ผู้ใช้:ฟีนยา พุ่มประเสริฐ/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมลงช้างปีกใส (green lacewing)[แก้]

แมลงช้างปีกใส
แมลงช้างปีกใส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Neuroptera
สกุล: Chrysoperla
สปีชีส์: C.  carnea
ชื่อทวินาม
Chrysoperla carnea
(J.F.Stephens, 1835)

บทนำ[แก้]

ประโยชน์ทางการเกษตร[แก้]

แมลงช้างปีกใส ชนิด Chrysoperla carnea Stephens เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงมากที่สุดในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั้น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่และตัวอ่อนของด้วง หรือหนอนผีเสื้อที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นแมลงช้างปีกใสจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ "(มั่นใจ)"[1] แมลงช้างปีกใส C. carnea จะดำรงชีพแบบผู้ล่าหรือเป็นตัวห้ำเฉพาะในระยะตัวอ่อน ส่วนในตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานและละอองเรณู จึงมีบทบาทในการผสมเกสรและช่วยขยายพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน "(มั่นใจ)" [2]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสและญาติ[แก้]

แมลงช้างปีกใสในสกุล Chrysoperla ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัย ได้แก่ กลุ่ม carnea กลุ่ม pudica กลุ่ม comans และกลุ่ม nyerina การศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม (nuclear marker 3 ยีน ได้แก่ namelywingless(546 bp), phosphoenolpyruvate carboxykinase (483 bp) และ sodium/potassium ATPase alpha subunit (410 bp)) พบว่า แมลงช้างปีกใสในกลุ่ม comans และ pudica เป็น sister group กัน และทั้งสองกลุ่มเป็น sister group กับกลุ่ม carnea แต่ความสัมพันธ์กับกลุ่ม nyerina ยังไม่แน่ชัด "(มั่นใจ)" [3]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใส (Evolutionary adaptation of the common green lacewing)[แก้]

การทนต่อความหนาวเย็น[แก้]

แมลงช้างปีกใส C. carnea สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นได้เป็นเวลานาน มีการรายงานว่าแมลงช้างปีกใส C. carnea ในแถบอเมริกาเหนือ สามารถอยู่รอดได้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานถึง 31 สัปดาห์ เนื่องจากมีกลไกในการต้านทานต่อความหนาวเย็น คือ ในช่วงฤดูหนาว ร่างกายจะมีการสะสมสารไครโอโพรเทกแทนต์ (cryoprotectant) ได้แก่ ทรีฮาโลส (trehalose) ไกลโคเจน(glycogen) ไว้ในปริมาณสูง ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งโดยการลดจุดเยือกแข็ง (freezing point) ให้ต่ำลง ของเหลวในร่างกายจึงยังคงอยู่ในสภาพที่ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ "(มั่นใจ)" [4]


การปรับตัวของรีเซพเตอร์รับคลื่นเสียง[แก้]

แมลงช้างปีกใส C. carnea มีรีเซพเตอร์รับเสียง(auditory receptor) ที่พัฒนาดีกว่าในแมลงกลุ่มอื่นๆ สามารถตรวจจับคลื่นเสียงความถี่สูงที่ค้างคาวใช้ในการล่าเหยื่อได้ ช่วยให้มันซ่อนตัวหรือหนีได้ทันก่อนที่จะถูกล่า "(มั่นใจ)" [5]

การทนทานต่อยาฆ่าแมลง[แก้]

แมลงช้างปีกใส C. carnea มีความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Pyrethroids และ Organophosphates ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในทางการเกษตร "(มั่นใจ)" [6] เนื่องจากมีกลไกในการกำจัดสารพิษ (detoxification systems) โดยมีเอนไซม์ในการสลายพิษที่สำคัญ คือ oxidases และ glutathione-S-transferases (GSTs) [7]

References[แก้]

  1. Ulhaq, M.M., Sattar, A., Salihah, Z., Farid, A., Usman, A. and Khattak, S.U.K. 2006. Effect of different artificial diets on the biology of adult green lacewing (Chrysoperla carnea Stephens). Songklanakarin J. Sci. Technol. Vo. 28(1) : 1-8. http://rdo.psu.ac.th/sjstweb/journal/28-1/01_adult_green_lacewing.pdf
  2. Fisher,T. W.,Thomas S. 1999. Handbook of Biological Control. Academic Press , The United States of America. 1031 p. http://books.google.co.th/books?id=u2X-rfgU0ewC&pg=PA418&redir_esc=y#v=onepage&q&f=true
  3. Haruyama, N., A. Mochizuki, P. Duelli, H. Naka, and M. Nomura. 2008. Green lacewing phylogeny, based on three nuclear genes (Chrysopidae, Neuroptera). Systematic Entomology 33(2):275–288. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-3113.2008.00418.x/pdf
  4. Canard, M. 2005. Seasonal adaptations of green lacewings (Neuroptera: Chrysopidae). European Journal of Entomology 102: 317-324. https://www.eje.cz/pdfarticles/1006/eje_102_3_317_Canard.pdf
  5. McEwen P., New T., and Whittington,A. 2001.Lacewings in the crop environment Cambridge University Press, New York, The United States of America. 547 p. http://books.google.co.th/books?id=ZIfF6ho1ac4C&pg=PA375&lpg=PA375&dq=Biological+control+by+chrysopidae:+Integration+with+pesticides&source=bl&ots=oVdJ7ekbhg&sig=dJN3ukTBwaWm6qD8UiBf1v_DFo4&hl=th&sa=X&ei=We9CUtaCA8jxiAfvzIC4BA&ved=0CF8Q6AEwBQ#v=onepage&q=Biological%20control%20by%20chrysopidae%3A%20Integration%20with%20pesticides&f=false
  6. Pathan, A. K., Sayyed, A. H., Aslam, M., Liu, T.-X., Razzaq, M., and Gillani, W. A. 2010. Resistance to Pyrethroids and Organophosphates Increased Fitness and Predation Potential of Chrysoperla carnae (Neuroptera: Chrysopidae). Journal of Economic Entomology, 103(3): 823-834. http://www.bioone.org/doi/pdf/10.1603/EC09260
  7. Pree, D. J., Archibald, D. E., and Morrison, R. K. 1989. Resistance to Insecticides in the Common Green Lacewing Chrysoperla carnea (Neuroptera: Chrysopidae) in Southern Ontario Journal of Economic Entomology, 82(1): 29-34.http://docserver.ingentaconnect.com/deliver/connect/esa/00220493/v82n1/s6.pdf?expires=1380186127&id=75617477&titleid=10264&accname=Prince+of+Songkla+University&checksum=FBF69DCBCDE88118B2BD0BF7249C10FA