ช่วงอายุคาลาเบรียน

พิกัด: 39°02′19″N 17°08′06″E / 39.03861°N 17.13500°E / 39.03861; 17.13500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช่วงอายุคาลาเบรียน
1.80 – 0.774 ล้านปีก่อน
วิทยาการลำดับเวลา
นิรุกติศาสตร์
ความเป็นทางการของชื่อทางการ
ข้อมูลการใช้
เทห์วัตถุโลก
การใช้ระดับภาคทั่วโลก (ICS)
การใช้ช่วงเวลาธรณีกาลของ ICS
การนิยาม
หน่วยวิทยาการลำดับเวลาช่วงอายุ
หน่วยลำดับชั้นหินหินช่วงอายุ
ความเป็นทางการของช่วงกาลทางการ
คำนิยามขอบล่างที่ความลึกประมาณ 8 เมตรหลังจากการสิ้นสุดของสภาพขั้วแม่เหล็กในหินรุ่น C2n (ออลดูไว)
ขอบล่าง GSSPชั้นหินวรีซา แคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี
39°02′19″N 17°08′05″E / 39.0385°N 17.1348°E / 39.0385; 17.1348
การอนุมัติ GSSP5 ธันวาคม 2554 (ในฐานะฐานของช่วงอายุคาลาเบรียน)[3]
คำนิยามขอบบนที่ความลึก 1.1 เมตรใต้จุดกึ่งกลางของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ
ขอบบน GSSPจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
35°17′39″N 140°08′47″E / 35.2943°N 140.1465°E / 35.2943; 140.1465
การอนุมัติ GSSPมกราคม 2563[4]

ช่วงอายุคาลาเบรียน (อังกฤษ: Calabrian) คือการแบ่งย่อยของสมัยไพลสโตซีนในธรณีกาล กำหนดไว้ที่ 1.8 ล้านปีก่อนถึง 774,000 ปีก่อน (±5,000 ปี) นับเป็นช่วงเวลาประมาณ 1.026 ล้านปี

จุดสิ้นสุดของช่วงอายุนี้ถูกกำหนดโดยการสลับขั้วแม่เหล็กโลก (7.81 แสนปีก่อน ±5 พันปี) และการพลันจ์เข้าสู่ยุคน้ำแข็ง โลกที่แห้งแล้งอาจหนาวเย็นและแห้งแล้งกว่าในช่วงอายุไมโอซีนตอนปลาย (ช่วงอายุเมสซิเนียน) จนถึงช่วงอายุไพลโอซีนตอนต้น (ช่วงอายุแซนเคลียน) ที่มีอากาศหนาวเย็น[5] เดิมทีคาลาเบรียนเป็นชื่อของหินช่วงอายุสัตวชาติอ้างอิงจากซากดึกดำบรรพ์มอลลัสก์ของทวีปยุโรป ต่อมานำมาใช้เป็นชื่อของช่วงอายุทางธรณีวิทยาในตอนต้นของสมัยไพลสโตซีน ซึ่งเริ่มต้นด้วยช่วงอายุเจลาเซียน ตัวอย่างเช่น พลาติโกนัสและสัตวชาติแบลงกันจะปรากฏครั้งแรกในช่วงอายุดังกล่าว

ประวัติของการนิยามช่วงอายุคาลาเบรียน[แก้]

เนื่องจากเปลือกหอยเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีจำนวนมาก นักธรณีวิทยาในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 จึงใช้มอลลัสกาและแบรคิโอพอดในการระบุขอบเขตการลำดับชั้นหิน ดังนั้น ช่วงอายุคาลาเบรียนแต่เดิมจึงถูกกำหนดให้เป็นกลุ่มชีวินของซากดึกดำบรรพ์มอลลัสกาและแบรคิโอพอดส่วนใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปในตอนนั้น จากนั้นจึงมีการพยายามค้นหาการนำเสนอที่ดีที่สุดของกลุ่มชีวินในชั้นหินการลำดับชั้นหิน ปี พ.ศ. 2491 นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การปรากฏของสัตวชาติไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำเย็น (ตอนเหนือ) ในตะกอนทะเลของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นหมุดหมายการเริ่มต้นของช่วงอายุคาลาเบรียน การประชุมธรณีวิทยาสากลครั้งที่ 18 ณ กรุงลอนดอนในเวลาต่อมาจึงได้กำหนดฐานของสมัยไพลสโตซีนไว้ที่ชั้นหินทะเลของหินช่วงอายุสัตวชาติคาลาเบรียน (Calabrian Faunal Stage) และกำหนดชั้นหินแบบฉบับไว้ในอิตาลีตอนใต้ อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบว่าชั้นหินแบบฉบับดั้งเดิมมีความไม่ต่อเนื่องที่จุดดังกล่าวและที่ฐานของหินช่วงอายุคาลาเบรียน ซึ่งได้นิยามไว้ตามกลุ่มชีวินของสัตวชาติอันขยายออกไปจนถึงในช่วงก่อนหน้าในสมัยไพลสโตซีน จึงมีการเลือกชั้นหินแบบฉบับขึ้นใหม่ห่างจากแหล่งเดิมไปหลายไมล์ ณ วรีซา ตั้งอยู่ห่างจากของเทศบาลโกรโตเน แคว้นคาลาเบรียทางตอนใต้ 4 กิโลเมตร การวิเคราะห์ไอโซโทปของสตรอนเชียมและออกซิเจน รวมถึงแพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอราได้ยืนยันถึงความอยู่รอดได้ภายในชั้นหินแบบฉบับนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 การประชุมธรณีวิทยาสากลครั้งที่ 27 ณ กรุงมอสโกจึงได้มีการอนุมัติหินแบบฉบับอย่างเป็นทางการ และช่วงเวลาเริ่มต้นที่แต่เดิมคาดว่าประมาณ 1.65 ล้านปีก่อนได้ถูกคำนวณใหม่เป็น 1.806 ล้านปีก่อนแทน[6]

การนิยามทางการปัจจุบัน[แก้]

จุดและแหล่งชั้นหินแบบฉบับขอบทั่วโลก หรือ GSSP สำหรับจุดเริ่มต้นของสมัยไพลสโตซีนเดิม[7] อยู่ในชั้นหินอ้างอิงที่วรีซา ห่างจากเทศบาลโกรโตเนในอิตาลีตอนใต้ไปทางใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร ตำแหน่งซึ่งเพิ่งได้รับการยืนยันโดยการวิเคราะห์ไอโซโทปของสตรอนเซียมและออกซิเจน รวมถึงแพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอรา[8]

ดังนั้นจุดเริ่มต้นของช่วงอายุคาลาเบรียนจึงถูกกำหนดไว้เป็น บริเวณเหนือด้านบนสุดของสภาพขั้วแม่เหล็กในหินรุ่น C2n (ออลดูไว) และระดับการสูญพันธุ์ของ Discoaster brouweri ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากหินปูน (ฐานของหิน CN13) เหนือขอบเป็นการปรากฏน้อยที่สุดของ Gephyrocapsa spp. ซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมากขนาดกลางหินปูน และระดับการสูญพันธุ์ของ Globigerinoides extremus แพลงก์ตอนของฟอรามินิเฟอรา[6]

จุดสิ้นสุดของช่วงอายุกาลาเบรียนถูกกำหนดไว้ที่เหตุการณ์การสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
  2. Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  3. Cita, Maria; Gibbard, Philip; Head, Martin (September 2012). "Formal ratification of the GSSP for the base of the Calabrian Stage (second stage of the Pleistocene Series, Quaternary System)". Episodes. 35 (3). doi:10.18814/epiiugs/2012/v35i3/001. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  4. "Global Boundary Stratotype Section and Point". International Commission of Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  5. A chronology of Pliocene sea-level fluctuations, U.S. Atlantic Coastal Plain: Quaternary Science Reviews, v. 10, p. 163–174.
  6. 6.0 6.1 ช่วงอายุคาลาเบรียน ที่ ฐานข้อมูล GeoWhen
  7. In 2009 the Gelasian was included within the Pleistocene, making the Calabrian the second stage in the Pleistocene. Gibbard, Philip L.; Head, Martin J.; Walker, Michael J. C. (2009). "Formal ratification of the Quaternary System/Period and the Pleistocene Series/Epoch with a base at 2.58 Ma". Journal of Quaternary Science. 25 (2): 96. doi:10.1002/jqs.1338. S2CID 54629809. abstract
  8. 8.0 8.1 Lourens, L., Hilgen, F., Shackleton, N.J., Laskar, J., Wilson, D., (2004) “The Neogene Period”. In: Gradstein, F., Ogg, J., Smith, A.G. (Eds.), Geologic Time Scale Cambridge University Press, Cambridge;
  9. Cita, Maria Bianca; และคณะ (2008). "The Calabrian stage redefined" (PDF). Episodes. 31 (4): 408–419. doi:10.18814/epiiugs/2008/v31i4/006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-21. สืบค้นเมื่อ 2013-12-21.

39°02′19″N 17°08′06″E / 39.03861°N 17.13500°E / 39.03861; 17.13500