ข้ามไปเนื้อหา

นักบวชฆ่าไม่ต้องบวช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบวชฆ่าไม่ต้องบวช
กำกับKurt Wimmer
บทภาพยนตร์Kurt Wimmer
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพDion Beebe
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบKlaus Badelt
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายMiramax Films
วันฉาย6 ธันวาคม ค.ศ. 2002 (2002-12-06)
ความยาว107 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

นักบวชฆ่าไม่ต้องบวช (อังกฤษ: Equilibrium) เป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์[3]จากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกฉายปี ค.ศ. 2002 เขียนบทและกำกับภาพยนตร์โดย Kurt Wimmer นำแสดงโดย คริสเตียน เบล , Emily Watson และ Taye Diggs

เรื่องย่อ[แก้]

ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวในอนาคต ปี คศ. 2072 หลังสงครามโลกครั้งที่ 3 สิ้นสุดลง ทางรัฐบาลได้กล่าวว่าปัญหาที่ทำให้เกิดสงคราม คืออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ จึงได้มีการสร้างกลุ่มนักบวชที่เคร่งครัดในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก หนึ่งในนักบวชฝีมือขั้นสูงคือ John Preston (Bale) เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายที่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ประชาชนมีความรู้สึกและมีการแสดงออกอารมณ์ เขามีหน้าที่ปราบปรามกลุ่มใต้ดินที่พยายามต่อต้านแนวความคิดของรัฐบาล โดยความสามารถในการต่อสู้ด้วยปืนระยะประชิด มาวันหนึ่ง Preston ได้เกิดความรู้สึกประทับใจกับแสงยามเย็นจากหน้าต่างในห้องนอนของเขา เมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเริ่มเกิดความรู้สึก เขาจึงรีบไปฉีดยาเพื่อกำจัดความรู้สึกประทับใจนั้นออกไป แต่เขาเองพบว่าเขายังคงเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่อยากรู้ว่าความรู้สึกคืออะไร จึงเลือกที่จะไม่ฉีดยาจำกัดความรู้สึกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และพร้อมกันนั้นก็ต้องซ่อนตัวไว้ไม่ให้ถูกจับได้โดย แม้สังคมที่เริ่มสงสัยในตัวเขาว่าเขาเองกำลังมีความรู้สึก โดยเฉพาะเพื่อนนักบวชของเขา

Preston ได้รับภารกิจจากทางโบสถ์ให้กำจัดกลุ่มใต้ที่จะก่อการปฏิวัติ โค่นล้มรัฐบาลที่บังคับประชาชนให้ต้องรับยาที่กดอารมณ์ต่อเนื่องทุกวัน ในระหว่างการต่อสู้ในภารกิจเขาสบตากับหนึ่งกลุ่มต่อต้านที่สิ้นใจลงด้วยน้ำมือของเขา จากการที่เขาไม่ได้รับยากดความรู้สึกมาระยะหนึ่ง เหตุการณ์นั้นทำให้เขาเกิดความรู้สึกเห็นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เขาได้ตรวจสอบของกลางที่ละเมิดกฎหมายที่กลุ่มใต้ดินเก็บไว้ เหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นงานศิลปและสิ่งกระตุ้นความรู้สึก เขาได้สำรวจจนพบแผ่นเสียง ซิมโฟนีหมายเลข 9 (เบทโฮเฟิน) ของ ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน เมื่อได้ฟัง ดนตรีได้ทำให้เขาร้องไห้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกที่เก็บไว้ข้างในออกมาด้วยความประทับใจ แม้เขาจะต้องทำลายของกลางตามหน้าที่ แต่เขาได้คำถามในใจหน้าที่นักบวชของเขา

หลังจากการปราบปรามนั้นได้เสร็จสิ้น เขาได้รับภารกิจที่ต้องไปตามหาผู้นำของกลุ่มใต้ดิน เขาได้สืบสวนเพิ่มเติมจากภรรยาของกลุ่มต่อต้านจนนำไปสู่การพบหัวหน้ากลุ่มใต้ดิน ซึ่งหัวหน้ากลุ่มใต้ดินคือเพื่อนนักบวชในวันเด็กของ Preston ก่อนที่จะแปรพักตร์มาเป็นกลุ่มใต้ดิน การพบกันทำให้ Preston ได้นึกย้อนไปถึงวันที่ครอบครัวเขาเองนั้นเคยมีภรรยาที่เขารับ ซึ่งเธอละเมิดกฎการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก จากการไม่ใช้ยากดความรู้สึก รวมถึงให้การร่วมมือกับกลุ่มใต้ดิน นั่นจึงทำให้เธอถูกจับกุมไปประหารชีวิตในท้ายที่สุด ทำให้ Preston ต้องอยู่กับลูกชายและลูกสาวโดยไม่มีแม่ของลูกๆเขา ต่อมาเขาได้รู้ว่าลูกๆของเขา ได้เลิกใช้ยากดความรู้สึกตั้งแต่แม่ของพวกเขาเสียชีวิตไป Preston จึงตัดสินใจเข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน เขาพยายามไปช่วยแหล่งข่าวของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มใต้ดิ ซึ่งเธอกำลังจะถูกประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น แต่เขาไปช่วยไม่ทันเวลา

Preston ถูกนักบวชอีกคนจับได้ว่าแอบมีสัมพันธ์กับหญิงสาวที่เป็นแหล่งข่าวของเขา เขาสามารถแก้ตัวจากการโดยจับกุมได้โดยการใส่ร้ายนักบวชคนที่ไปจับกุมเขาโดยใช้หลักฐานปลอมจากการสลับปืนในระหว่างทำภารกิจ ทำให้เขาหลุดพ้นจากความผิด และได้รับการเลื่อนขั้นเป็นนักบวชชั้นสูงสุดจากผู้นำโบสถ์ โดยเขาต้องผ่านการทดสอบว่าไม่มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างสมบูรณ์ด้วยผ่านเครื่องจับเท็จ ซึ่งผลคือ Preston ยังมีความรู้สึก กลุ่มยามพยายามห้ามไว้ แต่ด้วยความสามารถในการต่อสู้ เขาจึงสามารถฝ่ากลุ่มยามจำนวนมากไปสังหารผู้นำโบสถ์ได้สำเร็จ เขาสามารถช่วยกลุ่มให้กลุ่มใต้ดินมาปลดปล่อยความรู้สึกของผู้คนจากการโดนบังคับให้ไม่มีความรู้สึกมาเป็นเวลานานได้สำเร็จ

อ้างอิง[แก้]

  1. "EQUILIBRIUM (15)". British Board of Film Classification. November 25, 2002. สืบค้นเมื่อ November 17, 2014.
  2. 2.0 2.1 "Equilibrium (box-office performance)]". The Numbers. สืบค้นเมื่อ March 22, 2015.
  3. "Equilibrium (2002)". AllMovie. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2021. สืบค้นเมื่อ July 17, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]