ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:ดารารัตน์ รัชดานุรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดารารัตน์ รัชดานุรักษ์ มีชื่อเล่นว่า "ยุ้ย" เป็นบุตรสาวคนเดียวของ เกรียงไกร-อัมพร รัชดานุรักษ์ เกิดในครอบครัวที่พ่อเป็นคาทอลิค แม่เป็นพุทธ เป็นสาวร่าเริง มีน้ำใจต่อคนรอบข้าง พูดตรงไปตรงมา ออกแนวโผงผาง รักในศักดิ์ศรีของตัวเอง ไม่ดูถูกผู้ต้อยต่ำกว่า จึงเป็นที่รักของทั้งเพื่อน ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานมาโดยตลอด

ดารารัตน์ รัชดานุรักษ์
เกิด3 ธันวาคม พ.ศ. 2516
กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
อาชีพนักวิจัยนโยบาย (ระดับเชี่ยวชาญอาวุโส)
องค์การสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เว็บไซต์https://www.facebook.com/dararat.rajadanuraks


ประวัติส่วนตัว[แก้]

ดารารัตน์ (ยุ้ย) เกิดวันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2516 ณ โรงพยาบาลราชวิถี จังหวัดกรุงเทพ และได้รับการเลี้ยงดูที่ "บ้านอุดมสุข" บ้านของคุณย่า ซึ่งเป็นบ้านศูนย์รวมของตระกูลรัชดานุรักษ์ จึงเสมือนอาศัยรวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีพี่น้องรุ่นราวคราวเดียวกันที่เติบโตมาพร้อมๆ กันหลายคน พ่อเป็นคนขรึม พูดน้อย หัวดี แม่เป็นคนร่าเริง เรียนไม่สูงนัก พูดเก่ง ทั้งคู่รับราชการที่เดียวกัน คือ สภาวิจัยแห่งชาติ (สมัยก่อน) จึงถือได้ว่า เกิดมาในครอบครัวที่ไม่ได้รวยนัก แต่เติบโตจากครอบครัวใหญ่ การอบรมจึงได้รับการบ่มเพาะ ปลูกฝังนิสัยอย่างดี

ประวัติการศึกษา[แก้]

เรื่องเล่าสมัยประถม[แก้]

ยุ้ย เริ่มเรียนเมื่อตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง ที่โรงเรียนอนุบาลเจริญพงศ์ ซอยแบริ่ง (สุขุมวิท 107) จากนั้นพออายุได้ 5 ขวบ จึงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนอนุบาล เป็นโรงเรียนเอกชนคาทอลิค สมัยเรียนประถมศึกษา ยุ้ยเป็นเด็กตัวอ้วนกลมที่สนใจการศึกษาทางศาสนาจนเกือบตัดสินใจเข้าบวช แต่ด้วยเหตุที่เป็นบุตรคนเดียว จึงไม่สามารถทำได้ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา เป็นโรงเรียนหญิงล้วน มีทั้งที่เรียนประจำ และไป-กลับ และมีครูเป็นนักบวชเสียส่วนมาก ครูจะได้รับการเรียนว่า "ซิสเตอร์" ส่วนครูที่นับถือศาสนาพุทธ เราจะเรียนว่า "ครู" เหมือนโรงเรียนทั่วไป ส่วนครูใหญ่พวกเราจะเรียนว่า "แม่อธิการ" ยุ้ยเข้าเรียนชั้นประถมพร้อมกับญาติผู้พี่ ชื่อ "มด" ที่เป็นลูกสาวของอาต่อ (นายแพทย์ นิรันตร์ รัชดานุรักษ์) การเดินทางไปโรงเรียนของยุ้ย จึงไปกับพี่มด ติดรถแม่พี่มด (แพทย์หญิง มยุรี รัชดานุรักษ์) แต่ยุ้ยต่างกันมดมาก ตรงที่เป็นเด็กกิจกรรม รักเล่น ชอบเล่นกับพี่น้องผู้ชาย โลดโผน ขณะที่มดเป็นเด็กผู้หญิง ออกจะเรียบร้อย รักเรียน และด้วยความที่ยุ้ยเป็นเด็กตัวอ้วน ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสนั้น จึงได้รับการติดต่อจากครูให้แสดงละครหลายเรื่อง แต่เพราะครอบครัวทำงานราชการไม่มีเงินพอที่จะตัดชุดได้หลายๆ ชุด จึงเลือกได้แค่อย่างเดียว ในวัยประถม จึงเป็นวัยที่ยุ้ยมีความสุขที่สุด เพราะความซน ความรักในกิจกรรม โรงเรียนจะจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างสม่ำเสมอ เล่นกระโดดหนังยาง เล่นยิมนาสติก เล่นสแตมป์ เอาหญ้ามาตีไก่โต้งทุกวัน ส่วนเรื่องเรียน นับได้ว่าเป็นเด็กหัวดีเหมือนพ่อ แต่ไม่ค่อยสนใจการเรียนเท่าไร จึงเอาแค่ตัวรอดไปได้ในแต่ละเทอม ไม่ถึงกับตก ยกเว้นวิชา ศาสนาคริสต์ และเลข ที่ได้คะแนนดี อันดับต้นๆ มาตลอด

เรื่องเล่าสมัยมัธยม[แก้]

เมื่อจบชั้นประถมศึกษา เป็นช่วงที่ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนต่อมัธยมที่ไหน พ่อแม่ ญาติๆ ตัดสินใจให้ลูกๆ ย้ายมาเรียนมัธยมที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ (เตรียมพัฒน์ หรือ ต.อ.2) เป็นโรงเรียนรัฐบาล สาขา 2 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เปิดมาได้ 7-8 ปีแล้ว ซึ่งไม่ไกลจากบ้านมากนัก เพื่อปูเส้นทางให้ลูก เหมือนรุ่นพ่อ ที่เริ่มที่โรงเรียน อัสสัมชัญ ต่อเตรียมอุดมศึกษา และต่อมหาวิทยาลัยดีๆ กันทุกคน การเรียนประถมศึกษานั้น เป็นไปอย่างไม่ค่อยดีนัก เพราะยุ้ยเริ่มป่วยเป็นโรคลมชัก เมื่อตอนเรียน ม.2 ในช่วงเช้า ประมาณ 9.00 น. ขณะกำลังยืนลบกระดานดำอยู่หน้าห้อง แล้วเป็นลมล้มชักไป เพื่อนๆ ครู ได้ช่วยกันพาไปห้องพยาบาล และส่งไปโรงพยาบาลเปาโล ที่อาเป็นหมออยู่ที่นั่น หมอไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคได้ และนับแต่นั้นมา ชีวิตจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะไม่ว่าจะไปไหนมาไหน ลมชัก จะมาเยี่ยมเยียนยุ้ยอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่สามารถอยู่คนเดียวได้เลย เพราะยังอยู่ในภาวะทีควบคุมโรคไม่ได้ ด้วยวิทยาการการแพทย์สมัยนั้นยังไม่เจริญพอ และโรคนี้ เป็นแล้วรักษาหายได้ยากมาก พ่อแม่ ญาติๆ ให้ความห่วงใย ประคบประหงม และโรคนี้เกิดถี่บ่อยครั้งมากในวัยเด็ก การเรียนของยุ้ยจากที่ไม่ได้เรียนเป็นเลิศ แต่ก็ไม่เคยถึงขั้นตก ค่อยๆ แย่ลงจนเรียนตกสูงถึง 7 วิชาในเทอมเดียว ต้องเรียนซ่อมอยู่เสมอ แต่ด้วยความที่มีโรคประจำตัว พ่อแม่ไม่ได้เข้มงวดกับการเรียนนัก แม้จะไม่สามารถเรียนต่อสายวิทย์ได้อย่างที่หวัง แม้แต่ศิลป์-คำนวณ เอง ยังไมได้เลย ยุ้ยจึงได้เรียนอยู่ห้องบ๊วยในช่วงมัธยมปลาย แต่เป็นห้องที่เซี้ยว สนุก มีความสุขที่สุด เราเรียนๆ ไป เดี๋ยวก็เตะตระกร้อหน้าห้อง แอบเล่นไพ่กันในห้อง พวกผู้ชายก็ดูหนังสือโป๊ ดูพระกันไป ครูเริ่มเอาห้องนี้ไม่อยู่ เพราะเด็กไม่สนใจเรียนกันเลย แต่เราก็ยังสอบติด 1 ใน 3 มาตลอดช่วง ม.ปลาย ในยุคนั้น การสอบเทียบ เป็นที่นิยมมาก ยุ้ยเป็นหนึ่งในเด็กสอบเทียบได้ตอน ม.5 แต่เอ็นทรานซ์ไม่ติด จึงลงเรียนที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไว้ตั้งแต่ ม.5 (อายุ 16 ปี) และนั่น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนชั้นอุดมศึกษา

เรื่องเล่าสมัยอุดมศึกษา[แก้]

ยุ้ยเริ่มลงเรียน ม.รามคำแหง ตอนจบชั้น ม.5 ช่วงนั้น เริ่มมีความอยากจะเข้ามหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง คณะเศรษฐศาสตร์ เป็นคณะเดียวที่ตัดสินใจเลือกเอ็นทรานซ์ เมื่อผลออกมาว่าเอ็นทรานซ์ไม่ติด การลงเรียนเล่นๆ ที่ ม.รามคำแหง จึงเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อจบสิ้นการเรียน ม.6 ในช่วง ม.6 นั้น ยุ้ยเก็บหน่วยกิตได้แค่ 12 หน่วยกิตใน 1 ปีเท่านั้น จาก 144 หน่วยกิตที่ต้องใช้สำหรับจบการศึกษา สาเหตุที่เลือกจะเรียนที่ ม.รามฯ เพราะหน่วยกิตถูกที่สุด (18 บาท/หน่วยกิต) ช่วงนั้น ยุ้ยสอบเข้าตรงได้ที่ ม.กรุงเทพ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เรียน เพราะค่าหน่วยกิตแพงกว่ามาก การเรียนใน มหาวิทยาลัยเปิดที่ใหญ่ที่สุดนั้น ไม่ได้ยากอย่างที่หลายๆ คนคิดเลย ในปีแรกที่เริ่มเรียนอย่างจริงจัง คือ เข้าปีที่ 2-3 แล้ว ยุ้ยจำเป็นต้องเก็บให้ได้ 60 หน่วยกิต/ปี นั่นคือ เรียนอัดเต็มทุกเทอม โดยไม่ให้ตกแม้แต่วิชาเดียว รวมทั้ง summer ด้วย เพื่อพิสูจน์ให้หลายๆ คนในช่วงนั้นที่คิดว่า ม.รามฯ เข้าง่ายจบยาก เป็นความคิดที่ผิด ยุ้ยใช้วิธีถนัดของยุ้ยในการเรียน นั่นคือ หาเคล็ดลับของการอ่านหนังสือ แบบไม่ใช้วิธีท่องจำ โดยเริ่มเข้าซุ้มเสด-เงิน ของ ม.รามฯ เพื่อหาเพื่อนรุ่นพี่ช่วยติวหนังสือให้ เพื่อนรุ่นพี่ในซุ้มนี้ จบเกียรตินิยมกันหลายคน ส่วนมากจบใน 4 ปีกันทั้งนั้น ผลสุดท้าย ยุ้ยจบได้ภายใน 3.5 ปี (รวมปีที่ดร๊อปเรียนช่วง ม.6) นั่นคือ จบตอนอายุ 19 ปี ยังไม่เต็ม 20 ปี นัก แต่คะแนนไม่ต้องพูดถึง เกรดเฉลี่ย 2.94 ก็เกินพอสำหรับเราแล้ว --> เรารู้ตัวทันทีเลยว่า เราเป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ภูมิใจในตัวเรามาก

การเรียน ปริญญาโท เริ่มได้แบบบังเอิญ จากการไปเป็นเพื่อนในการสอบนิด้า ด้วยความที่ไม่ชอบรอ เลยสมัครไปพร้อมๆ กันในคณะสถิติประยุกต์ สาขาประชากรและการพัฒนา ภาคพิเศษ (เป็นรุ่นแรกที่เพิ่งเปิด) ผลออกมาคือ เอ๊ะ ทำไมสอบติด ตอนนั้น ยุ้ยทำงานได้ 3 ปีแล้ว มานั่งคุยกับพ่อ เอาไงดีพ่อ สอบติด พ่อก็บอกว่า แล้วแต่เราซิ แต่ก็เรียนไปดีกว่านะ สุดท้าย ก็เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย พ่อเลยใช้วิธี ตอนเช้าไปส่งที่ทำงาน ตอนเย็นให้คนขับรถมารับที่ทำงานแถวอนุเสาวรีย์ชัย ไปส่งที่นิด้า แล้วพ่อก็ขับรถไปนอนรอรับกับแม่ทุกวัน เป็นแบบนี้จนจบ ช่วงเรียน ป.โท นั้น โรคประจำตัวเกิดถี่มาก จนหมอขอให้เลือกว่า จะเลือกเรียนอย่างเดียว หรือทำงานอย่างเดียว ตอนนั้น สุขภาพจิตเริ่มเสียหนักขึ้น ขนาดต้องหยุดสอบเพื่อนอน รพ. ไป 1 เดือน สุดท้าย คือ เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย (พ่อกับแม่ ก็เหมือนร่วมเรียนไปกับเราด้วย ร่วมเหนื่อยไปกับเราด้วย) ยุ้ยรู้เลยว่า ชีวิตนี้ ไม่มีใครรักเราได้เท่านี้อีกแล้ว ใครกันที่นอนรอลูก รับ-ส่งลูกได้ตั้งแต่ลูกคลอด ลูกทำงาน ลูกเรียน จนจบ ป.โท ยุ้ยจบมาพร้อมๆ กับเพื่อนในรุ่นได้ เพราะอาจารย์ให้ไปสอบทีหลังได้ แต่เกรดก็ไม่ได้ดีเลิศอะไรนัก แค่พอผ่าน คือ 3.28 (มหาวิทยาลัยบังคับจบที่ 3.25) ได้ปริญญามากอดอีก 1 ใบ

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • 2537: ผู้ช่วยนักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
  • 2543: เจ้าหน้าที่สารสนเทศ ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • 2545: ผู้ช่วยนักวิจัย ฝ่ายวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • 2551: ผู้ช่วยนักวิจัย ฝ่ายแผนกลยุทธ์และนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  • 2553-ปัจจุบัน: นักวิจัยนโยบาย ฝ่ายวิจัยนโยบาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ชีวิตในวัยทำงานนั้น เริ่มต้นแบบบังเอิญเช่นกัน ที่จริง ยุ้ยสนใจเรื่องตัวเลขมาแต่ไหนแต่ไรตั้งแต่วัยเด็ก พอเริ่มต้นสมัครงาน จึงมุ่งหน้าสมัครแต่สายที่ตนจบ คือ ธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ที่กำลังเฟื่องฟูในยุคนนั้น สมัยก่อน การสมัครงาน คุณสมบัติที่รับหลักๆ คือ 1.อายุ 22 ปีขึ้นไป 2.ดูมหาวิทยาลัยที่จบ 3.เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป เดินสมัครงานฝุ่นตลบผ่านไป 6 เดือนหลังจบการศึกษา ที่แรกที่เรียกไปสัมภาษณ์ คือ เนคเทค ในตำแหน่ง พนักงานการเงิน เพราะจบสายตรงมา ผลสุดท้ายก็ไม่ได้ แต่อีก 1 สัปดาห์ต่อมา เจ้านายคนแรก (ดร.จิตตภัทร เครือวรรณ์) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบาย เนคเทค ในช่วงนั้น เรียกมาถาม "คุณจะเริ่มทำงานได้เมื่อไร" โอ้ว ได้งานทำแล้ว เงินเดือนเริ่มต้น 7,300 บาท ดีใจที่สุด อีก 2 สัปดาห์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอุดมสุข (ปากซอยหน้าบ้าน) เรียกไปสัมภาษณ์ เราคิดทันทีเลยว่า "ชั้นรอเธอมานาน เวลาของเธอหมดแล้ว" นั่นเป็นจุดเริ่มต้นทำงานฝ่ายสายวิจัยนโยบาย 3 ปีแรกของการทำงาน พร่ำบอกกับตัวเองอยู่เสมอ เราไม่ชอบงานที่เราทำอย่างมาก ช่วงนั้น ยังไปแอบไปสมัคร บริษัท หลักทรัพย์ จนได้ ผู้อำนวยการฝ่ายก็ใจดี ให้ไปทดลองทำงาน 3 เดือน (2 สัปดาห์แรกให้ ลาพักร้อน หลังจากนั้น ลาออกไป) พอ 3 เดือนก็บอกตัวเองว่า "กลับที่เก่าเถอะ ไม่ใช่เรา" ผู้อำนวยการใจดี รับกลับมาทำงานเหมือนเดิม พอสมัคร ป.โท ได้ ก็อนุญาตให้ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยได้ ทำงานที่เนคเทค 6 ปี เกิดเหตุที่ ผอ.ตัดสินใจออกจากเนคเทค ไปเป็นอาจารย์จุฬาฯ เอาแล้วซิ แพแตก พี่ทำงานด้วย คนหนึ่งก็ได้ทุนไปเรียน ป.เอก อีก 2 คนหนึ่งลาออกไปเป็น นักวิจัยอิสระ เหลือเราคนเดียว เฝ้าฝ่ายแบบเหงาๆ ไป จนศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ตั้งกลุ่มงานใหม่ขึ้น ด้านวิชาการ ลักษณะงานเหมือนงานที่เราทำ มาชวนให้ย้ายไปทำด้วยกัน ก็ออกซิคะ ไม่คิดนานเลย สุดท้าย งานตรงนั้นถูกยุบไปรวมกับฝ่ายวิจัยนโยบายฯ ใหม่ที่ ดร.ชาตรี ศรีไพพรรณ ตั้งขึ้น เพราะงานซ้ำซ้อนกัน เราเลยถูกโอนย้ายไปทำงานนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มาจนวันนี้ หากจะให้บรรยายถึงงานที่ทำ คนบอกได้ไม่หมดว่า "ทำไมเราจึงกลายเป็นนักเขียนไปได้" เพราะงานบังคับให้ต้องทำก็ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง คือ เป็นคนชอบเขียนบทความอยู่แล้วเวลาไปเที่ยวตามที่ต่างๆ มันจึงไม่ยากเลยที่จะทำ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ชอบอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ พ่อปลูกฝังมาแต่เล็ก เพราะพ่อไม่พูด วันๆ พ่อเอาแต่อ่านหนังสือกำลังภายใน หนังสือโน่นนี่ ลูกคนเดียวจะทำอะไรได้ถ้าไม่มีเพื่อนเล่น ก็ต้องอ่านตามไปด้วย การเขียนภาษาราชการในหนังสือ เรื่องนี้ต้องขอบคุณ ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ ที่ให้แก้แล้ว แก้อีก กับจดหมาย 1 หน้า 20 รอบ ช่วง 7 ปีนั้น แม้จะเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของการทำงาน แต่ได้รับประสบการณ์ที่มากสุดของชีวิตการทำงานเลยก็ว่าได้ ทำให้มาถึงจุดนี้ในทุกวันนี้ได้ เราแค่ตัดสินใจไม่ไปอยู่สำนักงานใหม่ ที่ฝ่ายที่ทำงานต้อง spin-off ออกไปเป็นองค์กรอิสระ แม้จะร่วมก่อตั้งกันมา แต่การตัดสินใจใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น เหตุผลเดียวเลยคือ สวัสดิการ ไม่ดีเท่าที่ได้ ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เป็นจุดหักเห ที่ทำให้เส้นทางอาชีพการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ภารกิจเพื่อชาติ ถูกส่งมายังฝ่ายฯ และบังเอิญอีกนั่นแหละที่คนที่ถูกเลือก ลาออกไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอีก เลยหล่นปุ๊บมาที่ตักเรา การทำงานหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการระดับชาติ เป็นงานท้าทาย ต้องกระตือรือร้น ติดต่อผู้คนมากมาย จิตวิทยาต้องสูง เพราะต้อง balance ผู้คนที่คิดต่างกัน หลายๆ งานเป็นงานใหม่ที่ไม่เคยคิดทำกันมาก่อน ก็ถูกเริ่มคิดกันตั้งแต่นั้นมา หน้าที่หลักคือ เวียนสายพูดทำให้งานที่คิดขึ้น คลอดออกมาในทางปฏิบัติ แล้วหน่วยงานต่างๆ เอาไปใช้ได้จริง หลายคนที่ถูกส่งมา เริ่มล่าถอย เพราะเหนื่อยทั้งกาย และใจ ทำงาน 7 วัน วิ่งรอก ปั่น paper แทบไม่ได้กิน ไม่ได้นอน หลายๆ งานเชิงนโยบายระดับประเทศถูกคลอดออกมาพร้อมๆ กันจากคณะกรรมการชุดนั้น หลายหน่วยงานได้รับงบประมาณไปทำจากคณะกรรมการชุดนั้น นั่นเป็นความภูมิใจที่มีอยู่ในใจมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น นโยบายส่งเสริมการมี/การใช้รถไฟฟ้า บัญชีนวัตกรรมไทย บัญชีสิ่งประดิษฐ์ไทย ภาษี 300% เป็นต้น

ผลงานตีพิมพ์[แก้]

เอกสารเผยแพร่[แก้]

ผลงานวิจัย[แก้]

  • 2557 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนไอศกรีมโยเกิร์ตกะทิ”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
  • 2556 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2556 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การวิเคราะห์บทความวิชาการและการอ้างอิงบทความในวารสารวิชาการนานาชาติของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2556 • รายงานการศึกษา เรื่อง “แนวทางการปรับปรุงมาตรการทางภาษี เพื่อกระตุ้นการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในภาคเอกชน”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2556 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การวัดผลความสำเร็จของการใช้ผลการสำรวจความพึงพอใจเพื่อพัฒนาการให้บริการ”. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
  • 2554 • รายงานการศึกษา เรื่อง “ข้อเสนอแนะนโยบาย แนวคิดมาตรการการเพิ่มบุคลากรวิจัยที่ไม่ใช่พนักงาน สวทช. (NSTDA Visiting Research Fellowship)”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2554 • รายงานการศึกษา เรื่อง “ข้อเสนอนโยบายระบบทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ”. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรมทรัพย์สินทางปัญญา, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).
  • 2553 • รายงานการศึกษา เรื่อง รายงานการสำรวจความคิดเห็นพนักงาน สวทช. เกี่ยวกับ SPA ระยะที่ 1 (2549-2553). สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2551 • รายงานการศึกษา เรื่อง “เครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติในประเทศไทย”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2551 • รายงานการศึกษา เรื่อง “แนวปฏิบัติที่ดีในการก้าวกระโดดของการพัฒนากำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอินเดีย”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2550 • รายงานการศึกษา เรื่อง“แนวทางการพัฒนาอาชีพนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภาคการผลิตและบริการ”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2548 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การวิเคราะห์งบประมาณและค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐบาลไทยปี 2546-2547”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2547 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การวิเคราะห์งบประมาณและค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐบาลไทยปี 2544-2546”. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • 2546 • รายงานการศึกษา เรื่อง “การจัดลำดับความสำคัญการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

อบรม ดูงาน[แก้]

  • 2556 • “Seminar on Science and Technology Policies and Management for Developing Countries” ณ เมืองปักกิ่ง และนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 9-28 มิถุนายน 2556. จัดโดย China Science and Technology Exchange Center, Ministry of Science and Technology. China.