่กระทบกระเทือนต่อวงการพระศาสนาสองประเด็นคือ

  1. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำสอนซึ่งบิดเบือนพระธรรมวินัย
  2. ประเด็นที่เกี่ยวข้องการยักยอกทรัพย์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

ในประเด็นของคำสอนที่มีการบิดเบือนพระธรรมวินัยดังที่จะได้อ้างอิงจากหนังสือกรณีธรรมกายของพระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)ได้แก่ประเด็นดังต่อไปนี้

  1. สอนว่านิพพานเป็นอัตตา
  2. สอนเรื่องธรรมกายอย่างเป็นภาพนิมิต และให้มีธรรมกาย ที่เป็นตัวตนเป็นอัตตาของพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ไปรวมกันอยู่ในอายตนนิพพาน
  3. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ให้เข้าใจผิดต่อนิพพาน เหมือนเป็นดินแดนที่จะเข้าสมาธิไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ถึงกับมีพิธีถวายข้าวพระ ที่จะนำข้าวบูชาไปถวายแด่พระพุทธเจ้าในอายตนนิพพานนั้น

ในขณะที่อีกประเด็นหนึ่งคือการยักยอกสมบัติของวัดมาเป็นของส่วนตัวของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ในประเด็นดังกล่าวสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระลิขิต ฉบับที่ ๑ ถึงผู้เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

ฉบับที่ ๑

"ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที

หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระลิขิตฉบับที่ ๑ ออกมาแล้วนั้น อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายก็ยังมิได้คืนทรัพย์ทั้งหมดแก่วัด สมเด็จพระสังฆราชจึงมีพระลิขิตฉบับอื่นๆ ตามมาดังต่อไปนี้

ฉบับที่ ๒

การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา "

ฉบับที่ ๓

"การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน"

ฉบับที่ ๔

"ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้ ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม "

ฉบับที่ ๕

"ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 "


หลังจากนั้นได้มีคำสั่งของมหาเถรสมาคม สั่งให้วัดพระธรรมกายดำเนินการปรับปรุงคำสอนที่บิดเบือนให้ถูกต้อง ส่วนกรณียักยอกทรัพย์นั้น ทางมหาเถรสมาคมก็มีมติให้รอคำพิพากษาของศาลยุติธรรม

และต่อมาในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำขอถอนฟ้องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหาโดยให้เหตุผลว่า

  1. วัดพระธรรมกายได้ปฏิบัติตามคำสั่งและพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชในเรื่องการเผยคำสอนที่ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฏกแล้ว
  2. อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้ยินยอมมอบคือทรัพย์สินที่ได้รับการกล่าวหาว่ายักยอกไป คืนแก่วัดทั้งหมดแล้ว

ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่สำนักอัยการสูงสุดจะทำการฟ้องร้องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายและนายถาวรอีกต่อไป

กรณียกฟ้องดังกล่าวทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยต่อฐานะของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในหมู่ประชาชนและนักวิชาการศาสนาเป็นอย่างมาก ฝ่ายหนึ่งให้ความเห็นว่าท่านมีความบริสุทธิ์เนื่องจากสำนักอัยการได้ขอถอนฟ้องท่านจึงไม่มีความผิดในกรณียักยอกทรัพย์ตามกฎหมาย ดังนั้นข้อกล่าวหาท่านว่าปาราชิกจึงไม่มีมูล ในขณะที่นักวิชาการศาสนาอีกฝ่ายกล่าวว่า การยักยอกทรัพย์ของอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้สำเร็จแล้วตามหนังสือขอถอนฟ้องขอฝ่ายอัยการ ซึ่งยืนยันถึงการคืนเงินให้แก่วัดในภายหลังของอดีตเจ้าอาวาสฯ ดังนั้นเมื่อมีการคืน แสดงว่ามีการยักยอก และเมื่อมีการยักยอกจึงถือเป็นอาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นพระตามที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระราชวินิจฉัยไปก่อนหน้านี้ ถึงแม้อดีตเจ้าอาวาสฯ จะนำทรัพย์มาคืนวัดในภายหลังเพื่อให้เกิดกระบวนการถอนฟ้องทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่ตามพระธรรมวินัย ท่านได้ขาดความเป็นพระแล้ว และไม่สามารถเรียกคืนสมณฐานะ ได้อีก


คำร้องขอถอนฟ้อง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และ นายถาวร พรหมถาวร[แก้]

ยื่นโดยสำนักงานอัยการสูงสุดต่อศาลเมื่อวันที่ 21สิงหาคม 2549อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา

ตามที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 และวันที่ 16 ธันวาคม 2542 ตามลำดับโดยกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันกระทำผิด โจทก์ขอเรียนว่าการดำเนินคดีนี้สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 กับพวก ไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีว่า ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสั่งสอนโดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือนแตกแยกออกไปกลายเป็นสองฝ่าย มีความเข้าใจความเชื่อถือพระ พุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้สงฆ์แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก

"ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้องคือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที ไม่ได้คิดให้มีโทษเพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่าในชั้นต้นหากมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระคืนให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติ ปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระ ปลอมเป็นพระด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา"

บัดนี้ข้อเท็จจริงในการเผยแพร่คำสอนปรากฏจากอธิการบดีกรมศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการมหาเถระสมาคม และเจ้าคณะภาค 1 ว่า ปัจจุบันจำเลยที่ 1 กับพวกได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาตรงตามพระไตรปิฎก และนโยบายของคณะสงฆ์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนา ทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก

"สำหรับในด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวกได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและ เงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว ประกอบกับขณะนี้ บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า เห็นว่าหากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ และไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลโปรดอนุญาต"


วันเดียวกันนี้ ศาลได้สอบถามว่า จำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งจำเลยทั้งสองแถลงว่าไม่คัดค้าน เมื่อศาลพิเคราะห์จึงมีคำตัดสินว่า


คำสั่งศาล[แก้]

"โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาตรงตามพระไตรปิฎก และนโยบายของคณะสงฆ์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนา ทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก สำหรับใน ด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวกได้มอบทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกายการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว ประกอบกับขณะนี้ บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า เห็นว่าหากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ และไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านที่โจทก์ถอนฟ้อง จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองและจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความของศาลอาญา"