บากองปักสีลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บากองปักสีลาง

เพลงชาติของ
ขบวนการสังคมใหม่ฟิลิปปินส์

เนื้อร้องเลไว เซเลลิโอ, พ.ศ. 2516
ทำนองเฟลิเป พาลิดา เด เลออง, พ.ศ. 2516
รับไปใช้พ.ศ. 2516
เลิกใช้พ.ศ. 2529
ตัวอย่างเสียง
ตัวอย่างเพลง บากองปักสีลาง

บากองปักสีลาง (ตากาล็อก: Bagong Pagsilang, อังกฤษ: New Birth or Rebirth, ไทย: นี่คือเวลาแห่งการเกิดใหม่) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มาซานักบากองลีปูนาน (ตากาล็อก: Martsa ng Bagong Lipunan, อังกฤษ: March of the New Society) เป็นเพลงปลุกใจของประเทศฟิลิปปินส์ในยุคของอดีตประธานาธิบดีและอดีตเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นในช่วงยุคกฎอัยการศึกโดยมาร์กอสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปี พ.ศ. 2529 ซึ่งประพันธ์คำร้องและทำนองโดยเลไว เซเลลิโอและเรียบเรียงโดยเฟลิเป พาลิดา เด เลออง และถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516[1][2][3][4][5]

ประวัติ[แก้]

จากคำบอกเล่าของลูกชายคนโตของเด เลออง ผู้เรียบเรียงเพลงนี้ เขากล่าวว่าเพลงนี้ถูกประพันธ์ขึ้นหลังการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดีมาร์กอส โดยมีรถถังของกองทัพล้อมบ้านของเด เลอองและขอให้ประพันธ์เพลงปลุกใจตามความประสงค์ของอีเมลดา มาร์กอส สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฟิลิปปินส์ ณ ขณะนั้น เด เลอองจึงขอความช่วยเหลือจากเขาในการประพันธ์เพลงนี้ขึ้นมา โดยเขาเริ่มประพันธ์ทำนอง 16 ท่อนแรก ก่อนที่เด เลอองจะนำท่อนที่ตนประพันธ์ไว้มารวมกับของเขาที่ประพันธ์นก่อนหน้านี้จึงแล้วเสร็จ[6] โดยใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลง บทเพลงแห่งการสร้างสรรค์ฟิลิปปินส์ใหม ที่เด เลอองประพันธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2485

เพลงนี้ถูกบรรจุในอัลบั้ม มางาร์อาวิตินอัทตุกตุกอินนักฟิลิปินัสซาบากองลีปูนาน ที่จัดทำขึ้นโดยวงดนตรีและคณะนักร้องประสานเสียงของตำรวจฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2516[7][8][9] และถูกบันทึกไว้ในหนังสือ มางาร์อาวิทซาบากองลีปูนาน ในปี พ.ศ. 2517 ร่วมกับเพลงปลุกใจอื่นและเพลงชาติฟิลิปปินส์[10]

เพลงนี้กลับมาเป็นที่รู้จักในสังคมฟิลิปปินส์อีกครั้งจากการถูกนำมาใช้ในการหาเสียงของบองบอง มาร์กอส ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2565 และยังถูกบรรเลงในการตรวจพลสวนสนามของประธานาธิบดีบองบองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และถูกใช้อีกครั้งในระหว่างการเยือนค่ายทหารที่มินดาเนาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ปีเดียวกัน

เนื้อเพลง[แก้]

"บากองปักสีลาง"
เนื้อเพลงในภาษาตากาล็อก
"บทเพลงแห่งสังคมใหม่"
แปลเป็นภาษาไทย

Koro:
May bagong silang.
May bago nang buhay,
Bagong bansa, bagong galaw
Sa Bagong Lipunan!
Magbabago ang lahat, tungo sa pag-unlad,
At ating itanghal: Bagong Lipunan!

Koro

Ang gabi'y nagmaliw nang ganap,
At lumipas na ang magdamag.
Madaling araw ay nagdiriwang.
May umagang namasdan.
Ngumiti na ang pag-asa
Sa umagang anong ganda!

Koro

ประสานเสียง:
นี่คือเวลาแห่งการจุติขึ้นอีกครั้ง
นี่คือเวลาแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่
ประเทศแบบใหม่ จงเดินหน้าสู่สิ่งใหม่
ด้วยระเบียบสังคมใหม่
ทุกสิ่งทุกอย่างจะวิวัฒนาเพื่อเดินหน้า
จงร่วมป่าวร้องพร้อมเพียงกัน: "นี่คือระเบียบสังคมใหม่"!

ประสานเสียง

ยามราตรีความมืดมนสิ้นสุดแล้ว
วันเวลาสองยามผ่านพ้นไป
ถึงเวลารุ่งอรุณแห่งความสุข
ยามเช้าในสายตาเรา
แห่งความหวัง ความสุขที่ยิ้มให้
แด่รุ่งอรุณ โอ้! อันสวยงามตระการตา

ประสานเสียง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bagong Lipunan (Hymn of the New Society)". Himig. 2009. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  2. "Bagong Lipunan: The song, the vision, and the nightmare". InterAksyon. September 20, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 20, 2016. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  3. Galarpe, Karen (September 12, 2012). "'Bagong Lipunan', the Metrocom, and my other memories of Martial Law". GMA News. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  4. "Bagong Pagsilang". Internet Archive. Presidential Museum and Library. November 11, 2015. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  5. "Bagong Pagsilang (March of the New Society)". Himig. 2009. สืบค้นเมื่อ October 21, 2016.
  6. Mirano, Elena Rivera. "Felipe Padilla de Leon: Memories of my Father. An interview with Felipe de Leon Jr". Musika Jornal. 10: 77–78.
  7. "Bagong Lipunan by the Philippine Constabulary Choral Ensemble with Band Accompaniment".
  8. "Philippine Constabulary Band, Philippine Constabulary Choral Ensemble - Mga Awitin at Tugtugin Ng Pilipinas Sa Bagong Lipunan". Discogs. February 23, 2020.
  9. "Filipinas Heritage Library | Biblio".
  10. Hila, Antonio C. (2007). The Musical Arts in the New Society. p. 79.