ธงสีรุ้ง (กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงสีรุ้ง
ธงสีรุ้งรูปแบบปัจจุบัน (รูปแบบปี พ.ศ. 2522)
ธงแอลจีบีจีไพรด์
การใช้สัญลักษณ์ของชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ประกาศใช้พ.ศ. 2521
ลักษณะธงลายทาง โดยทั่วไปประกอบด้วยแถบหกสี (จากบนลงล่าง) ได้แก่ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง
ออกแบบโดยกิลเบิร์ต เบเกอร์
โรงแรมสโตนวอลล์ในหมู่บ้านกรีนวิช แมนฮัตตัน ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุจลาจลสโตนวอลล์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2512 ได้รับการประดับประดาด้วยธงไพรด์สีรุ้ง ในปี พ.ศ. 2559[1][2][3]

ธงสีรุ้ง (อังกฤษ: rainbow flag) หรือที่เรียกว่า ธงเกย์ไพรด์ (อังกฤษ: gay pride flag) หรือ ธงไพรด์ (อังกฤษ: pride flag) เป็นสัญลักษณ์ของความภาคภูมิใจของเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ (แอลจีบีที) และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ละสีสะท้อนถึงความหลากหลายของชุมชนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และสเปกตรัมของเพศวิถีและสถานะเพศของมนุษย์ การใช้ธงสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งเกย์ไพรด์ เริ่มต้นขึ้นในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และในที่สุดก็กลายเป็นสิ่งที่มีทั่วไปในงานสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก

ธงสีรุ้งสร้างสรรค์โดยศิลปินกิลเบิร์ต เบเกอร์, ลินน์ เซเกอร์บลอม, เจมส์ แม็กนามารา และนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ[4][5][6][7] การออกแบบผ่านการแก้ไขหลายครั้งหลังจากเปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 และสานต่อแรงบันดาลใจให้เกิดรูปแบบต่าง ๆ กัน แม้ว่าธงสีรุ้งดั้งเดิมของเบเกอร์จะมี 8 สี[8] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน ธงสีรุ้งรูปแบบทั่วไปประกอบด้วยแถบ 6 สีได้แก่ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง โดยทั่วไปธงจะแสดงในแนวนอนโดยมีแถบสีแดงอยู่ด้านบนสุด เพื่อเลียนแบบสีของรุ้งกินน้ำตามธรรมชาติ

ปัจจุบันกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและกลุ่มพันธมิตรใช้ธงสีรุ้งและสิ่งของต่าง ๆ ที่มีธีมสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอัตลักษณ์หรือหรือการสนับสนุนของพวกตน มีธงสีรุ้งหลากหลายแบบที่ใช้เพื่อมุ่งความสนใจไปที่เหตุหรือกลุ่มเฉพาะในชุมชน (เช่น คนข้ามเพศ การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ รวมไปถึงกลุ่มคนผิวสีที่มีความหลากหลายทางเพศ) นอกจากสีรุ้งแล้ว ยังมีการใช้ธงและสัญลักษณ์ อื่น ๆ เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์เฉพาะภายในชุมชนบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

อ้างอิง[แก้]

  1. Goicichea, Julia (August 16, 2017). "Why New York City Is a Major Destination for LGBT Travelers". The Culture Trip. สืบค้นเมื่อ February 2, 2019.
  2. Rosenberg, Eli (June 24, 2016). "Stonewall Inn Named National Monument, a First for the Gay Rights Movement". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 25, 2016.
  3. "Workforce Diversity The Stonewall Inn, National Historic Landmark National Register Number: 99000562". National Park Service, U.S. Department of the Interior. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  4. "Long-Lost Fragment of First Rainbow Pride Flag Resurfaces After Four Decades".
  5. "The Rainbow Flag: Lynn Segerblom & Lee Mentley".
  6. "The woman behind the Rainbow Flag". March 3, 2018.
  7. "HERSTORY – Meet Lynn Segerblom, One of the Creators of the Original 1978 Rainbow Flag - WeHo Times West Hollywood Daily News, Nightlife and Events". July 18, 2018.
  8. "The Rainbow Flag". สืบค้นเมื่อ May 29, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]