นิวกินีของเยอรมนี

พิกัด: 4°12′S 152°11′E / 4.200°S 152.183°E / -4.200; 152.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิวกินีของเยอรมนี

Deutsch-Neuguinea  (เยอรมัน)
ค.ศ. 1884–1920
ธงชาตินิวกินีของเยอรมนี
ธงนิวกินีของเยอรมนี
ธงรัฐบาลอาณานิคม
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิเยอรมันของนิวกินีของเยอรมนี
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิเยอรมัน
นิวกินีของเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
นิวกินีของเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สถานะอาณานิคม
เมืองหลวงฟินช์ฮาเฟิน
(ค.ศ. 1884–1891)
มาดัง
(ค.ศ. 1891–1899)
แฮร์แบทซ์เฮอเออ
(ค.ศ. 1899–1910)
ซิมพ์ซ็อนฮาเฟิน
(ค.ศ. 1910–1914)
ภาษาราชการเยอรมัน
ภาษาทั่วไปอุนเซอร์ด็อยทช์ ปาปัว ออสโตรนีเซียน
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1884–1888
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1
• ค.ศ. 1888
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3
• ค.ศ. 1888–1918
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2
ผู้ว่าราชการ 
• ค.ศ. 1884–1887
กุสทัฟ ฟ็อน เอิร์ทเซิน
• ค.ศ. 1901–1914
อัลแบร์ท ฮาล
ยุคประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมของเยอรมันในมหาสมุทรแปซิฟิก
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1884
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899
17 กันยายน ค.ศ. 1914
28 มิถุนายน ค.ศ. 1919
17 ธันวาคม ค.ศ. 1920
พื้นที่
ราว ค.ศ. 1912249,500 ตารางกิโลเมตร (96,300 ตารางไมล์)
ประชากร
• ราว ค.ศ. 1912
600,000
สกุลเงินมาร์คนิวกินี
ก่อนหน้า
ถัดไป
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปน
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
หมู่เกาะโซโลมอนของบริเตน
นาอูรูในอาณัติ
ดินแดนนิวกินี
หนังสือเดินทางนิวกินี ค.ศ. 1907 ที่ลงนามโดยอัลแบร์ท ฮาล ผู้ว่าราชการนิวกินีของเยอรมนี

นิวกินีของเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsch-Neuguinea) เป็นอาณานิคมแห่งแรกของจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน ประกอบด้วยพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะนิวกินีและหมู่เกาะใกล้เคียง อาณานิคมส่วนแผ่นดินใหญ่ที่ชื่อว่า "ไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์" (Kaiser-Wilhelmsland) มีสถานะเป็นรัฐในอารักขาตั้งแต่ ค.ศ. 1884 แล้วจึงมีการผนวกรวมหมู่เกาะอื่นตามมาภายหลัง โดยใน ค.ศ. 1885 กลุ่มเกาะบิสมาร์ก (นิวบริเตน นิวไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก) และหมู่เกาะโซโลมอนเหนือได้ประกาศจัดตั้งเป็นรัฐในอารักขาของเยอรมนี ต่อมาใน ค.ศ. 1899 เยอรมนีได้ซื้อหมู่เกาะแคโรไลน์ ปาเลา และหมู่เกาะมาเรียนา (ยกเว้นกวม) จากสเปน หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1906 นิวกินีของเยอรมนีจึงได้รวมรัฐในอารักขาหมู่เกาะมาร์แชลล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งจากที่ก่อนหน้านี้แยกขาดจากกัน ซึ่งรวมถึงนาอูรูด้วย ส่วนซามัวของเยอรมนีที่แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน แต่ก็มิใช่ส่วนหนึ่งของนิวกินีของเยอรมนีแต่อย่างใด

หลังการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียเข้ายึดครองไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์และหมู่เกาะข้างเคียง ขณะที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ของเยอรมนีในแปซิฟิก โดยในปัจจุบัน นิวกินีของเยอรมนีแผ่นดินใหญ่ (Kaiser-Wilhelmsland), กลุ่มเกาะบิสมาร์ก, และหมู่เกาะโซโลมอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปาปัวนิวกินี ส่วนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนากลายเป็นดินแดนที่มิได้ปกครองโดยระบบเทศบาลของสหรัฐ และหมู่เกาะแคโรไลน์ (ในฐานะสหพันธรัฐไมโครนีเชีย) หมู่เกาะมาร์แชลล์ นาอูรู และปาเลา กลายเป็นประเทศเอกราช

ในช่วงอาณานิคม หมู่เกาะทางตะวันออกของไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มเกาะบิสมาร์ก (เดิมชื่อ "กลุ่มเกาะนิวบริแทนเนีย") และสองหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "น็อยพ็อมเมิร์น" (Neupommern; 'พอเมอเรเนียใหม่' ปัจจุบันคือนิวบริเตน) และ "น็อยเมคเลินบวร์ค" (Neumecklenburg; 'เมคเลินบวร์คใหม่' ปัจจุบันคือเกาะนิวไอร์แลนด์)[1] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเข้าถึงทางน้ำ เกาะรอบนอกเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากที่สุดและปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่

มีการก่อตั้ง "รัฐในอารักขาแปซิฟิกของจักรวรรดิเยอรมัน" ในหมู่เกาะของเยอรมนีในแปซิฟิกตะวันตก (ยกเว้นซามัวของเยอรมนี) ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของนิวกินีของเยอรมนี เช่นเดียวกับกลุ่มเกาะบิสมาร์ก (นิวบริเตน นิวไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก), หมู่เกาะโซโลมอนเหนือ (บูกา บูเกนวิลล์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก), หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา, หมู่เกาะมาเรียนา (ยกเว้นกวม), หมู่เกาะมาร์แชลล์, และนาอูรู ทำให้นิวกินีของเยอรมนีครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 249,500 ตารางกิโลเมตร (96,300 ตารางไมล์)[2]

อาณาเขต[แก้]

อาณาเขต ช่วงเวลา พื้นที่ (โดยประมาณ) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์ 1884–1919 181,650 ตารางกิโลเมตร[3] ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี
กลุ่มเกาะบิสมาร์ก 1899–1919 49,700 ตารางกิโลเมตร ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี
เกาะบูกา 1899–1919 492 ตารางกิโลเมตร[4] ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี
เกาะบูเกนวิลล์ 1899–1919 9,318 ตารางกิโลเมตร ธงของประเทศปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี
ปาเลา 1899–1919 466 ตารางกิโลเมตร[3] ธงของประเทศปาเลา ปาเลา
หมู่เกาะแคโรไลน์ 1899–1919 2150 ตารางกิโลเมตร[5] ธงของประเทศไมโครนีเชีย ไมโครนีเชีย
ธงของประเทศปาเลา ปาเลา
นาอูรู 1906–1919 21 ตารางกิโลเมตร ธงของประเทศนาอูรู นาอูรู
หมู่เกาะมาเรียนา 1899–1919 461 ตารางกิโลเมตร ธงของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
หมู่เกาะมาร์แชลล์ 1906–1919 181 ตารางกิโลเมตร ธงของสาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์

อ้างอิง[แก้]

  1. William Churchill, 'Germany's Lost Pacific Empire' (1920) Geographical Review 10 (2) pp. 84–90 at p. 84
  2. "Deutsche Südsee-Schutzgebiete: Deutsch-Neuguinea, Marianen, Karolinen und Marshall-Inseln" [German South Seas Protectorates: German New Guinea, Mariana Islands, Caroline Islands and Marshall Islands]. Deutsche Schutzgebiete (ภาษาเยอรมัน). 12 November 2017.
  3. 3.0 3.1 "Rank Order – Area". CIA World Fact Book. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 12 April 2008.
  4. "Encyclopædia Britannica: Buka Island". สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  5. "The Pacific War Online Encyclopedia". สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Peter Biskup: Hahl at Herbertshoehe, 1896–1898: The Genesis of German Native Administration in New Guinea, in: K. S. Inglis (ed.): History of Melanesia, Canberaa – Port Moresby 1969, 2nd ed. 1971, 77–99.
  • Firth, Stewart: Albert Hahl: Governor of German New Guinea. In: Griffin, James, Editor: Papua New Guinea Portraits: The Expatriate Experience. Canberra: Australian National University Press; 1978: 28–47.
  • Firth, S. G.: The New Guinea Company, 1885–1899: A Case of Unprofitable Imperialism. in: Historical Studies. 1972; 15: 361–377.
  • Firth, Stewart G.: Arbeiterpolitik in Deutsch-Neuguinea vor 1914. In: Hütter, Joachim; Meyers, Reinhard; Papenfuss, Dietrich, Editors: Tradition und Neubeginn: Internationale Forschungen zur deutschen Geschichte im 20. Jahrhundert. Köln: Carl Heymanns Verlag KG; 1975: 481–489.
  • Noel Gash – June Whittaker: A pictorial history of New Guinea, Jacaranda Press: Milton, Queensland 1975, 312 p., ISBN 1862730253.
  • Whittaker, J L; Gash, N. G.; Hookey, J. F.; and Lacey R. J. (eds.) : Documents and Readings in New Guinea History: Prehistory to 1889, Jacaranda Press: Brisbane 1975/1982
  • Firth, Stewart (1973). "German Firms in the Western Pacific Islands". Journal of Pacific History. 8 (1): 10–28. doi:10.1080/00223347308572220.
  • Firth, Stewart G.: German Firms in the Pacific Islands, 1857–1914. In: Moses, John A.; Kennedy, Paul M., Editors. Germany in the Pacific and Far East, 1870–1914. St. Lucia: University of Queensland Press; 1977: 3–25
  • Firth, Stewart (1985). "German New Guinea: The Archival Perspective". Journal of Pacific History. 20 (2): 94–103. doi:10.1080/00223348508572510.
  • Firth, Stewart: The Germans in New Guinea. In: May, R. J.; Nelson, Hank, Editors: Melanesia: Beyond Diversity. Canberra: Australian National University, Research School of Pacific Studies; 1982: 151–156.
  • Firth, Stewart (1976). "The Transformation of the Labour Trade in German New Guinea, 1899–1914". Journal of Pacific History. 11 (1): 51–65. doi:10.1080/00223347608572290.
  • Firth, Stewart. Labour in German New Guinea. In: Latukefu, Sione, Editor. Papua New Guinea: A Century of Colonial Impact 1884–1984. Port Moresby: The National Research Institute and the University of Papua New Guinea in association with the PNG Centennmial Committee; 1989: 179–202.
  • Moses, John, and Kennedy, Paul, Germany in the Pacific and Far East 1870–1914, St Lucia Qld: Queensland University Press, 1977. ISBN 978-0702213304
  • Sack, Peter, ed., German New Guinea: A Bibliography, Canberra ACT: Australian National University Press, 1980, ISBN 978-0909596477
  • Firth, Stewart: New Guinea Under the Germans, Melbourne University Press : International Scholarly Book Services: Carlton, Vic. 1983, ISBN 978-0522842203, reprinted by WEB Books: Port Moresby 1986, ISBN 9980570105.
  • Foster, Robert J. (1987). "Komine and Tanga: A Note on Writing the History of German New Guinea". Journal of Pacific History. 22 (1): 56–64. doi:10.1080/00223348708572551.
  • Mary Taylor Huber: The Bishops’ Progress. A Historical Ethnography of Catholic Missionary Experience of Catholic Missionary Experience on the Sepik Frontier, Smithsonian Institution Press: Washington and London 1988, 264 pp., ISBN 0-87474-544-6.
  • Mary Taylor Huber: The Bishops’ Progress: Representations of Missionary Experience on the Sepik Frontier, in: Nancy Lutkehaus (ed.): Sepik Heritage. Tradition and Change in Papua New Guinea, Crawford House Press: Bathurst, NSW (Australia) 1990, 663 pp. + 3 maps, ISBN 1-86333-014-3., pp. 197–211.
  • Keck, Verena. "Representing New Guineans in German Colonial Literature," Paideuma: Mitteilungen zur Kulturkunde (2008), Vol. 54, pp 59–83.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

4°12′S 152°11′E / 4.200°S 152.183°E / -4.200; 152.183