ฉบับร่าง:อัลกอริทึมโปรเจกต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Algorhythm Project
ชื่อท้องถิ่น
อัลกอริทึมโปรเจกต์
อุตสาหกรรมสังกัดเวอร์ชวลยูทูบเบอร์
เจ้าของเรียลิคโปรดักชัน
เว็บไซต์algorhythm.realic.net

อัลกอริทึมโปรเจกต์ (อังกฤษ: Algorhythm Project) ชื่อย่อ ARP เป็นค่ายสังกัดเวอร์ชวลยูทูบเบอร์สัญชาติไทย ซึ่งมีเจ้าของคือ เรียลิคโปรดักชัน (Realic Production) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2564 โดยมีเวอร์ชวลยูทูบ 35 คน ในสังกัด ตัวอย่างเช่น ดากะโปะ, ชไนเดอร์, บาเบล, เอวาเลีย, เซไก, บากุ และ แม็กนั่ม

โดยที่มีผลงานเด่นๆอย่างเพลง Escape from the Sky เพลงเปิดตัวของรุ่น โอไรออนส์ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนทำให้ตัวสมาชิกในรุ่นและตัวสังกัดเริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นมา หรือ เพลง คงคา ของ เอวาเลีย ข้อมูลของเดือนเมษายน 2567 ทั้งสองเพลงมียอดรับชมทั้งหมด 11 ล้านคนที่เริ่มทำให้ผู้คนได้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าเวอร์ชวลยูทูบเบอร์มากยิ่งขึ้น

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

พ.ศ. 2563: จุดเริ่มต้น[แก้ไขต้นฉบับ]

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นช่วงเวลาที่เวอร์ชวลยูทูบเบอร์เริ่มได้รับความสนใจ นักแต่งนิยายนิรนามท่านหนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า เรียล (Real) หรือในบางทีที่จะใช้นามปากกาว่า เป็ดแดง (REDDUCK) ด้วยความฝันที่อยากจะสร้างค่ายเวอร์ชวลยูทูบเบอร์ เลยได้ทำการก่อตั้งสังกัด อัลกอริทึมโปรเจกต์[ต้องการอ้างอิง] โดยเป็นการนำคำว่า อัลกอริทึม (Algorithm) ที่หมายถึง ชุดลำดับคำสั่งที่ใช้แก้ลำดับชั้นปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง และคำว่า ริทึม (Rhythm) ที่หมายถึงจังหวะของดนตรี เข้ามารวมเข้าด้วยกัน

พ.ศ. 2564[แก้ไขต้นฉบับ]

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้ทำการเปิดตัวสังกัดอัลกอริทึมโปรเจกต์ พร้อมสมาชิกรุ่นแรกของค่ายที่มีชื่อว่า แอโพคาลิปส์ โดยที่มีพื้นภูมิต่างๆเป็น "จุดเริ่มต้นของจุดจบ" โดยที่จะมี แอสเทอรอตท์, เซอร์, เอวาเลีย และ ลีโมว์ โดยแต่ละคนมีภูมิหลังและเนื้อเรื่องที่แตกต่างกันอย่าง หลังจากการเปิดตัวของรุ่นแอโพคาลิปส์ได้ผ่านไป ท่างช่องยูทูปของอัลกอริทึมโปรเจกต์ก็ได้ทำการลงเพลงแรกที่มีชื่อว่า OVERLORD ที่ร้องโดย แอสเทอรอตท์ และหลังจากนั้นเพลงรวมอย่าง Al-ONE ก็ค่อยปล่อยตามออกมา[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 ของค่ายเปิดตัว ชื่อว่า เอคลิปส์ โดยที่มีพื้นภูมิต่างๆเป็น "ความรักและความปรารถนา" ประกอบด้วยสมาชิก เซลีน โซลาร์ เซไก และ เซนิท

พ.ศ. 2565[แก้ไขต้นฉบับ]

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 ได้ทำการเปิดตัวรุ่นพิเศษชื่อว่า วีเอเจนต์ (V-Agent) โดยมีคอนเซปต์ในการนำทีมงานเบื้องหลังเปิดตัวออกมาเป็นเวอร์ชวลยูทูบเบอร์ พร้อมเปิดตัวสมาชิกทั้ง 2 คนแรกได้แก่ เตกีล่า และ รีคอตตา[ต้องการอ้างอิง]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 รุ่นที่ 3 ของค่ายเปิดตัว ชื่อว่า อิลลูชัน โดยที่มีพื้นภูมิต่างๆเป็น "ความเป็นจริงหรือสิ่งลวงตา" ประกอบด้วยสมาชิก ไอน่า, บาคุ และ ลิสเซิน และปล่อยตัวเพลง Truth or lie

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้ทำการเปิดตัวรุ่นพิเศษชื่อว่า ซิมโฟเนีย (Symphonia) โดยที่มีพื้นภูมิต่างๆเป็น "เครื่องดนตรีที่แตกต่างกันมาบรรเลงเข้าด้วยกัน" พร้อมเปิดตัวสมาชิกทั้ง 5 คน ได้แก่ ไอลีนนัวร์, อาโออิ เครสเซนท์, ยูนิวี่, อาโอโซระ โปโปะ, และ เมย์ลิน โดยสมาชิกส่วนใหญ่เคยเป็นทั้ง สมาชิกของวีเอเจนต์ และ เวอร์ชวลยูทูบเบอร์อิสระ มาก่อน ก่อนที่จะทำการจัดรวมเข้ามากันใหม่อีกครั้ง และในวันเดียวกันนั้นเอง รุ่นพิเศษวีเอเจนต์ ก็ได้ทำการเพิ่มสมาชิกเข้ามาใหม่ได้แก่ คาลิสตา

และในวันเดียวกันนั้นเองทาง อัลกอริทึมโปรเจกต์ และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ร่วมกันจัดคอนเสิร์ตครั้งแรกขึ้นมาที่มีชื่อว่า Unknown Destiny ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 จัดขึ้นที่ เอ็มควอเทียร์ ชั้น 4 ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต โดยที่มีจุดประสงค์ในการเปิดตัวเพลงมิวสิควิดีโอแอนิเมชั่นใหม่เพลงในชื่อเดียวกันที่ร้องโดย บากุ และแอนิเมเตอร์คนไทยร่วมกันทำ และเพื่อเป็นการโปรโมทนิยายในชื่อเดียวกันที่แต่งโดยคุณเรียลอีกด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2566[แก้ไขต้นฉบับ]

หลังจากคอนเสิร์ต Unknown Destiny จบลง เพลงในชื่อเดียวกันที่ถูกฉายในคอนเสิร์ตนั้นได้ถูกอัพโหลดลงไปในบัญชีทางการของ อัลกอริทึมโปรเจกต์ ลงบนแพลต์ฟอร์มยูทูปในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 โดยหลังจากที่อัพโหลดลงไปสื่อต่างๆก็เริ่มให้ความสนใจในแอนิเมชั่นของมิวสิควิดีโอนี้เป็นอย่างมาก[1][2]

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้เพิ่มสมาชิกในรุ่นพิเศษวีเอเจนต์คือ รัฐฐา และ อิทส์ฮาย

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 ได้ทำการเปิดตัวสมาชิกรุ่นพิเศษเซเลสเทียลที่มีชื่อว่า โอไรออนส์ มีสมาชิก 3 คน คือ ชไนเดอร์ ดากาโปะ และบาเบล และหลังจากนั้น ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 โอไรออนส์ รุ่นพิเศษแห่งเซเลสเทียล ได้ทำการปล่อยตัวเพลง Escape from the sky เพลงแรกของรุ่นพิเศษโอไรออนส์ ซึ่งเพลงนี้โดดเด่นที่สุดของสังกัดนี้มากที่สุด ข้อมูลของเดือนเมษายน 2567 บนแพลตฟอร์มยูทูบมียอดชมมากกว่า 11 ล้านคนในยูทูบ

วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เอวาเลีย จากรุ่นแรก ไอลีนนัวร์ จากรุ่นพิเศษ และเอฟฟี เวอร์ชวลยูทูบเบอร์ชาวออสเตรเลียลูกครึ่งจีนในอัลกอริทึมโปรเจกต์ ได้รวมตัวและตั้งชื่อกลุ่มรุ่นดิวิชั่นว่า เฉินเยว่ และปล่อยตัวเพลง หนึ่งบุปผาต้านสวรรค์ ทั้ง 2 เวอร์ชั่นคือเวอร์ชั่นภาษาไทยและภาษาจีน

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ไอลีนนัวร์ รุ่นพิเศษซิมโฟเนีย ได้ปล่อยตัวเพลง Blessing of the Nephilim ร้องคู่กับแม็กนั่มจากรุ่นที่ 4 ซึ่งเพลงนี้มีภาษาโรมาเนียในช่วงคอรัสของเพลงนี้อยู่ด้วย ข้อมูลของเดือนเมษายน 2567 เพลงนี้มียอดผู้ชมมากถึง 4 ล้านคน ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เพลงดังกล่าวถูกนำออกจากช่องของไอลีนนัวร์หลังจากประกาศของทางค่าย

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 รุ่นที่ 4 ของค่ายเปิดตัว ชื่อว่า โอมินัส โดยที่มีพื้นภูมิต่างๆเป็น "การปฏิวัติแห่งโชคชะตา" พร้อมเปิดตัวสมาชิกทั้ง 4 คน ได้แก่ อาร์ค ฟามีเน่ ไอวี่ และแม็กนั่ม

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 รุ่นพิเศษเซเลสเทียล เจมิไน เปิดตัว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าลูกสาวของชไนเดอร์ และปล่อยตัวเพลง Sweet ✰ Gluttony เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และทั้งคู่ได้ปล่อยเพลงโซโลทั้ง 2 เพลงคือ มันจำไม (คารุ) และ I love U (โพรุ) เพลง มันจำไม ร้องโดยคารุ เป็นเพลงแนวลูกทุ่งแรกของอัลกอริทึมโปรเจกต์อีกด้วย

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เอวาเลีย จากรุ่นแรกได้ปล่อยตัวเพลง คงคา (Endless Echo) ซึ่งเพลงนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ให้ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น เอวาเลียได้ตั้งอีกชื่อนึงว่า เอวารินทร์ ในเพลงนี้ด้วย โดยเพลงนี้เป็นผลงานที่พุ่งทะยานสู่ล้านวิวในเวลาเพียง 4 วัน หลังจากวันที่ปล่อยเพลงอีกด้วย[3] และข้อมูลของเดือนเมษายน 2567 เพลงคงคาได้มียอดผู้รับชมทั้งหมด 11 ล้านคนด้วยกัน

พ.ศ. 2567: กระแสวิพากษ์วิจารณ์และการพักงานของสมาชิก[แก้ไขต้นฉบับ]

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ได้ประกาศสมาชิกใหม่เพิ่มคือ สยามเนโกะ และ มิดไนท์ และเปิดตัวสมาชิกทั้ง 2 คนในวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รุ่นพิเศษซิมโฟเนียและวีเอเจนต์ได้รวมตัวและเปลี่ยนชื่อเป็นอันโนว์น (Unknown) พร้อมปล่อยตัวเพลง Black Room และเปิดตัวสมาชิกใหม่ เบียนกา

ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2567 ทางอัลกอริทึมโปรเจกต์ได้ประกาศให้ไอลีนนัวร์ สมาชิกจากรุ่นพิเศษถูกพักงานและยกเลิกกิจกรรม เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมรวมถึงไม รุกะ เลขาของคุณ เรียล ที่เป็นคนที่มีส่วนร่วมของไอลีนนัวร์อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คารุ จากรุ่นเซเลสเทียลเจมิไน ได้ปล่อยตัวซิงเกิลที่ 2 คือ Hug me (ฮักมี) เป็นเพลงแนวลูกทุ่งที่ 2 ของอัลกอริทึมโปรเจกต์ ซึ่งในภาพมิวสิควิดีโอได้มีการนำตัวละครเหล่าสมาชิกวีทูบเบอร์ในอัลกอริทึมโปรเจกต์เกือบทุกคน แต่ยกเว้นไอลีนนัวร์หลังจากถูกประกาศพักงาน หลังจากเพลงปล่อยไปเมื่อไม่นาน ข้อมูลของวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เพลงนี้มียอดผู้ชมมากถึง 1 ล้านคน

ในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ไอลีนนัวร์ ประกาศลาออกจากค่ายอัลกอริทึมโปรเจกต์ และทำกิจกรรมต่อในฐานะวีทูบเบอร์อิสระ หลังจากทางสังกัดประกาศพักงานในระยะเวลา 1 เดือน วิดีโอไลฟ์สดและเพลงออริจินัลซองของไอลีนนัวร์บนช่องยูทูบถูกนำออก

ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ชไนเดอร์จากรุ่นพิเศษโอไรออนส์ถูกประกาศพักงานในระยะเวลา 2 เดือน จนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจากประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการคุยเชิงชู้สาวกับเยาวชน[4]

ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 แม็กนั่มจากรุ่นที่ 4 ถูกประกาศพักงานติดต่อกันพร้อมกับชไนเดอร์เนื่องจากประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น ในระยะเวลา 2 เดือน จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 และในวันเดียวกัน เบียงกา จากรุ่นพิเศษ และพร้อมกับผู้จัดการศิลปินของรุ่นเซเลสเทียล โอไรออนส์ ลาพิส ได้พ้นสภาพเป็นสมาชิก และ พนักงานของอัลกอริทึมโปรเจกต์ ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 งานในส่วนของรุ่นพิเศษอันโนวน์จะถูกยกเลิกกิจกรรมทั้งหมด

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ได้ทำการเปิดตัวสมาชิกรุ่นพิเศษเซเลสเทียลที่มีชื่อว่า สคอร์พิโอ มีสมาชิกเพิ่มมาใหม่ 3 คนได้แก่ เควนติน จินนิค และ มอร์ และเพลงออริจินอลซองแรกๆของรุ่นใหม่ชื่อว่า Irregular เริ่มปล่อยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2567 อัลกอริทึมโปรเจกต์ และร่วมค่ายเวอร์ชวลยูทูบเบอร์ไทยอื่นๆเช่น พิกเซลล่า, โพลีกอน, การ์เดียนแองเจล, ยูฟารา, วิสไลฟ์ และฟลอร่า ได้ร่วมกันจัดคอนเสิร์ตชื่อว่า Party Fantasy ร่วมสนับสนุนโดย ฟาร์มเฮ้าส์ โดยมีกำหนดวันที่เปิดการแสดงเมื่อ 30 มิถุนายน จัดขึ้นที่ สหกรุ๊ป แฟร์ แอนด์ เฟส ไบเทคบางนา มีสมาชิกในค่ายที่เข้าร่วมได้แก่ ดากาโปะ บาเบล คารุ และโพรุ

รายชื่อสมาชิก[แก้ไขต้นฉบับ]

หมายเหตุ: ตัวอักษรเอียง คือ มีสมาชิกบางคนอยู่ด้วยกันทั้งสองรุ่น และตัวอักษรหนา คือ บางสมาชิกที่ยกเลิกกิจกรรมและไม่สามารถเคลื่อนไหวต่อได้หรือถูกพักงาน

รุ่นหลัก[แก้ไขต้นฉบับ]

รุ่นที่ 1: แอโพคาลิปส์ (Apocalypse)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • แอสเทอรอตท์ (Asteroth)
  • เซอร์ (S1R)
  • เอวาเลีย (Evalia)
  • ลีโมว์ (L1MOU)

รุ่นที่ 2: เอคลิปส์ (Eclipse)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • เซไก (Zekai)
  • โซลาร์ (Solar)
  • เซนิท (Zenith)
  • เซลีน (Selene)

รุ่นที่ 3: อิลลูชัน (Illusion)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ไอน่า (Ayna)
  • ลิสเซิน (Listen)
  • บากุ (Baku)

รุ่นที่ 4: โอมีนัส (Ominous)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • แมกนั่ม (Magnum)
  • ฟามีเน่ (Faminé)
  • ไอวี่ (Ivy)
  • อาร์ค (Ark)

รุ่นพิเศษ[แก้ไขต้นฉบับ]

รุ่นพิเศษ: อันโนว์น (Secret Operation : Unknown)[แก้ไขต้นฉบับ]

ชื่อในอดีต: ซิมโฟเนีย (Symphonia) และ วีเอเจนต์ (V-Agent)

  • คาลิสต้า (Calista)
  • เตกีล่า (Tequila)
  • รีคอตตา (Ricotta)
  • รัฐฐา (Latta)
  • อิทส์ฮาย (it's Hi)
  • เฮียวกะอัลฟา (HyougaAlpha)
  • อาโอโซระ โปโปะ (Aosora Popo)
  • อาโออิ เครสเซนท์ (Aoi Crescent)
  • ยูนิวี่ (Uniwii)
  • เมย์ลิน (Maylyn)
  • เอฟฟี่ (艾绯, Effy)
  • มิดไนท์ (Midnight)
  • สยามเนโกะ (Siamneko)

รุ่นเซเลสเทียล: โอไรออนส์ (Orions)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ดากาโปะ (Dacapo)
  • ชไนเดอร์ (Schneider)
  • บาเบล (Baabel)

รุ่นเซเลสเทียล: เจมิไน (Gemini)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • คารุ (Karu)
  • โพรุ (Poru)

รุ่นเซเลสเทียล: สคอร์พิโอ (Scorpio)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • เควนติน (Quentin)
  • จินนิค (Ginnique)
  • มอร์ (Morr)

เฉินเยว่ (Shen yue)[แก้ไขต้นฉบับ]

  • เอฟฟี่ (艾绯, Effy)
  • เอวาเลีย (Evalia)

อดีตสมาชิก[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ไอลีนนัวร์ (Eileennoir) - รุ่นพิเศษ: อันโนวน์, เฉินเยว่
  • เบียนกา (Bianca) - รุ่นพิเศษ: อันโนวน์

ผลงานเพลง[แก้ไขต้นฉบับ]

ซิงเกิล[แก้ไขต้นฉบับ]

Asteroth Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Star
  • Blazing Bloom
  • SERPENT
  • TIAMAT

S1R[แก้ไขต้นฉบับ]

  • MECHA FUNKA

Evalia Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Ocean Soul
  • แค่เมา (Tequila)
  • Lost Souls
  • คงคา (Endless Echo)

Zekai Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Overdrive
  • Wannabe (ร้องคู่กับ Zenith)

Solar Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Sun Calling
  • Dawn (ร้องคู่กับ Selene)

Zenith Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • STRIKE

Selene Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Moon Wishing
  • Dusk

Ayna Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Truth or Lie - The Mirror
  • CEO หาทำ!!
  • Million Mirror

Listen Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Truth or Lie - The Gramophone
  • Silent Love
  • Silent Love Unplugged Version

Baku Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Truth or Lie - The Dream Eater
  • Unknown Destiny
  • Etenal Dream

Magnum Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Warcry
  • Gun and Bullets
  • เพลงของเรา (Our Song)
  • พลังหญ้ายี

Faminé Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Flagellant
  • Arcana - Algor Arcana Theme Song (ร้องคู่กับ Tequila)

Ivy Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Dopamine

Ark Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Emptiness

it’s hi Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ชัด ชัด (focus)
  • คิดเหมือนกันรึเปล่า (Puppy love)

Eileennoir Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Blessing of the Nephilliim (ร้องคู่กับ Magnum Ch.)
  • ชอบเราได้ยัง (Be Mine)

Uniwii Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Gravity feat. Neko Step
  • Pang pang pang

Maylyn Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ChillChilla

Dacapo Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Never Escape from the sky - Highter than Horizon
  • Gloomy Sky

Schneider Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Never Escape from the sky - The Deep's Desire
  • Synthetic Sky

Baabel Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Never Escape from the sky - The Tyrant Power
  • Under the sky with my bae

Karu Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • มันจำไม
  • Hug me (ฮักมี)

Poru Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

  • I love U

ซิงเกิลรวมกลุ่ม[แก้ไขต้นฉบับ]

ORION[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Escape from the sky
  • หน้าร้อน(มีสองความหมาย) - Summer Breeze
  • Dangerous Sky
  • Stardust (ละอองดาว)

Gemini[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Sweet ✰ Gluttony

Shen Yue[แก้ไขต้นฉบับ]

  • หนึ่งบุปผาต้านสวรรค์
  • Crack it

Ominous[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Infinite Chaos

Illusion[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Truth or lie
  • Truth or lie (Japanese ver.)

Symphonia[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Sinfonia

Eclipse[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Equinox

Apocalypse[แก้ไขต้นฉบับ]

  • AI-ONE
  • Awakening

Unknown[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Black Room

V-Agent[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Barcode

Scorpio[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Irregular

อื่น ๆ[แก้ไขต้นฉบับ]

  • My Lyrics - 1st Anniversary (REAL)
  • Rising Sun (หนึ่งตะวัน) - Japan Expo Thailand Theme Song

อัลบั้ม[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Shades of Sky - ORION (วางจำหน่ายเมื่อ 5 มกราคม พ.ศ. 2567)

ผลงานการแสดง[แก้ไขต้นฉบับ]

คอนเสิร์ตและกิจกรรมต่างๆ[แก้ไขต้นฉบับ]

  • Unknown Destiny (10 ธันวาคม พ.ศ. 2565) ร่วมด้วย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป โดยจัดขึ้นที่เอ็มควอเทียร์ ชั้น 4 ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต
  • Pastry Fantasy (30 มิถุนายน พ.ศ. 2567) ร่วมด้วย ฟาร์มเฮ้าส์ โดยจัดขึ้นที่สหกรุ๊ป แฟร์ แอนด์ เฟส ครั้งที่ 28 ที่ไบเทคบางนา พร้อมสมาชิกในค่ายเวอร์ชวลยูทูบเบอร์ไทยอื่นๆ

ผลงานพากย์[แก้ไขต้นฉบับ]

Dacapo Ch.[แก้ไขต้นฉบับ]

อ้างอิง[แก้ไขต้นฉบับ]

  1. Shirosaki-han. "สุดอลังการ Unknown Destiny MV สไตล์อนิเมะผลงานชาวไทยล้วน!". Online Station. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Thanapron. "ทำความรู้จัก Algorhythm Project ค่าย V-Tuber ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงขณะนี้". Online Station. TOJO NEWS. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""คงคา (Endless Echo)" ผลงานล่าสุด จาก "Evalia" บอกเล่าความไทยให้โลกตราตรึง ทะยานสู่ล้านวิว". mangozero. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "แถลงดราม่า วีทูบเบอร์ ชไนเดอร์ คุยชู้สาวเยาวชน 17 ปี ต้นสังกัดสั่งพักงาน". TheThaiger. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไขต้นฉบับ]