บูราฮานูดิน อุเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บูราฮานูดิน อุเซ็ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กันยายน พ.ศ. 2497
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
เสียชีวิต17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (61 ปี)
โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
คู่สมรสมะสะยีห์ อุเซ็ง

บูราฮานูดิน อุเซ็ง (13 กันยายน พ.ศ. 2497 - 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

บูราฮานูดิน อุเซ็ง เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายหะยีอับดุลลาเต๊ะ กับนางแวแย อุเซ็ง[1] และเป็นน้องชายของนายอุสมาน อุเซ็ง สำเร็จการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก มหาวิทยาลัยการาจี ประเทศปากีสถาน

บูราฮานูดิน อุเซ็ง เสียชีวิตด้วยอาการไตวาย เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สิริอายุรวม 61 ปี [2]

การทำงาน[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บูราฮานูดิน ได้เข้ารับราชการในสังกัด กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย วนเวียนไปมาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปลัดอำเภอ, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และ เจ้าหน้าที่อบรม[3]

งานการเมือง[แก้]

บูราฮานูดิน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งรวม 2 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

บูราฮานูดิน อุเซ็ง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. อาลัย บูราฮานูดิน อุเซ็ง คนทำงานการเมือง ต่อสู้เพื่อมุสลิมชายแดนใต้[ลิงก์เสีย]
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยะลา. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒