ชิรากาวะ (จังหวัดฟูกูชิมะ)

พิกัด: 37°07′34.7″N 140°12′39.3″E / 37.126306°N 140.210917°E / 37.126306; 140.210917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิรากาวะ

白河市
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ
ศาลาว่าการนครชิรากาวะ
ธงของชิรากาวะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของชิรากาวะ
ตรา
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดฟูกูชิมะ
แผนที่
ชิรากาวะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ชิรากาวะ
ชิรากาวะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 37°07′34.7″N 140°12′39.3″E / 37.126306°N 140.210917°E / 37.126306; 140.210917
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัด ฟูกูชิมะ
บันทึกครั้งแรกค.ศ. 315
จัดตั้งเทศบาลเมือง1 เมษายน ค.ศ. 1889
จัดตั้งเทศบาลนคร1 เมษายน ค.ศ. 1949
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีคาซูโอะ ซูซูกิ (鈴木 和夫; ตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2007)
พื้นที่
 • ทั้งหมด305.32 ตร.กม. (117.88 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด56,711 คน
 • ความหนาแน่น186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์0248-22-1111
ที่อยู่ศาลาว่าการ7-1 Hachimankōji, Shirakawa, Fukushima 961-0941
รหัสท้องถิ่น07205-2
เว็บไซต์www.city.shirakawa.fukushima.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกEmberiza cioides
ดอกไม้Ume
ต้นไม้Pinus densiflora

ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白河市โรมาจิShirakawa-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ชิรากาวะมีจำนวนประชากรประมาณ 56,711 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 186 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 305.32 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ชิรากาวะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคนากาโดริ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ตอนกลาง (กลางระหว่างตะวันตกกับตะวันออก) ของจังหวัดฟูกูชิมะ ติดกับที่ราบสูงนาซุ และครอบคลุมไปถึงพื้นที่ต่ำแอ่งชิรากาวะ

เทศบาลข้างเคียง[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ชิรากาวะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในชิรากาวะอยู่ที่ 11.4 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,377 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 25.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.3 °C[2]

สถิติประชากร[แก้]

จากข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] จำนวนประชากรของชิรากาวะถึงจุดสูงสุดประมาณ ค.ศ. 2000 และลดลงนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1950 65,543—    
1960 62,480−4.7%
1970 58,896−5.7%
1980 60,253+2.3%
1990 63,839+6.0%
2000 66,048+3.5%
2010 64,704−2.0%
2020 59,491−8.1%

ประวัติศาสตร์[แก้]

พื้นที่ที่เป็นชิรากาวะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ และเป็นที่ตั้งของด่านประตูกั้นที่ชื่อ ชิรากาวะโนะเซกิ (白河の関) บนเส้นทางสายโอชูไคโด (奥州街道) ที่เชื่อมระหว่างเมืองหลวงที่เกียวโตกับแคว้นทางตอนเหนือ ในยุคเฮอังเคยมีพระภิกษุและกวีวากะที่ชื่อ โนอิง (ญี่ปุ่น: 能因โรมาจิNōin) แต่งบทกวีเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ไว้ว่า

ปราสาทโคมิเนะในชิรากาวะ

ในยุคเอโดะ บริเวณนี้เจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองปราสาทแห่งแคว้นศักดินาชิรากาวะ และเป็นสถานที่ที่มีการสู้รบครั้งใหญ่ในสงครามโบชิงในช่วงการฟื้นฟูเมจิ ในยุคเมจิ พื้นที่แห่งนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคนากาโดริของแคว้นอิวากิ

เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล เมืองชิรากาวะ (白河町) ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1949 เมืองชิรากาวะได้รับการยกฐานะเป็นนครหลังจากผนวกรวมหมู่บ้านโอนูมะ (大沼村) ที่อยู่ใกล้เคียง การควบรวมเทศบาลในเวลาต่อมาเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1954 และ 1955 โดยการรวมหมู่บ้านชิราซากะ (白坂村), โอดางาวะ (小田川村), โกกะ (五箇村) และส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโอโมเตโง (表郷村) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตนครชิรากาวะ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 หมู่บ้านไทชิง (大信村), ฮิงาชิ (東村) และส่วนที่เหลือของหมู่บ้านโอโมเตโง (ทั้งหมดขึ้นกับอำเภอนิชิชิรากาวะ) ถูกรวมเข้ากับนครชิรากาวะ ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 48,297 คน กลายเป็นประมาณ 66,000 คน และขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 117.67 ตารางกิโลเมตร (45.43 ตารางไมล์) กลายเป็น 305.30 ตารางกิโลเมตร (117.88 ตารางไมล์)

การเมืองการปกครอง[แก้]

ชิรากาวะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 26 คน พื้นที่นครชิรากาวะรวมกับอำเภอนิชิชิรากาวะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดฟูกูชิมะจำนวน 3 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ ชิรากาวะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดฟูกูชิมะที่ 3 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ[แก้]

ชิรากาวะมีเศรษฐกิจแบบผสมผสานและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคโดยรอบ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และเสื้อผ้า[6] กลุ่มบริษัทดีแอนด์เอ็มมีโรงงานที่ผลิตส่วนประกอบเครื่องเสียงยี่ห้อ Marantz และ Denon ตั้งอยู่ในชิรากาวะ

การศึกษา[แก้]

ชิรากาวะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ประกอบด้วย โรงเรียนประถม 15 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 8 แห่ง และโรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดฟูกูชิมะ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมปลาย 4 แห่ง

การขนส่ง[แก้]

รถไฟ[แก้]

ทางหลวง[แก้]

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น[แก้]

สวนนังโกะในชิรากาวะ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "福島県の推計人口(令和6年4月1日現在)" [ประชากรโดยประมาณของจังหวัดฟูกูชิมะ (ณ วันที่ 1 เมษายน 2024)]. จังหวัดฟูกูชิมะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2024.
  2. ข้อมูลภูมิอากาศชิรากาวะ
  3. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
  4. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
  5. สถิติประชากรชิรากาวะ
  6. Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. p. 1396. ISBN 406205938X.
  7. "白河関跡" [Aizu-Shirakawa no seki ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  8. "小峰城跡". Cultural Heritage Online (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 December 2016.
  9. "南湖公園" [Nanko Koen] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  10. "白河舟田・本沼遺跡群 ん" [Shirakawa Funada-Motonuma iseki gun] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.
  11. "白川城跡" [Shirakawa-jō ato] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]