ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/กระบะทราย/2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระบะทราย : 1 | 2
พูดคุย

สมจิตร บ่อทอง[แก้]

สมจิตร บ่อทอง
ชื่อเกิดสมจิต ทองบ่อ
เกิด21 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
ที่เกิดจังหวัดยโสธร,  ไทย
แนวเพลง
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2526 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

สมจิตร บ่อทอง[1] (21 มกราคม พ.ศ. 2507 — ) เป็นนักร้องหมอลำชายชาวไทย มีผลงานเป็นที่โด่งดังจากเพลง กุหลาบแดง ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2533

ประวัติ[แก้]

สมจิตร บ่อทอง มีชื่อจริงว่า สมจิต ทองบ่อ เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2507[2] ที่บ้านคำเตย ตำบลส้มผ่อ อำเภเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นบุตรคนที่ 7 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ของนายบุญทัน และนางจันทร์ ทองบ่อ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนกุดชุมวิทยา อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

เข้าวงการ[แก้]

สมจิตรเริ่มเข้าสู่วงการในปี พ.ศ. 2526 กับหมอลำคณะรุ่งตะวันสีทอง[3] ซึ่งเป็นวงดนตรีของอาจารย์บุญเลิศ พรหมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ดาว บ้านดอน ได้ชักชวนสมจิตรให้เข้าเป็นศิลปินสังกัดชัวร์ออดิโอ แต่ยังคงรับงานในคณะหมอลำรุ่งตะวันสีทอง

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 ก็มาโด่งดังในเพลง กุหลาบแดง[4][5] ซึ่งกลายเป็นเพลงประจำตัวของเขาและเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา หลังจากที่อยู่ในสังกัดชัวร์ออดิโอมาเป็นเวลา 8 ปี จึงได้ย้ายมาอยู่สังกัดเอ็มดีเทป ในปี พ.ศ. 2541 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2553 เขาก็ตั้งคณะดนตรีหมอลำของตัวเขาเอง ปัจจุบันเป็นศิลปินสังกัดท็อปไลน์ ไดมอนด์

ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียง[แก้]

  • กุหลาบแดง
  • เกี่ยวข้าวคอยนาง
  • คอยน้องคืนนา
  • คิดฮอดตลอดเวลา
  • มักสาวส่ำน้อย
  • ของฝากจากคนหลายใจ

รางวัล[แก้]

  • พ.ศ. 2559 - รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ สาขาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[6]

อ้างอิง[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา (en:Order of Sikatuna)[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา (ฟิลิปปินส์: Orden ni Sikatuna, อังกฤษ: Order of Sikatuna) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ มอบให้กับผู้กระทำคุณความดีและทำคุณประโยชน์แก่ประเทศฟิลิปปินส์ และมีการมอบแก่ทั้งชาวฟิลิปปินส์และชาวต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมอบให้เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางด้านการทูตอีกด้วย เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นโดยเอลปิดิโอ กีริโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 6 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[1][2] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีการมอบเรื่อยมาตั้งแต่แรกก่อตั้งจนกระทั่งได้ระงับไปในสมัยของประธานาธิบดีดิออสดาโด มากาปากัล และได้มีการมอบขึ้นอีกครั้งในสมัยของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส[3][4] และในปี พ.ศ. 2546 ในยุคประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย เครื่องอิสริยาภรณ์ชิ้นนี้ได้บรรจุในบัญญัติเครื่องอิสริยาภรณ์ฟิลิปปินส์ มาตรา 236 หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า ระเบียบเกียรติยศแห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์ของฟิลิปปินส์[5]

ลำดับชั้น[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์มีทั้งหมด 6 ชั้น ดังต่อไปนี้

แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ.2496 - พ.ศ. 2546)
เบญจมาภรณ์
จัตุรถราภรณ์
ตริตาภรณ์
ทุติยาภรณ์
ประถมาภรณ์
ชั้นสายสร้อย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ยังคงไว้ทั้งสิ้น 6 ชั้น แต่มีการปรับปรุงแพรแถบย่อขึ้นใหม่ ดังนี้

แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546)
เบญจมาภรณ์
จัตุรถาภรณ์
ตริตาภรณ์
ทุติยาภรณ์
ประถมาภรณ์
ชั้นสายสร้อย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Executive Order No. 571, February 27, 1953: Creating a Decoration to Be Known As the Order of Sikatuna". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 7 January 2016.
  2. "ODM of The Philippines: Order of Sikatuna". Medals.org.uk. 1953-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16.
  3. "Executive Order No. 24, October 19, 1962". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 7 January 2016.
  4. "Executive Order No. 174, February 26, 1969". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 7 January 2016.
  5. "Executive Order No. 236, September 19, 2003: Establishing the Honors Code of the Philippines to Create an Order of Precedence of Honors Conferred and For Other Purposes". Supreme Court E-Library. สืบค้นเมื่อ 7 January 2016.

หมวดหมู่:เครื่องอิสริยาภรณ์ประเทศฟิลิปปินส์

ซีแซด 75 (en:CZ 75)[แก้]

ซีแซด 75
ชนิดปืนพกกึ่งอัตโนมัติ
แหล่งกำเนิด เช็กเกีย
บทบาท
ประจำการ1976-ปัจจุบัน
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบ1975
บริษัทผู้ผลิตเช็กกา ซิโบจอบกา (ซีแซด)
ช่วงการผลิต1976-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต1,000,000 กระบอก[1] (ในปี ค.ศ. 2007)
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว206.3 mm (8.12 in)
ความยาวลำกล้อง120 mm (4.7 in)
ความกว้าง32.6 mm (1.28 in)
ความสูง138 mm (5.4 in)

กระสุน
  • 9x19 มิลลิเมตร
  • 9x21 มิลลิเมตร
ระยะหวังผล25 m (82 ft)
ระบบป้อนกระสุน15 นัด

ซีแซด 75 (อังกฤษ: CZ 75) เป็นปืนพกกึ่งอัตโนมัติที่ผลิตจากประเทศเช็กเกีย เริ่มผลิตในปี ค.ศ. 1975 จัดเป็นปืนขนาดกระสุน 9 มิลลิเมตรต้นแบบ หรือที่เรียกว่า วันเดอร์ไนท์ (Wonder Nine) ถือเป็นปืนพกที่นิยมทั่วไปมากที่สุดในโลก ทั้งมีการนำไปผลิตลอกเลียนแบบในหลายๆ ประเทศ[2] ซีแซด 75 รวบรวมจุดเด่นของปืนสามแบบสามยี่ห้อ คือ ซองกระสุนสองแถวลูกดกเช่นกับ บราวนิง ไฮ-พาวเวอร์ โครงปืนกับระบบขัดกลอนเช่นกับ ซิก ซาวเออร์ พี 210 และใช้ไกดับเบิล/ซิงเกิล เช่นเดียวกับวอลเธอร์ P38[3]

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้ผลิตส่วนใหญ่เปลี่ยนวัสดุการผลิตจากเหล็กเป็นอลูมิเนียมอัลลอยด์ ในขณะที่ซีแซดก็ยังคงผลิตปืนโดยใช้วัสดุเหล็กจนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ซีแซดจึงหันมาผลิตปืนพกด้วยวัสดุอลูมิเนียมอัลลอยด์ ในรุ่น ซีแซด 75 พี 01 และในปี ค.ศ. 2003 ซีแซด 75 ได้รับการรับรองเป็นปืนมาตฐานของนาโต้[4]

รุ่น[แก้]

ปืนพกชนิดนี้มีหลายรุ่น ดังต่อไปนี้

75 แบบโครงเหล็ก[แก้]

  • CZ 75
  • CZ 75 B
  • CZ 75 BD
  • CZ 75 B Stainless
  • CZ 75 B Omega
  • CZ 75 B SA
  • CZ 75 B DAO

75 คอมแพ็ก[แก้]

  • CZ 75 Compact
  • CZ 75 D
  • CZ 75 SemiCompact
  • CZ P-01[5]
  • CZ P-01 Omega Convertible
  • CZ P-06
  • CZ 40-B/Colt Z-40
  • CZ 40-P

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

ประเทศที่ผลิตลอกเลียนแบบ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "THE CZ 75 PISTOL MODEL PASSED ONE MILLION PIECES" (Press release). 2007-10-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-30.
  2. 2.0 2.1 "Zašlapané projekty Pistole CZ 75". Česká televize. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  3. ปืนน่าใช้ CZ
  4. คอมแพ็ค รางเต็ม เหล็กล้วน CZ 75 P-01 Steel Frame
  5. "CZUSA CZ P-01 gets NATO approval" (Press release). 2003-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17.
  6. "Gun Review: CZ P-09 Duty". The Truth About Guns. สืบค้นเมื่อ 2014-01-02.
  7. "Ruční zbraně AČR" (PDF). Army.cz. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 "Modern handguns – CZ 75 pistol (Czech Republic)". World guns. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  9. "Naše pistole střílela, i když ji Egypťané máčeli v blátě, říká manažer České zbrojovky". ihned.cz. สืบค้นเมื่อ 2013-05-04.
  10. Montes, Julio A. (May 2000). "Infantry Weapons of the Salvadoran Forces". Small Arms Review. Vol. 3 no. 8.
  11. "Georgian Army". Georgian Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-06-25.
  12. "Police Small Arms Arsenals in the Northern Central American Triangle". Small Arms Defense Journal. Vol. 7 no. 5. 4 December 2015.
  13. Постановление Правительства Республики Казахстан № 744 от 5 августа 1998 года "О разрешении Министерству внутренних дел Республики Казахстан ввоза оружия с боеприпасами и принадлежностями из Чешской Республики"
  14. Kazakhstan Special Forces (1/3) ที่ยูทูบ
  15. Kazakhstan Special Forces (2/3) ที่ยูทูบ
  16. Jenzen-Jones, N.R.; McCollum, Ian (April 2017). Small Arms Survey (บ.ก.). Web Trafficking: Analysing the Online Trade of Small Arms and Light Weapons in Libya (PDF). Working Paper No. 26. p. 67. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  17. "Česká zbrojovka dodá mexické policii zbraně za 180 milionů". Aktuálně.cz – Víte co se právě děje. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  18. JSK Internet. "Z czego strzela Policja? (nr 51 06.2009)". Policja 997. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  19. "Lenta.ru: Наука и техника: Прокуроров и следователей вооружат новыми пистолетами". Lenta.ru. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  20. "Specijalne-jedinice.com - CZ-75 SP-01 Shadow". specijalne-jedinice.com.
  21. http://specijalne-jedinice.com/img/dummies/CZ75SP01/13.jpg
  22. Tuoi Tre Newspaper. "Police to expand investigation into smuggled guns detected at Vietnam airport". tuoitrenews.vn.
  23. "Týmito zbraňami nás polícia chráni". pluska.sk. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  24. "รายชื่ออาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพอาเซียน". Thaiarmedforce.com. สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
  25. Fred J. Pushies: Weapons of Delta Force, Zenith Imprint, 2010, page 53
  26. 26.0 26.1 26.2 "The CZ-75 and Its Early Clones". gundigest.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  27. A Czech emigrant Ing. Tůma was among first to start manufacturing direct copies of CZ 75. Soon he developed own variant of the pistol, which he later offered to Swiss company Sphinx. Sphinx continues to manufacture its own variants of CZ 75 up today. See Zašlapané projekty Pistole CZ 75 (Czech)

เจ้าบ่าวหาย[แก้]

เจ้าบ่าวหาย เป็นสตูดิโออัลบั้มแนวหมอลำล้วนชุดที่ 16 ของจินตหรา พูนลาภ วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2536 ภายใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยดาว บ้านดอน เป็นอีกอัลบั้มที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จ มีผลงานเพลงดังในอัลบั้ม อาทิ เจ้าบ่าวหาย, เมียอะไหล่, พี่จ๋าเจ็บตรงไหน, ปิดไฟใจลอย, ต้นส้มมอรออ้าย

อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายของเธอที่วางจำหน่ายภายใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก่อนที่จะไปสังกัดค่ายมาสเตอร์เทป ซึ่งเป็นค่ายเพลงหมอลำและเป็นค่ายเพลงที่แยกตัวออกมาจากแกรมมี่

เพลงในอัลบั้ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]