ผู้ใช้:มนต์ตรา ไชยเลิศ/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:สงครามยามแลง.jpg
ไฟล์:แม่น้ำสงครามยามแลง.jpg
ไฟล์:พระธาตุศรีสงคราม.jpg
ไฟล์:ชลประทาน.jpg

แม่น้ำสงคราม[แก้]

แม่น้ำสงคราม เป็นลำน้ำสาขาสายหลักของแม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดอยู่ในจังหวัดอุดรธานี เขตอำเภอทุ่งฝน บริเวณเทือกเขา ภูพาน ซึ่งกั้นระหว่างจังหวัดสกลนครกับจังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านอำเภอบ้านดุง และจังหวัดสกลนคร แล้ววกขึ้นไปอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย ต่อจากนั้นไหลเลียบเส้นแบ่งเขตจังหวัดหนองคายและสกลนครไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ลำน้ำสาขาบริเวณด้านขวาของแม่น้ำ ได้แก่ ห้วยน้ำเย็นและห้วยน้ำอูน เป็นต้น ส่วนด้านซ้ายของแม่น้ำมีห้วยชี ห้วยน้ำเมา ห้วยน้ำอุ่น และห้วยคำแก้ว เป็นต้น ในฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) พื้นที่ลุ่มน้ำจะมีน้ำขังประมาณ 960 ตารางกิโลเมตร (600,000 ไร่) ในฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม) ช่วงต้นแม่น้ำ จะมีน้ำน้อยมาก เนื่องจากไหลออกแม่น้ำโขงหมด จะเริ่มมีน้ำนองคลองและเห็นเป็นลำน้ำไหลในช่วง 75 กิโลเมตร ช่วงท้ายน้ำซึ่งเริ่มเป็นที่ราบใหญ่ของแอ่งสกลนครไปจนบรรจบแม่น้ำโขง

'''อำเภอศรีสงคราม'''[แก้]

เดิมเป็นเมืองอากาศอำนวยขึ้นกับเมืองนครพนม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองท้องที่ เมืองอากาศอำนวยถูกลดฐานะลง เปลี่ยนจากเมืองเป็นอำเภอ เมืองอากาศอำนวยเป็น กิ่งอำเภออากาศอำนวย ขึ้นกับอำเภอท่าอุเทน เนื่องจากเขตพื้นที่กิ่งอำเภออากาศอำนวยมีอาณาเขตกว้างขวาง จึงโอนพื้นที่บางส่วนไปขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร และย้ายอำเภอมาตั้งที่บ้านศรีเวินชัย ตำบลสามผง เนื่องจากทำเลบ้านศรีเวินชัยไม่เหมาะแก่การตั้งอำเภอ จึงย้ายมาตั้งที่บ้านท่าบ่อ ตำบลบ้านข่า แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กิ่งอำเภอบ่อศรีสงคราม แต่เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยซ้ำซาก จึงได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลนาเดื่อ บ้านปากอูนปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอศรีสงคราม ในปัจจุบัน อำเภอต่าง ๆ ที่แยกออกจากอำเภอศรีสงคราม มีอำเภอบ้านแพง อำเภอนาหว้า และอำเภอนาทม
 อำเภอศรีสงครามมีประกอบด้วย 9 ตำบล อันประกอบไปด้วย 1.ตำบาลศรีสงคราม 2.ตำบลนาคำ 3.ตำบลบ้านเอื้อง 4.ตำบลนาเดื่อ 5.ตำบลบ้านข่า 6.ตำบลสามผง 7.ตำบลหาดแพง 8.ตำบลโพนสว่าง 9.ตำบลท่าบ่อสงคราม 

เทศกาลปลาลำน้ำสงคราม[แก้]

ที่มา[แก้]

 เนื่องจากอำเภอศรีสงครามมี "แม่น้ำสงคราม" เป็นเหมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนที่นี่ จึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมประณีที่เกี่ยวข้องกับลำน้ำมากมาย หนึ่งในนั้นคือ "เทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม" ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของอำเภอ จัดขึ้นในช่วงหน้าหนาวของทุกปีเพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ที่มีความข้องเกี่ยวกับลำน้ำสงคราม มีการจัดซุ้มแสดงวิถีชีวิตของคนในแต่ละตำบล เพราะแต่ละตำบลมีชนเผ่าต่างๆที่มีเอกลักษณ์และวิถีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันไป เช่น ตำบลสามผง จะเป็นชนเผ่าลาวจะมีวิถีชีวิตและการใช้ภาษาที่คล้ายคลึงกับประชากรในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตำบลหาดแพงจะมีประชากรที่ผสมผสานกันระหว่างชนเผ่าไทญ้อและลาว โดยชนเผ่าลาวในอำเภอศรีสงครามมีข้อสันนิษฐานจากเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าในสมัยที่เกิดสงครามในประเทศลาวได้มีกษัตริย์ลาวหนีข้ามฝั่งมาที่ฝั่งไทย โดยถูกทหารจากฝั่งลาวตามมาสังหารและตามทันที่ หมู่บ้านหนองบาท้าว ที่มีความหมายว่าสถานที่ทิ้งศพกษัตริย์ โดยยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่เป็นเศษอิฐ แต่เนื่องจากไม่ได่้รับการดูแลรักษาและถูกน้ำกัดเซาะ จึงทำให้ปัจจุบันอิฐเหล่านั้นมีจำนวนน้อยลงจนแทบหาไม่เจอ ส่วนในตำบลอื่นๆจะเป็นชนเผ่าไทญ้อเป็นส่วนใหญ่ ชนเผ่าอื่นๆเช่น โส้ แสก และภูไทนั้นจะพบบ้างประปรายส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นชุมชน

รายละเอียดของงาน[แก้]

 ในเทศกาลปลานี้นอกจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่นี่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับลำน้ำ ทั้งยังมีการแสดงหุ่นปลาขนาดใหญ่ที่แต่ละตำบลได้จำลองขึ้นมา โดยมีการใส่รายละเอียดต่างๆที่ทำให้หุ่นปลาจำลองมีชีวิตจริงๆ โดยแต่ละปีก็จะมีการจัดประกวดทั้งหุ่นปลา ซุ้มวิถีชีวิต ขบวนแห่ เทพีปลา และมีการจัดแสดงดนตรีจากโรงเรียนต่างๆในเขตอำเภอศรีสงคราม และจากที่อื่นๆซึ่งเป็นการสร้างความผ่อนคลายความเหนื่อยจากการทำงานหนักตลอดทั้งปีได้อย่างดี โดยงานเทศกาลปลาองอำเภอศรีสงครามยังถูกยอมรับให้เป็นงานใหญ่อันดับที่ 3 ของจังหวัดนครพนม รองจากงานประเพณีไหลเรือไฟ และงานนมัสการพระธาตุพนม

ของฝากขึ้นชื่อ[แก้]

  ซึ่งการจัดงานเทศกาลนี้ยังมีการจัดแสดงสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอนี้ อย่าง "ส้มปลาจากปลาแม่น้ำสงคราม" หรือแหนมปลา ที่มีรสชาติดีเป็นที่รู้จักและเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของที่นี่ โดยมีกรรมวิธีการทำที่ยังคงเป็นวิธีการดั้งเดิม คือใช้ "เกลือสินเธาว์" ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายรวมกับเกลือทะเลซึ่งถือเป็นเคล็ดลับสำคัญเพราะหากใช้เพียงเกลือทะเลก็จะทำให้ส้มปลานั้นเสียง่ายและเก็บไว้ได้ไม่นาน ที่สำคัญเกลือสินเธาว์ยังเป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านหนองผือ ที่พอหมดหน้านาก็จะผันน้ำเข้ามาในนาข้าวและนำน้ำที่ได้มาต้มจะได้เกลือสินเธาว์วัตถุดิบสำคัญในการทำส้มปลา
  ผ้าไหมมัดหมี่ ก็เป็นสินค้าที่มีชื่ออีกอย่างหนึ่ง โดยที่นี่เน้นการทอด้วยลวดลายเรียบง่ายและเป็นเอกลักษณ์ เดิมทีก็ทอแค่สำหรับเอาไว้ใช้ใาครัวเรือน แต่ที่เริ่มมีการทอเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเมื่อ "โครงการในประราชดำริศูนย์ศิลปาชีพ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ" เข้ามาสอนอาชีพจึงทำให้อาชีพทอผ้าเป็นอาชีพเสริมของแม่บ้านในอำเภอศรีสงครามในช่วงที่ว่างจากการทำเกษตรกรรมและกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อออีกหนึ่งอย่างของที่นี่