คุยกับผู้ใช้:Thaisojo2008

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Thaisojo2008 สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Thaisojo2008! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 22:35, 16 มิถุนายน 2555 (ICT)

วัดไทยเทพนิมิต ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ 33140[แก้]

</gallery> ประวัติวัดไทยเทพนิมิต วัดไทยเทพนิมิต ตั้งอยู่เลขที่ 282 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ คณะสงฆ์มหานิกาย สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วัดไทยเทพนิมิต ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2400 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช 2432 (ตามประกาศประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 16 กองพุทธศาสนสถาน กรมกการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ) วัดไทยเทพนิมิตเป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่มาแต่ครั้งในอดีต ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2400 หรือประมาณ 146 ปี จนถึงปัจจุบัน ขณะนั้นพระหลวงสุรรัตนมัย(พ่อบุญมี- นางเสม ขุขันธิน)ได้เป็นผู้นำในการจัดตั้งวัด สร้างวัด และอุปภัมถ์บำรุงในส่วนวัด บ้าน โรงเรียนได้เจริญรุ่งเรืองสืบมาตามลำดับ ในส่วนวัดมึพระครูบริหารอุตรกิจ(เนตร ศรีมงคล)เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้น ได้ทำหน้าที่ในการบริหารวัดจนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ และท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงเมื่อวันที่ 5 เดือนธันวาคม พุทธศักราช 2497 พร้อมกันนี้ได้มีพระสงฆ์ได้สืบแทนตำแหน่งเจ้าอาสามาตามลำดับ ดังต่อไปนี้ รูปที่ 1 พระอธิการบุญส่ง สดใส รูปที่ 2 พระสมุห์ลอย กัลยา (อดีตเจ้าคณะตำบลห้วยเหนือ) รูปที่ 3 พระครูพิศิษฎ์ธรรมานุศาสก์ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดปรือคัน-รองเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์ รูปที่ 4 พระชวลิต รูปที่ 5 พระถนอม รูปที่ 6 พระโทน รูปที่ 7 พระเยี่ยม รูปที่ 8 พระอธิการดอน ปัญญาวชิโร (พ.ศ 2533- 2539) รูปที่ 9 พระครูวิสุทธิ์ธรรมนิมิต (จิฐิกรณ์ อุชุโก) (2539 – ปัจจุบัน) ข้อมูลดังกล่าวได้รับจากนายลอย กัลยา และคุณพ่อรุต รัตนาและบางส่วนได้คัดจากหนังสือบันทึกเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองขุขันธ์ หากท่านผู้ใดมีข้อมูลเพิ่มเติมได้เสนอที่เจ้าอาวาสวัดไทยเทพนิมิต วันที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ. 2496

วัดไทยเทพนิมิต ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกศฯ ท่านพระครูบริหารอุตตรกิจ เจ้าคณะอำเภอเก่า พระอุปัชฌายะกิตติมศักดิ์ณ.วัดไทยเทพนิมิตรขุขันธ์เป็นผู้คิดเรียบเรียงแต่งประวัติแห่งเจ้าเมืองขุขันธ์สืบสาวต่อๆกันมาเสมอ ข้าพเจ้าได้ทราบต่อมาจากท่าน บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย คนเฒ่าคนแก่ ได้เล่าบอกกันไว้ต่อๆมาจนทุกวันนี้ เมื่อข้าพเจ้าพอรู้เดียงสา อายุ 11-12 ปี เกิดมาได้เห็นถนนบัญทายเมืองเก่ามีภูเขาอยู่รอบเมือง คือยาวแต่ทิศปัจจิมไปทิศบูรพาประมาณ 7 เส้นเศษ แต่ทิศอุดรไปทิศทักษิณ 7 เส้นเศษ ถนนนั้นกว้างใหญ่ประมาณ 5 เมตรและมีเจดีย์อยู่กลางเมืองดังทุกวันนี้ แต่เจดีย์นั่นเขาก่อเป็น 3 ชั้นๆข้างล่างยาวระหว่าง 5 เมตร สี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นที่ 2 ยาวประมาณ 4 เมตร ชั้นที่ 3 ก่อเป็นเหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร เจดีย์นั้นอยู่กลางเมืองเก่า คืออยู่ในวัดกลาง แต่เจดีย์นั้นเดี๋ยวนี้ท่านพระครูธรรมจินดาให้รื้อออกสร้างโบสถ์ที่เห็นนี้ที่วัดกลางขุขันธ์ เมื่อระหว่างรื้อเจดีย์นั้นเดือน ปี พ.ศ. จำไม่ได้แต่พิจารณาเห็นว่า เขาก่อบรรจุอัฏฐิเจ้านายผู้ครองบ้านเมืองของเขา แต่ก่อนๆมาเชื้อชาติเจ้าเมืองขุขันธ์นั้น คือเจ้าเมืองครั้งที่ 1 ชื่อพระยาขุขันธ์แต่ไม่รู้ว่าชื่อเดิมและเชื้อชาติอะไร มาจากไหน ปกครองบ้านเมืองอย่างไร พ.ศ.เท่าไรไม่ทราบ เจ้าเมืองครั้งที่ 2ชื่อว่าพญาขุขันธ์ปวก แต่ไม่รุ้ประวัติเหมือนกัน พญาขุขันธ์ครั้งที่ 3 ชื่อว่าพญาขุขันธ์กละวาบ การปกครองและเชื้อชาติไม่รู้เหมือนกัน เจ้าเมืองครั้งที่ 4 ชื่อพญาขุขันธ์วัง แต่ปกครองเมืองขุขันธ์ได้ไม่เท่าไร ปีและ พ.ศ. เท่าไรไม่ทราบ แต่พญาขุขันธ์วังมีบุตรชายอยู่ 2 คน คนพี่ชายได้เป็นพญาขุขันธ์ภักดี แต่พ.ศ.เท่าไรไม่ทราบ และบุตรชายคนที่ 1 ชื่อท้าวบุญจันทร์ แต่พญาขุขันธ์ภักดีนั้นได้มาเป็นลูกเขยพญาบำรุงเจ้าเมืองขุขันธ์ครั้งที่ 5 เมื่อในระหว่างรัชการที่ 5 แห่งพญากรุงเทพประเทศไทยเรา แต่ส่วนพญาบำรุงข้าหลวงเมืองขุขันธ์นั้นมีบุตรชาย 3 คน หญิง 4 คน แต่ท่านเป็นเชื้อชาติจีน เป็นพญาปกครองเมืองขุขันธ์ครั้งที่ 5 แต่ท้าวพญาบุญจันทร์น้องพญาขุขันธ์นั้น ไปตั้งตัวเป็นพิบาพิบุญอยุ่ที่เข้าฝ้ายและภูเขาชำพิกา พวกทหารอุบลยิงตายที่ภูเขาชำ เมื่ออายุของข้าพเจ้าได้ 11-12ขวบแต่เป็นปีที่เท่าไร พ.ศ.เท่าไรจำไม่ได้ ข้าพเจ้าได้เห็นข้าหลวงเสนีพิทักษ์คนไทยมาจากกรุงเทพฯ เป็นข้าหลวงตั้งอยู่ที่เมืองขุขันธ์ มาปราบโจรผู้ร้าย มาตั้งอยู่ที่เมืองขุขันธ์ 10 ปีกว่า ในระหว่างนั้นโจรผู้ร้ายก็ราบคาบ วัวควายปล่อยทิ้ง เวลาค่ำก็ไปต้อนเอามา ข้าวปลาก็บริบูรณ์พอสมควร ครั้นอยู่มาเท่าไรก็จำปีไม่ได้ มีพระราชโองการตรัสสั่งให้ข้าหลวงเสนีพิทักษ์เข้าไปประชุมที่กรุงเทพฯ เลยจับอาการป่วยที่กรุงเทพฯ เลยถึงแก่กรรมที่กรุงเทพ ฯ ไม่ได้กลับคืนมาที่ขุขันธ์ แต่ไม่ทราบว่า พ.ศ. เท่าไร ในระหว่างนั้น ข้าหลวงพระยาบำรุงเมืองขุขันธ์นั้นอยู่ในตำแหน่งเป็นปลัดโคสา ในระหว่างนั้นได้มีราชโองการตรัสสั่งมาจากกรุงเทพฯ ให้พระยาขุขันธ์ภักดีกับท่านปลัดโคสาเมืองขุขันธ์ เกณฑ์เอาไปเอาโคเกวียนตามราษฎรบรรทุกสิ่งของ และส่งภรรยาท่านข้าหลวงเสนีพีทักษ์ กลับคืนไปกรุงเทพฯ แล้วท่านได้จัดให้บิดาของข้าพเจ้ากับหลวงชัยสุนทร ควบคุมโคเกวียนและราษฎรส่งภรรยาข้าหลวงเสนีพีทักษ์ กลับไปกรุงเทพ แต่วัน เดือน ปี พ.ศ. เท่าไรจำไม่ได้ ในระหว่างปีนั้น ท่านปลัดโคสาได้เข้าไปรับตราตั้งที่กรุงเทพฯ ได้รับตำแหน่งเป็นข้าหลวงพระยาบำรุงบูรณะประจันจางวาง ข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองขุขันธ์ครั้งที่ 6 และในระหว่างนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งไปจากขุขันธ์ ไปศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู๋ที่นครกรุงเทพฯ แล้วท่านได้รับเลื่อนตำแหน่ง สมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมจินดามหามุนี โคตมวงศ์ สังฆปาโมกข์ นามเดิมของท่านชื่อ อุต วัดเดิมของท่านอยู่วัดสะอางขุขันธ์ ได้รับตำแหน่งพร้อมกับพระยาบำรุงเมืองขุขันธ์ แต่ในระหว่างนั้น ข้าหลวงพระยาบำรุงได้กลับมาจากกรุงเทพฯ ก่อนพระครูธรรมจินดา ส่วนพระครูธรรมจินดานั้น ยังไม่ได้ออกมา ถึงศกหลัง ท่านจึงได้มีคำสั่งมาถึงคณะสงฆ์และพระยาบำรุงเมืองขุขันธ์ ให้จัดการรับท่านมา ในระหว่างเดือน 6 คณะสงฆ์ในท้องที่ อ.ขุขันธ์ได้จัดการไปต้อนรับถึงกรุงเทพฯ บ้างในท้องที่เมืองขุขันธ์ ก็พากันคอยรับรองท่าน พร้อมทั้งฝ่ายข้าราชการบ้านเมือง พอท่านมาถึงบ้านใจดี ตำบลใจดี พร้อมทั้งฝ่ายพระภิกษุสามเณรและคณะข้าราชการไปจัดการเลี้ยงพระสงฆ์ คอยต้อนรับท่านอยู่ที่บ้านใจดี ต.ใจดี เมือเสร็จกิจที่วัดใจดี ได้จัดการแห่ท่านอย่างมโหฬารอย่างครึกครื้น มโหฬารเข้ามาถึงเมืองขุขันธ์ แล้วไปยัง ณ วัดสะอาง ในระหว่างพระครูธรรมจินดาได้เป็นเจ้าคณะเมืองขุขันธ์ ได้ปกครองฝ่ายคณะสงฆ์ตลอดถึงเมืองสังขะ สำโรงทาบ บ้านดอนใหญ่ อำเภอกันทราลักษณ์ตลอดไปถึงเขตอำเภอพนมไพรและพรหมเทพ พรหมกัณ ลงไปลุมภูเขา ทั้งฝ่ายคณะสงฆ์ก็ได้อยู่ในใต้ข้อบังคับท่านพระครูธรรมจินดามหามุนีเจ้าคณะใหญ่ ท่านเป็นผู้ดูแลสั่งสอนกำชับตักเตือนในการศึกษาเล่าเรียนกิจธุระพระพุทธศาสนาต่อๆกันมา ส่วนฝ่ายคฤหัสถ์ข้าหลวงพระยาบำรุง ผู้ปกครองตลอดอาณาเขตเหมือนฝ่ายคณะสงฆ์ ที่เมืองขุขันธ์ในระหว่างนั้น กระดาษดินสอใช้การงานทั้งฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายคฤหัสถ์ ใช้สมุดกระดาษดำ เป็นพื้น เขียนกับดินสอพองใช้ในราชการ เมื่ออายุของข้าพเจ้าได้ 13 ปีในรัชการที่5 ฝ่ายการเสียรัชชูปการครั้งแรกเสียคนละ 3 บาท ครั้นต่อๆมาเสียคนละ 4 บาท และการปกครองในเมืองขุขันธ์นั้นมีนายเซ็น 8คน เป็นผู้เก็บเงินรัชชูปการ และมีนายอำเภอเป็นผู้รับเงินจากผู้เสียรัชชูปการและเป็นผู้ตัดสินคดีของราษฏร ตามบ้านนอกมีกำนันจาตาแสง สารวัตร จาตาแสงนั้นเป็นผู้ช่วยดูแลกิจการวัดพระศาสนา สารวัตรนั้นเป็นผู้ช่วยกำนัน ช่วยเร่งรัดเก็บเงินรัชชูปการตามราษฏร กำนันสารวัตรรวบรวมเงินรัชชูส่งถึงนายเซ็น นายเซ็นรวบรวมถึงส่งนายอำเภอ นายอำเภอรวบรวมส่งข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมือง ข้าหลวงรวบรวมส่งมณฑลผู้สำเร็จราชการในมณฑลต่อไป และในระหว่างข้าหลวงพระยาบำรุงปกครองอยู่นั้น มีคนไทยชื่อนายแซม เป็นพนักงานโทรเลขโทรศัพท์ไปอยู่เมืองขุขันธ์ ในระหว่างนั้นเมืองขุขันธ์ เจ๊กจีน พ่อค้า เฒ่าแก่ก็ยังมีไม่มาก มีอยู่ในระหว่าง 4- 5 หลังคา แต่ระหว่างพระยาบำรุงปกครองบ้านเมืองนั้น ไพร่ฟ้าประชาราษฏรก็อยู่เย็นเป็นสุขตามสมควร และโจรผู้ร้ายก็ค่อยเบาบางลง ที่เมืองขุขันธ์ และฟ้าฝนก็ตกชุกชุม มีพวกราษฏรทำนาทำไร่บริบูรณ์ดีตลอดทั่วกัน ข้าวกล้าก็บริบูรณ์ แต่ในระหว่างข้าหลวงเสนีพิทักษ์กลับไปกรุงเทพฯแล้ว ที่แขวงจังหวัดเมืองสุรินทร์ บังเกิดโจรผู้ร้ายอย่างแข็งกล้า ชื่อตังเคาโอม ตังเคาปาด ไปเที่ยวหาเพื่อนฝูงได้มาก ๆแล้วพากันไปแย่งชิง ข่มเหงเอาทรัพย์ ราษฏรตามบ้านนอก ฆ่าฟันคนตายเสียหายเป็นอันมาก คณะข้าราชการได้ออกไปปราบปรามจะจับกุมตัวมันก็ไม่ได้ จึงมีคำประกาศร้องทุกข์ไปถึงข้าหลวง พระยาบำรุงเมืองขุขันธ์ ขออำนาจบารมีท่านไปช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายในเขตต์เมืองสุรินทร์ให้ระงับราบคาบให้ด้วย เผอิญในระหว่างนั้นตังเคาโอม ตังเคาปาดมันเลยทะลวงมาอยู่ในท้องที่เขตต์อำเภอเมืองขุขันธ์ คือมาพักที่บ้านกะกำ ตำบลจะกง เพราะมันเที่ยวมาหาเพื่อนฝูงมิตรสหายของมัน แต่ในระหว่างนั้นทราบข่าวรู้ถึงข้าหลวงพระยาบำรุง รู้ว่าตังเคาโอม ตังเคาปาดมาจากอาณาเขตต์เมืองสุรินทร์เป็นนักเลงใหญ่ มาอยู่ในท้องที่ตำบลจะกงได้ 3-4วันแล้ว ข้าหลวงพระยาบำรุงได้ประชุมข้าราชการว่า จะคิดนโยบายให้คนเข้าไปพูดล่อลวงให้เข้ามาที่บ้านข้าหลวงพระยาบำรุง ในที่ประชุมตกลงกันเสร็จแล้ว ได้จัดให้ท่านผู้ช่วยบุญมี ซึ่งเป็นลูกเขยพระยาบำรุง แต่ท่านผู้ช่วยบุญมีนั้นซึ่งอยู่บ้านเจ๊ก ให้เอาช้างขี่ไป 3 เชือก ให้ไปพูดเกลี่ยกล่อมกับตังเคาโอม ตังเคาปาดได้แล้ว ก็พากันฆ่าโคเลี้ยงโต๊ะกันอยู่ที่ตำบลจะกงวันหนึ่งคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นถึงวันใหม่ ท่านผู้ช่วยบุญมีได้พาตังเคาโอม ตังเคาปาดขี่ช้างเข้าไปที่บ้านข้าหลวงพระยาบำรุงระหว่างประมาณ 2 ทุ่มเศษ มีคณะข้าราชการทั้งบ้านนอกและในเมืองพากันมาประชุมที่บ้านข้าหลวงพระยาบำรุง แน่นแออัดยัดเยียดกันมากทั้งบนเรือนและใต้ถุนเรือน บางคนถือหอก ถือเสียม ขวานและตะบองเป็นการแออัดยัดเยียดกันอยู่ เมื่อตังเคาโอม ตังเคาปาดเข้าไปถึงบ้านข้าหลวงพระยาบำรุงแล้ว คณะข้าราชการออกมารับตังเคาโอม ตังเคาปาด ไปบนเรือนข้าหลวงพระยาบำรุง แล้วร้องพูดประกาศกันว่าจะผูกมือเรียกขวัญ จะให้เอาเกลอกันกับท่านผู้ช่วยบุญมีลูกเขยพระยาบำรุง แล้วตั้งกระบวนเลี้ยงโต๊ะกันอย่างครึกครื้นโดยสุรายาบานและกัปปิยะอาหาร ส่วนตังเคาโอม ตังเคาปาดนั้น ถูกกินสุราลูกลำโพงแล้วเมาเบื่อไม่รู้สึกตัวหมอบลงลืมไม่ได้สติพวกคณะข้าราชการของพระยาบำรุง ก็กลุ้มรุมกันจับเอาตัวตังเคาโอม ตังเคาปาดได้ แล้วคุมส่งตัวไปที่มณฑลอุบลครั้นอยู่ไปอีกถึง 2 -3 ปี ที่เมืองศรีสะเกษมีโจรผู้ร้ายเกิดชุกชุมมาก ไปกดขี่ข่มเหงเอาทรัพย์สมบัติของราษฏร และเจ้าทรัพย์สมบัติของราษฏร และเจ้าทรัพย์ถูกฆ่าตายเป็นอันมาก คณะข้าราชการที่เมืองศรีสะเกษได้ออกไปปราบปรามคุมจับตัวก็ไม่ได้ เลยได้มีรายงานมาขออำนาจพระยาบำรุง ให้ออกไปช่วยปราบปรามโจรผู้ร้ายในท้องที่จังหวัดเมืองศรีสะเกศ ในคราวนั้นข้าหลวงพระยาบำรุง ได้ใช้ให้พระพิไชยราชวงษาซึ่งเป็นลูกเขยของท่าน พร้อมกับข้าราชการผู้เก่ง ๆออกจากเมืองขุขันธ์ไปประมาณ 4- 5 คน ไปปราบโจรผู้ร้ายที่จังหวัดศรีสะเกษ ค่อยราบคาบจับตัวได้บ้าง หลบหนีหนีตัวหายไปเสียบ้าง แต่ปี พ.ศ เท่าไรจำไม่ได้ ครั้นอยู่ไปได้อีก 2 - 3 ปี ที่เมืองศรีสะเกษก็เกิดโจรผู้ร้ายอย่างใหญ่โตขึ้นอีก คือตังเคายงซึ่งเป็นเชื้อชาติหลานเจ้าเมืองศรีสะเกษ ที่ถูกเข้าไล่ออกจากราชการ แล้วได้เที่ยวไปตามบ้านนอก ไปคบหาเพื่อนฝูงเป็นนักเลงได้มากแล้วไปกดขี่ข่มเหงเอาทรัพย์สมบัติพวกราษฏรเป็นอันมาก และไปจับเอาโคกระบือของราษฏรมาฆ่ากินตามลำพังใจเอง และฆ่าฟันเจ้าของทรัพย์ตายหลายบ้าน ในระหว่างนั้นคณะข้าราชการที่เมืองศรีสะเกษ ได้จัดการออกไปปราบปราม ก็คุมจับตัวตังเคายงไม่ได้ก็เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฏรเป็นอันมาก ไม่มีใครต้านทานตังเคายงได้ ในครั้งนั้นจึงมีรายงานแจ้งมาถึงพระยาบำรุงและพระยาขุขันธ์ภักดี ขออำนาจท่านให้ออกไปช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย คือตังเคายงที่ท้องที่จังหวัดศรีสะเกษให้ด้วย ในระหว่างนั้น ข้าหลวงพระยาบำรุง แลพระยาขุขันธ์ภักดีซึ่งเป็นลูกเขยข้าหลวงพระยาบำรุง ได้พร้อมกันประชุมคณะราชการเมืองขุขันธ์ ในที่ประชุมตกลงกันได้จัดให้ท่านผู้ช่วยบุญมีชึ่งเป็นลูกเขยของพระยาบำรุงเป็นผู้หัวหน้าพร้อมด้วยคณะราชการ 7-8 คน ออกไปต่อสู่ควบคุมไปจับเอาตัวเคายงได้ ให้ตัดศีรษะตังเคายงไปในเมืองศรีสะเกษและได้ทั้งลูกแดงมันด้วย แต่ในระหว่างนั้น ปี พ.ศ.จำไม่ได้ และในระหว่างพระยาบำรุงเมืองขุขันธ์ ปกครองเมืองขุขันธ์ เดือน ปี พ.ศ. จำไม่ได้ คือท้าวบุญจันทร์ซึ่งเป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดี ได้ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญออกไปอยู่ที่ภูเขาฝ่าย เขตน้ำอ้อมตำบลพราน ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญ คิดทำบุญที่ภูเขาฝ้าย และประกาศให้ราษฎรขึ้นไปหาเขาอย่างครึกครื้นเป็นอันมาก ทั้งชายหญิง ผู้บ่าวผู้สาว หมอรำ หมอแคนอย่างครึกครื้น แออัดเยียดและเอาผ้าขาวไปยกธงเป็นอันมาก ทั้งท้องที่ อ.เมืองน้ำอ้อมและ อ.ขุขันธ์ และสั่งให้ราษฎรเอาดาบ ปืน แหลน ขึ้นไปที่ภูเขาฝ้ายด้วย และจัดให้เป็นหมวดเป็นกอง และอยู่ควบคุมรักษาท่าน และจัดเป็นกระบวนหัดตำรวจทหาร ครั้นอยู่ไปได้ 10กว่าวัน ก็ได้ยินข่าวถึงข้าหลวงพระยาบำรุงและพระยาขุขันธ์ภักดี แล้วท่านได้จับข้าราชการไปตรวจดู และห้ามอย่าให้เอาดาบ ปืน แหลน ไปหัดเป็นพิธีตำรวจทหาร ผิดทางพระราชกฎหมายทางบ้านเมือง ถ้าท่านบุญจันทร์จะทำบุญก็จะอนุญาตให้ทำไปตามธรรมดาห้ามไม่ให้เอาดาบ ปืน แหลนขึ้นไปเป็นตำรวจทหารให้กลับเอาปืน ดาบ แหลน กลับมาคืน ไว้ที่บ้านเรือนตามเดิม แล้วจึงทำบุญไปตามธรรมดา ท่านท้าวบุญจันทร์ก็ไม่ฟังคำท่านผู้ห้ามปรามทำอยู่เช่นนั้นเสมอไป ครั้นอยู่ไปอีก 5-6 วันก็ให้ราษฎรจัดเป็นกระบวนแห่ท้าวบุญจันทร์ ขึ้นไปภูเขาชำภิกาเวลาเช้า 2 โมงเศษ ในระหว่างนั้นอายุของข้าพเจ้า 15ปี ได้ไปอยู่ทำนากับญาติพี่น้องที่กันตวด ข้าพเจ้ากับญาติกำลังตีข้าวอยู่ ที่ลานทุ่งนาตะวันออกบ้านกันตวด ได้เห็นเขาแห่ท้าวบุญจันทร์ลงจากฝ้ายไปภูเขาชำภิกาตามกระบวนนั้นมีคนแห่มากมายอย่างแออัดเยียดกันไป มีทั้งหมอรำ หมอแคนอย่างครึกครื้นกระบวนแห่นั้น แถวข้างหน้ามีชายฉกรรจ์อยู่ในราว 20 คนกว่า ถือไม้ไผ่ป่าคันแหลน แถวที่สามถือปืน แถวที่สี่ถือดาบยาว และพวกข้างหน้าถือไม้แหลนนั้นจัดเป็น 5 คน เสกด้ายพันศีรษะ พวกที่ถือปืน ดาบ แหลน และฤาษีทั้ง 5นั้นเป็นผู้ถือธงเดินไปข้างหน้า มีนายแจดและนายหมอลำพ้อเป็นแม่ควบคุมพวกเหล่านั้น เมื้อท้าวบุญจันทร์ไปอยู่ที่ภูเขาชำภิกาได้ 4-5 วัน แล้วข้าหลวงพระยาบำรุงได้จัดให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ไปคอยสอดแนมฟังข่าวอยู่ให้รู้ว่าคิดการงานอย่างไรครั้นกำนันผู้ใหญ่บ้านไปคอยสอดแนมก็รู้ข่าวชัดแน่ว่า เมื่อตระเตรียมได้แล้วจะยกกำลังเข้าไปตีปล้นที่เมืองขุขันธ์ แล้วมาตีเอาเงินที่ศาลากลาง ในคราวนั้นข้าหลวงพระยาบำรุงได้ทราบข่าวจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน ฉะนั้นข้าหลวงพระยาบำรุงจึงมีรายงานแจ้งไปยังข้าหลวงที่สำเร็จราชการมณฑลอุบลให้ทราบเนื้อความ ในระหว่างนั้นพระยาบำรุงและพระยาภักดีได้จัดให้ข้าราชการเอาช้าง 3เชือกไปเชิญท้าวบุญจันทร์ ให้ลงมาพูดกัน ถ้าจะทำบุญแล้วให้ทำเฉย ๆ อย่าให้ไปหัดกระบวนตำรวจทหาร แล้วให้ท้าวบุญจันทร์ลงไปรับอนุญาตเสียก่อน จึงค่อยมาทำบุญตามธรรมดา ท้าวบุญจันทร์ก็เลยไม่มา ท่านให้ไปเชิญถึง 3 ครั้ง ก็ไม่ลงมาเลย ในระหว่างนั้นเขาจึงมีหนังสือบอกไปถึงท่านผู้สำเร็จราชการอุบล แล้วข้าหลวงผู้สำเร็จราชการที่ มณฑลอุบล ได้มีคำสั่งให้ท้าวบุญจันทร์ไปรับอนุญาตมาทำบุญได้ และให้เลิกอย่าให้เอาดาบเอาปืนเอาแหลน ขึ้นไปจัดท่าหัดเป็นท่าตำรวจทหาร ให้ราษฎรกลับเอาปืนเอาดาบเอาแหลนกลับคืนมาไว้ที่บ้านเรือน และท่านท้าวบุญจันทร์ไม่ทำตามคำกำชับกำชาของท่านผู้ใหญ่ ในระหว่างนั้นข้าหลวงสำเร็จราชการอุบลจึงจัดทหารมาให้ 3 โหลนายร้อย 3คน มีนายร้อยตรีพัฒน์เป็นหัวหน้าออกมาที่ขุขันธ์ แล้วให้มีจดหมายจัดข้าราชการให้ไปเชิญท้าวบุญจันทร์ลงมาพูดกันเสียก่อน และรับอนุญาตไปทำบุญ ท้าวบุญจันทร์เลยไม่มาในระหว่างนั้นพวกทหารเข้าจึงได้ยกกระบวนกำลังทหารพร้อมกำนันผู้ใหญ่บ้านราษฏรขึ้นไปที่ภูเขาชำพิกา แล้วให้ไปเชิญท้าวบุญจันทร์มาพูดกับทหาร และคณะข้าราชการเสียก่อนจึงค่อยไปทำบุญ ท้าวบุญจันทร์เลยไม่มาพวกำนันและทหารที่เชิญไปนั้นกลับคืนมาหากองทัพทหารที่ตั้งอยู่ เมื่อพวกไปกลับมาประมาณระยะ 3เส้นเศษ พวกราษฏรของท้าวบุญจันทร์ พากันถือปืนถือแหลนวิ่งกรูโห่มาอย่างครึกครื้นตามมาข้างหลังพร้อมทั้งท้าวบุญจันทร์ด้วย และเขายิงพวกกำนันและทหารที่ตามหลังมา และพวกกำนันร้องบอกว่า นายเอ๋ยช่วยด้วย เขายิงพวกกระผมแล้วในระหว่างนั้นคณะกองทหารนั้น เขาเป่าเครื่องสัญญาให้กองทหารจัดกระบวนแถวตาทัพคอยอยู่ เมื่อพวกท้าวบุญจันทร์เข้ามาใกล้ยิงพวกคณะทหารแต่เขาดีไม่เสียทีที่พวกทหารคราวนั้น พวกทหารเขารับยิงตอบไป ในระหว่างนั้นราษฏรท้าวบุญจันทร์ขี่ม้าด้วยนั้น ก็ถูกปืนตายเสียหายเป็นอันมาก แล้วท้าวบุญจันทร์ยืนอยู่ที่แผ่นหินอันหนึ่งถือดาบยาวกระโดดมาจะฟัน เขาเลยยิงตอบไปถูกท้าวบุญจันทร์แขนหักล้มลงที่นั้น นายร้อยทหารเข้าไปถามว่านี่หรือตัวท้าวบุญจันทร์ คณะกำนันผู้ใหญ่บ้านราษฏรก็รับขึ้นพร้อมกล่าวว่านี่แหละตัวท่านท้าวบุญจันทร์จริง นายร้อยทหารจึงถอดกระบี่ออกจากฝักตัดคอท้าวบุญจันทร์เข้าไปในเมืองขุขันธ์ให้ญาติพี่น้องได้เห็นชัดแน่ในระหว่างนั้นพวกทหารก็เลยตั้งกองทัพอยู่ที่เมืองขุขันธ์ได้ 2 ปีกว่า ในระหว่างนั้นพวกราษฏรที่เมืองขุขันธ์พากันเข้าไปสมัครเป็นทหารอยู่มาก แต่คนที่สมัครเป็นทหารคราวนั้นระหว่าง 30-40 คนกว่า แต่คนพวกนั้นไม่รู้หนังสือไทยทั้งหมด ในระหว่างนั้นน้องของข้าพเจ้าได้เป็นเสมียนของท่านพระยาบำรุงเมืองขุขันธ์ แล้วไม่มีใครช่วยทำบัญชีคนที่ไปสมัครเป็นทหาร เลยพวกนายร้อยมาขอนายเสมียนนุตร ไปช่วยนายร้อยทำบัญชีทุกวันๆ เลยขอเข้าสมัครเป็นทหารต่อไป พวกกองทหารกลับมาอุบล นายนุตรน้องชายข้าพเจ้าได้รับเป็นนายสิบตรีทหาร ครั้นอยู่ไปได้อีก 2 ปีได้เลื่อนเป็นนายสิบโทต่อไปเลื่อนอยู่ในตำแหน่งว่าที่สิบเอก แล้วได้ย้ายจากจังหวัดอุบลไปอยู่ช่วยทำการที่จังหวัดศรีสะเกษได้ 2 ปี เลยจับอาการป่วยถึงแก่กรรม ณ ที่จังหวัดศรีสะเกษ แล้วข้าพเจ้าได้ไปจัดการเผาศพเอาอัฏฐิไปรวมญาติพี่น้องทำบุญให้ทานต่อไป ในระหว่างนั้นที่เมืองขุขันธ์ น้ำอ้อม สังขะเมืองสุรินทร์ศรีขรภูมิ พวกราษฏรซึ่งเป็นพ่อค้าวาณิชเคยไปค้าขายสินค้าต่าง ๆโดยพาหนะ ต้องอาศัยโคเกวียนไปค้าขายสินค้าโดยทางบกเป็นการกันดารมากคือบรรทุกสินค้าไปขายโคราช ถ้าเกวียนหนัก 20 วันถึงโคราช และบางทีมีพ่อค้าโคต่างมาคอยรับซ้อเอาไป บางทีก็ไปถึงสุรินทร์มีพ่อค้าโคต่างมาคอยรับซื้อต่อไป ในระหว่างคราวนั้น พ่อค้าวาณิชก็เข็ญบรรทุกครั่ง ลูกกระวาน ลูกกระก่อ พริกขี้หนู หนัง และข้าวต่าง ๆไปขายที่โคราช พระบิดาของข้าพเจ้าเคย ชวนพ่อค้าวานิชเพื่อนฝูงที่เป็นพ่อค้าด้วยกันเคยไปรวมกันคราวละ 30-40 เกวียนเสมอ ๆมาเป็นการกันดารมาก และทางขุขันธ์เมืองน้ำอ้อม สุรินทร์ สังขะ เพราะพ่อค้าเจ๊ก จีนและไทยยังไม่มี ใครออกไปอยู่ค้าขายสินค้าและการวัตถุของใช้ก็ยังกันดารอยู่มากเช่นถ้วยจาน และผ้าผ่อนนุ่งห่ม ก็ยังกันดารมากไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ และจะกล่าวสืบข่าวเมืองขุขันธ์ต่อๆกันมา