ฉบับร่าง:ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
Health Promotion Center Region 8 Udonthani
ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
ประเภทศูนย์วิชาการ
ที่ตั้ง582 หมู่ 12 ถนนอุดร-สามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง3 ธันวาคม 2558
สังกัดกรมอนามัย
ผู้อำนวยการนายแพทย์กฤษฎา ศิริชัยสิทธิ์

นางสุภาภรณ์ ลมูลศิลป์ รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี

นายสมภพ สุทัศน์วิริยะ รองผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี
เว็บไซต์https://hpc8.anamai.moph.go.th

ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี (อังกฤษ: Health Promotion Center Region 8 Udonthani) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ที่ถนนอุดร-สามพร้าว ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ประวัติ[แก้]

ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี[1] เป็นหน่วยงานส่วนกลาง ในสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสถานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานประเภทศูนย์วิชาการ ในเขตสุขภาพที่ 8 เริ่มก่อตั้งศูนย์ในปี 2558 ตามคำสั่งที่ 1138/2558 การเปลี่ยนแปลงลำดับที่ จังหวัดที่ตั้ง และการปรับปรุงพื้นที่เขตจังหวัดที่รับผิดชอบ ศูนย์อนามัยที่ 1-12 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2558 มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 7 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบังลำภู จังหวัดอุดรธานี จังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม โดยมีการบริหารจัดการภายในเป็น 3 กลุ่มภารกิจหลัก ดังนี้ 1) ภารกิจสนับสนุน ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ 2) ภารกิจวิจัยพัฒนาและสนับสนุนเขตสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนากำลังคน กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน-วัยรุ่น กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน-วัยสูงอายุ กลุ่มพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม 3) ภารกิจพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาองค์กร และดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายนำองค์ความรู้ นโยบาย มาตรฐาน กฎหมาย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ไปใช้ในการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆ ที่หน่วยงานภาคีเครือข่ายรับผิดชอบ โดยประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคุ้มครองและบริการตามสิทธิประโยชน์พื้นฐาน

ภารกิจ หน้าที่รับผิดชอบ[แก้]

กลุ่มภารกิจสนับสนุน

กลุ่มอำนวยการ

1. บริหารจัดการทั่วไป งานช่วยอํานวยการ และงานเลขานุการของศูนย์

2. บริหารจัดการงานสารบรรณ การรับส่งพัสดุไปรษณีย์ และเอกสารสิ่งพิมพ์

3. บริหารจัดการงานการเงินและบัญชี รวมทั้งการควบคุม กำกับ การใช้จ่ายงบประมาณ

4. บริหารจัดการงานพัสดุ ยานพาหนะ อาคารสถานที่ และการอนุรักษ์พลังงาน

5. บริหารจัดการงานทรัพยากรบุคคลของศูนย์

6. ประสานงานและให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่มงานต่างๆ ภายในศูนย์

7. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มภารกิจวิจัยพัฒนาและสนับสนุนเขตสุขภาพ

กลุ่มขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพัฒนากำลังคน

1. กําหนดทิศทางการศึกษาวิจัย และบริหารการใช้ประโยชน์งานวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร

2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับ

3. วิเคราะห์นโยบายกระทรวง กรมอนามัย ปัญหาของพื้นที่ เพื่อจัดทําแผนของหน่วยงาน และแผนพัฒนาองค์กร

4. กําหนดกรอบแนวทางการจัดทําแผนงาน งบประมาณ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมอนามัย

5. ประสานและชี้แจงการทํางานกับภาคีเครือข่ายของศูนย์ (ได้แก่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา องค์กรเอกชน ฯลฯ)

6. ร่วมปฏิบัติการและบูรณาการแผนของศูนย์

7. จัดระบบการกํากับ ติดตามการดําเนินงานตามแผนงาน/ โครงการ ของหน่วยงาน

8. กํากับการจัดทํากรอบแนวทางการจัดทําและรายงานผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน

9. จัดทําระบบข้อมูลด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

10. บริหารจัดการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

11. บริหารงานพัฒนาองค์กร

12. พัฒนาและบริหารกระบวนการเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัย

1. เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

2. ผลิตและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพ

3. คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย

4. พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพให้ภาคีเครือข่าย

5. รณรงค์ และสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนหรือสังคม

6. บริหารจัดการด้านการตลาดเพื่องานด้านส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Marketing)

7. พัฒนาความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ

8. กํากับ ดูแล ประเมินผลการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

9. ผลักดันมาตรการทางกฎหมายสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

10. ประเมินรับรองมาตรฐานด้านส่งเสริมสุขภาพ

11. ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

12. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

1. เฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ

2. ผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม

3. พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ภาคีเครือข่าย

4. รณรงค์ และสร้างกระแสการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

5. บริหารจัดการด้านการตลาดเพื่องานอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Marketing)

6. พัฒนาความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

7. กํากับ ดูแล ประเมินผลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รับผิดชอบ

8. ประเมินรับรองมาตรฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

9. ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม

10. คุ้มครองประชาชนและผู้ใช้บริการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

11. ผลักดันมาตรการทางกฎหมายสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

12. ให้บริการที่เกี่ยวข้องทางด้านกฎหมายในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร

13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มภารกิจพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

1. วิจัย พัฒนาและผลิตนวัตกรรม รูปแบบการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ

2. ดําเนินงานและพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลที่ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม

3. ดําเนินงานและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และศูนย์สาธิตรูปแบบบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสําหรับหน่วยบริการสาธารณสุขและภาคีเครือข่าย

4. ฝึกอบรม เผยแพร่ ถ่ายทอด องค์ความรู้ นวัตกรรม แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องให้กับภาคีเครือข่าย

5. ผลิตและพัฒนาหลักสูตรด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ

6. ประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาลด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

7. พัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสาร คลังความรู้และนวัตกรรม

8. พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

9. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

จังหวัดที่ดูแล[แก้]

1. จังหวัดบึงกาฬ

2. จังหวัดเลย

3. จังหวัดหนองคาย

4. จังหวัดหนองบังลำภู

5. จังหวัดอุดรธานี

6. จังหวัดสกลนคร

7. จังหวัดนครพนม


ทำเนียบผู้บริหารศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี[แก้]

อ้างอิง[แก้]