คุยกับผู้ใช้:ส.ไชยวงค์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ ส.ไชยวงค์ สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello ส.ไชยวงค์! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- 21:35, 2 มิถุนายน 2554 (ICT) == ประวัติวัดผาลาด =='ข้อความตัวหนา'ความเป็นมา วัดผาลาดในตำนาน ในตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่า “ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จมาประทับนั่งที่ผาลาดแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระฤาษี ชาวลัวะ ที่ใกล้ต้นบุนนาค(ก้ำก่อ) ยังหมู่ฤาษี เทวบุตร เทวดา แลชาวลัวะทั้งหลายเกิดปีติยินดีมากนักตลอดทั้งคืน พอรุ่งสว่างดีแล้ว เสด็จไปทางทิศบูรพา ทรงเห็นลานหินในลำธารงดงามยิ่ง ทรงประทับนั่งทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออกแล้วทรงรำพึงว่า “สถานที่นี้ ต่อไปภายหน้าจักเป๋นมหานครใหญ่ จักเป๋นที่อยู่ของกษัตริย์และคนทั้งหลาย ศาสนาของตถาคตจะมาดำรงมั่นคงอยู่ในเมืองนี้ เป็นที่รุ่งเรืองยิ่ง จักปรากฏชื่อเสียงลือชาไปทั่วทิศ” แล้วพระองค์ก็เสด็จลุกขึ้น ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหินก้อนหนึ่งแล้วมอบหื้อเทวดานำไปเก็บรักษาไว้ในถ้ำ ตรัสสอนว่าขอให้ท่านทังหลายหมั่นไหว้สาเมื่อถึงกาลอันควร รอยบาทแห่งข้านี้ก่จักปรากฏออกมาหื้อมหาชนทั้งหลายทั่วไปแล” กาลนั้นบุตรของพญายักษ์จิคำ และนางยักษ์ตาเขียว ขอลาสิกขา มาถือเพศเป็นฤาษี พระพุทธองค์ทรงอนุญาต พร้อมให้นามว่า "สุเทวฤาษี”หรือ เทพฤาษี ปฏิบัติธรรมอยู่บนดอยแห่งนี้มาโดยตลอด ในตำนานการสร้างเวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก ได้กล่าวว่า ฤาษีจากผาลาดหลวงเป็นผู้มาชี้สถานที่ และช่วยเป็นที่ปรึกษาการสร้างเมืองเจ็ดลิน เมืองหริภุญไชย เป็นต้น

วัดผาลาดในสมัยราชวงค์เม็งราย ในรัชสมัยพระเจ้ากือนา แห่งราชวงค์เม็งราย ทรงสร่างขึ้นเป็นวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทาย แสวงหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ พญาคชสารที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ได้เดินทางมุ่งไปทางดอยอ้อยช้าง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งพญาลิไท จากเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย และเหล่าเสนาอามาตย์ ก็แห่ฆ้อง กลอง ตามหลังช้างไป เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าหมอบลง พระราชาและบริวารต่างเห็นพร้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้น ขณะที่ทุกคนกำลังสนทนากันอยู่นั้น ช้างก็ลุกขึ้นเดิน และหยุดย่อเข่าลงอีก (ภาษาเหนือเรียกอาการของช้างว่า “ยอบลง”) ทำกิริยาอย่างนี้ 3 ครั้ง แล้วเดินต่อไปเมื่อไปถึงผาลาด ข้างธารน้ำตกมีอาศรมที่พักของพระฤาษีนักบวช มีบริเวณกว้างพอสมควร จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปกระทั่งถึงดอยอ้อยช้าง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ณ สถานที่นั้น คือวัดพระธาตุดอยสุเทพ ปัจจุบัน หลังจาสร้างพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว พระเจ้ากือนา ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดบนเส้นทางอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อเป็นอนุสรณ์ ขึ้นอีก 3 แห่ง คือ 1. วัดโสดาปันนาราม หรือสามยอบ (เรียกตามอาการของช้างที่ย่อเข่าลง 3 ครั้ง) ปัจจุบันเป็นวัดร้างในบริเวณเส้นทางเดินป่าวัดผาลาด อยู่ห่างจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มาประมาณ 1 กิโลเมตร 2. วัดสกิทาคามีวนาราม หรือผาลาด( เรียกตามลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน บางคนเดินมาลื่นล้ม ก็เรียกเป็น วัดผะเลิด เพราะคนที่เดินตามช้างมาตามธารน้ำตกลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน ต่อมาเรียกเป็นผาลาด ตามชื่อ ผาน้ำตก) 3. วัดอนาคามีวนาราม หรือม่อนพญาหงส์ ปัจจุบันคือเนินเขาเล็ก ๆ เข้าไปทางขวามือ ตรงข้ามหอดูดาสิรินธร (สันนิษฐานว่า บริเวณดังกล่าวน่ามีหงส์ หรือนกยูงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยขอม หรือ ละโว้ เรืองอำนาจโดยท่านสุเทวฤาษี ให้เป็นพระธาตุหมายเมือง) 4. วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดอรหันต์ หลังจากทำบุญปอยหลวง(ฉลองสมโภช)วัดทั้งสี่แห่งแล้ว มอบให้ชาวบ้านขึ้นไปเป็นผู้ดูแลวัดทั้ง 4 แห่ง กาลต่อมา พ.ศ.๒๔๗๓ ครูบาศรีวิชัยได้นำพาศรัทธา ประชาชน และสานุศิษย์ร่วมมือร่วมใจกันสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสายใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สร้างที่วัดขึ้นอีกสามแห่ง ให้เป็นที่พักของญาติโยมในระหว่างการเดินทาง และเป็นสื่อสารให้ผู้ที่ได้เดินทางขึ้นดอยสุเทพ เป็นดั่งการเดินไปบนเส้นทางแห่งอริยมรรค เริ่มตั้งแต่ วัดโสดา(ภายหลังเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพ จึงได้นำชื่อของท่านมาเติมไว้ข้างหน้าเพื่อเป็นกตัญญุตานุสรณ์ให้แก่ท่าน จึงได้ชื่อว่า “วัดศรีโสดามาจนถึงปัจจุบัน)




โบราณสถานภายในวัด3.1. วิหาร เป็นศิลปะไทลื้อ เดิมทีมุงด้วยใบตองตึง มาบูรณะเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินขอ ในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยมีสล่า( ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และ ครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย (ดูจากหลักฐานชื่อที่ติดอยู่ที่เสาวิหาร) ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูงสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม แต่นัยหนึ่งนั้นคือเป็นเป็นการสร้างโดยชาวไทลื้อ พุทธศิลปะจึงค่อไปทางนกยูง กระต่าย แต่พญาลิไทผู้แต่คัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงอาจจะสื่อสารให้เห็นว่าพระพุทธองค์คือศูนย์กลางของจักรวาล นั่งอยู่ท่ามกลางพระอาทิตย์(นกยุง) และพระจันทร์(กระต่าย)

3.2. เจดีย์ เป็นศิลปะพม่า น่าจะเป็นช่างกลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหารวัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่ (ผู้เขียน) แต่สภาพปัจจุบันถูกขุดเจาะเอาของไปตั้งแต่สมัยสงครามโลก และสมัยหลังสงคราม จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา องค์เจดีย์กลวงเป็นรูใหญ่ ได้บูรณะโดยศิลปากรในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อยอดให้สมบูรณ์ในปี ๒๕๔๕ 3.3. บ่อน้ำ บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์บ้าง บ่อฤาษีบ้าง น้ำบ่อเต่าบ้าง หากสังเกตจะทำให้ทราบว่ามีการสร้างทับขึ้นหลายครั้ง จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งเป็นฤาษีที่พำนักอยู่ในบริเวณนี้ ครั้งที่ สอง สร้างขึ้นโดยชาวเมืองสุโขทัยที่ติดตามงานบุญอัญเชิญพระธาตุร่วมกับพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ ซึ่งเป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำธารโดยตรง ครั้งที่สามน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่(ดูจากอิฐที่ปากบ่อน้ำ) และครั้งที่สี่ในสมัยครูบาศรีวิชัย การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไทลื้อ ไทเขิน สิบสองปันนา เป็นต้น 3.4. พระพุทธรูปหน้าผา เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก คุณบุญเสริมถ่ายภาพไว้ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา ศิลป์พม่าร่วมสมัย มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน และมีพระพระพุทธรูปศักดิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา (เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะว่า คนโบราณลงอาคมไว้เพื่อไม่ให้กา ที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์แจ้งเหตุร้าย และนิสัยไม่ดี ไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้ เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่าพระไล่กา แม้แต่ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ หากนำอาหารติดตัวมา หากเป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้ มักจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง ) ภายหลังมีพี่น้องทหารบ้าง ชาวบ้านบ้างที่ต่อต้านพม่า เมื่อก่อการไม่สำเร็จส่วนหนึ่งหลบหนีมาพักอยู่กับพระฤาษีในถ้ำผาลาด ภายหลังเมื่อพม่าสืบรู้จึงนิมนต์ฤาษีออกจากถ้ำ เพราะเกรงจะถูกใช้เป็นที่ซ่องสุม เมื่อยึดพื้นที่คืนได้จะก่ออิฐปิดปากถ้ำนับแต่นั้นมา

3.5. วิหารพระเจ้ากือนา เดิมเพียงแนวอิฐ อยู่ข้างลำธาร ตรงฐานพระประธาน ได้สร้างศาลาครอบเอาไว้ แต่ยังมองเห็นแนวแท่นพระอยู่ ซึ่งปัจจุบันวัดได้ดำเนินการปรับปรุง สร้างเป็นหอพระกัมมัฏฐาน เรียกว่าวิหารพระเจ้า ๕ พระองค์ หรือหอกรรมฐาน 3.6. วิหารวัดสามยอบ ปัจจุบันเห็นแต่เพียงเนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 20  40 เมตร มีอิฐกระจัดกระจายอยุ่ทั่วบริเวณ ด้านหน้าวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่ โบราณน่าจะทีทางน้ำไหลผ่านมาเข้าที่สระนั้น ซึ่งหากสามารถนำน้ำมาลง ณ ที่นั้นได้จะช่วยให้บริเวณของสามยอม ม่อนภาวนา กลับชุ่มชื้น ต้นไม้ใบหญ้าจะสดชื่นขึ้นอีกมากมายนัก 4. สภาพของวัดในปัจจุบัน

ประวัติวัดผาลาด[แก้]

ความเป็นมา วัดผาลาดในตำนาน ในตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้ว่า “ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เสด็จมาประทับนั่งที่ผาลาดแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระฤาษี ชาวลัวะ ที่ใกล้ต้นบุนนาค(ก้ำก่อ) ยังหมู่ฤาษี เทวบุตร เทวดา แลชาวลัวะทั้งหลายเกิดปีติยินดีมากนักตลอดทั้งคืน พอรุ่งสว่างดีแล้ว เสด็จไปทางทิศบูรพา ทรงเห็นลานหินในลำธารงดงามยิ่ง ทรงประทับนั่งทอดพระเนตรไปทางทิศตะวันออกแล้วทรงรำพึงว่า “สถานที่นี้ ต่อไปภายหน้าจักเป๋นมหานครใหญ่ จักเป๋นที่อยู่ของกษัตริย์และคนทั้งหลาย ศาสนาของตถาคตจะมาดำรงมั่นคงอยู่ในเมืองนี้ เป็นที่รุ่งเรืองยิ่ง จักปรากฏชื่อเสียงลือชาไปทั่วทิศ” แล้วพระองค์ก็เสด็จลุกขึ้น ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหินก้อนหนึ่งแล้วมอบหื้อเทวดานำไปเก็บรักษาไว้ในถ้ำ ตรัสสอนว่าขอให้ท่านทังหลายหมั่นไหว้สาเมื่อถึงกาลอันควร รอยบาทแห่งข้านี้ก่จักปรากฏออกมาหื้อมหาชนทั้งหลายทั่วไปแล” กาลนั้นบุตรของพญายักษ์จิคำ และนางยักษ์ตาเขียว ขอลาสิกขา มาถือเพศเป็นฤาษี พระพุทธองค์ทรงอนุญาต พร้อมให้นามว่า "สุเทวฤาษี”หรือ เทพฤาษี ปฏิบัติธรรมอยู่บนดอยแห่งนี้มาโดยตลอด ในตำนานการสร้างเวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก ได้กล่าวว่า ฤาษีจากผาลาดหลวงเป็นผู้มาชี้สถานที่ และช่วยเป็นที่ปรึกษาการสร้างเมืองเจ็ดลิน เมืองหริภุญไชย เป็นต้น

วัดผาลาดในสมัยราชวงค์เม็งราย ในรัชสมัยพระเจ้ากือนา แห่งราชวงค์เม็งราย ทรงสร่างขึ้นเป็นวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทาย แสวงหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ พญาคชสารที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ได้เดินทางมุ่งไปทางดอยอ้อยช้าง พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งพญาลิไท จากเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย และเหล่าเสนาอามาตย์ ก็แห่ฆ้อง กลอง ตามหลังช้างไป เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าหมอบลง พระราชาและบริวารต่างเห็นพร้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ ที่นั้น ขณะที่ทุกคนกำลังสนทนากันอยู่นั้น ช้างก็ลุกขึ้นเดิน และหยุดย่อเข่าลงอีก (ภาษาเหนือเรียกอาการของช้างว่า “ยอบลง”) ทำกิริยาอย่างนี้ 3 ครั้ง แล้วเดินต่อไปเมื่อไปถึงผาลาด ข้างธารน้ำตกมีอาศรมที่พักของพระฤาษีนักบวช มีบริเวณกว้างพอสมควร จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปกระทั่งถึงดอยอ้อยช้าง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ณ สถานที่นั้น คือวัดพระธาตุดอยสุเทพ ปัจจุบัน หลังจาสร้างพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว พระเจ้ากือนา ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดบนเส้นทางอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเพื่อเป็นอนุสรณ์ ขึ้นอีก 3 แห่ง คือ 1. วัดโสดาปันนาราม หรือสามยอบ (เรียกตามอาการของช้างที่ย่อเข่าลง 3 ครั้ง) ปัจจุบันเป็นวัดร้างในบริเวณเส้นทางเดินป่าวัดผาลาด อยู่ห่างจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มาประมาณ 1 กิโลเมตร 2. วัดสกิทาคามีวนาราม หรือผาลาด( เรียกตามลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน บางคนเดินมาลื่นล้ม ก็เรียกเป็น วัดผะเลิด เพราะคนที่เดินตามช้างมาตามธารน้ำตกลื่นหกล้มกันหลายคน บ้างก็ว่าช้างก็ลื่นเหมือนกัน ต่อมาเรียกเป็นผาลาด ตามชื่อ ผาน้ำตก) 3. วัดอนาคามีวนาราม หรือม่อนพญาหงส์ ปัจจุบันคือเนินเขาเล็ก ๆ เข้าไปทางขวามือ ตรงข้ามหอดูดาสิรินธร (สันนิษฐานว่า บริเวณดังกล่าวน่ามีหงส์ หรือนกยูงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยขอม หรือ ละโว้ เรืองอำนาจโดยท่านสุเทวฤาษี ให้เป็นพระธาตุหมายเมือง) 4. วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นวัดอรหันต์ หลังจากทำบุญปอยหลวง(ฉลองสมโภช)วัดทั้งสี่แห่งแล้ว มอบให้ชาวบ้านขึ้นไปเป็นผู้ดูแลวัดทั้ง 4 แห่ง กาลต่อมา พ.ศ.๒๔๗๓ ครูบาศรีวิชัยได้นำพาศรัทธา ประชาชน และสานุศิษย์ร่วมมือร่วมใจกันสร้างทางขึ้นดอยสุเทพสายใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สร้างที่วัดขึ้นอีกสามแห่ง ให้เป็นที่พักของญาติโยมในระหว่างการเดินทาง และเป็นสื่อสารให้ผู้ที่ได้เดินทางขึ้นดอยสุเทพ เป็นดั่งการเดินไปบนเส้นทางแห่งอริยมรรค เริ่มตั้งแต่ วัดโสดา(ภายหลังเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพ จึงได้นำชื่อของท่านมาเติมไว้ข้างหน้าเพื่อเป็นกตัญญุตานุสรณ์ให้แก่ท่าน จึงได้ชื่อว่า “วัดศรีโสดามาจนถึงปัจจุบัน)




โบราณสถานภายในวัด3.1. วิหาร เป็นศิลปะไทลื้อ เดิมทีมุงด้วยใบตองตึง มาบูรณะเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินขอ ในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยมีสล่า( ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และ ครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย (ดูจากหลักฐานชื่อที่ติดอยู่ที่เสาวิหาร) ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูงสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม แต่นัยหนึ่งนั้นคือเป็นเป็นการสร้างโดยชาวไทลื้อ พุทธศิลปะจึงค่อไปทางนกยูง กระต่าย แต่พญาลิไทผู้แต่คัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงอาจจะสื่อสารให้เห็นว่าพระพุทธองค์คือศูนย์กลางของจักรวาล นั่งอยู่ท่ามกลางพระอาทิตย์(นกยุง) และพระจันทร์(กระต่าย)

3.2. เจดีย์ เป็นศิลปะพม่า น่าจะเป็นช่างกลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหารวัดมหาวัน ถนนท่าแพ เชียงใหม่ (ผู้เขียน) แต่สภาพปัจจุบันถูกขุดเจาะเอาของไปตั้งแต่สมัยสงครามโลก และสมัยหลังสงคราม จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา องค์เจดีย์กลวงเป็นรูใหญ่ ได้บูรณะโดยศิลปากรในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อยอดให้สมบูรณ์ในปี ๒๕๔๕ 3.3. บ่อน้ำ บ้างบอกว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์บ้าง บ่อฤาษีบ้าง น้ำบ่อเต่าบ้าง หากสังเกตจะทำให้ทราบว่ามีการสร้างทับขึ้นหลายครั้ง จึงสันนิษฐานว่า ครั้งที่หนึ่งเป็นฤาษีที่พำนักอยู่ในบริเวณนี้ ครั้งที่ สอง สร้างขึ้นโดยชาวเมืองสุโขทัยที่ติดตามงานบุญอัญเชิญพระธาตุร่วมกับพระเจ้ากือนา เพื่อเอาน้ำไว้กิน อาบ ซึ่งเป็นวิธีการกรองน้ำอย่างหนึ่งของคนโบราณ จะได้ไม่ต้องใช้น้ำจากลำธารโดยตรง ครั้งที่สามน่าจะเป็นสมัยที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่(ดูจากอิฐที่ปากบ่อน้ำ) และครั้งที่สี่ในสมัยครูบาศรีวิชัย การสร้างมณฑปครอบบ่อน้ำนี้เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในถิ่นชาวไทลื้อ ไทเขิน สิบสองปันนา เป็นต้น 3.4. พระพุทธรูปหน้าผา เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก คุณบุญเสริมถ่ายภาพไว้ เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา ศิลป์พม่าร่วมสมัย มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน และมีพระพระพุทธรูปศักดิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา (เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะว่า คนโบราณลงอาคมไว้เพื่อไม่ให้กา ที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์แจ้งเหตุร้าย และนิสัยไม่ดี ไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้ เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่าพระไล่กา แม้แต่ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ หากนำอาหารติดตัวมา หากเป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้ มักจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง ) ภายหลังมีพี่น้องทหารบ้าง ชาวบ้านบ้างที่ต่อต้านพม่า เมื่อก่อการไม่สำเร็จส่วนหนึ่งหลบหนีมาพักอยู่กับพระฤาษีในถ้ำผาลาด ภายหลังเมื่อพม่าสืบรู้จึงนิมนต์ฤาษีออกจากถ้ำ เพราะเกรงจะถูกใช้เป็นที่ซ่องสุม เมื่อยึดพื้นที่คืนได้จะก่ออิฐปิดปากถ้ำนับแต่นั้นมา

3.5. วิหารพระเจ้ากือนา เดิมเพียงแนวอิฐ อยู่ข้างลำธาร ตรงฐานพระประธาน ได้สร้างศาลาครอบเอาไว้ แต่ยังมองเห็นแนวแท่นพระอยู่ ซึ่งปัจจุบันวัดได้ดำเนินการปรับปรุง สร้างเป็นหอพระกัมมัฏฐาน เรียกว่าวิหารพระเจ้า ๕ พระองค์ หรือหอกรรมฐาน 3.6. วิหารวัดสามยอบ ปัจจุบันเห็นแต่เพียงเนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 20  40 เมตร มีอิฐกระจัดกระจายอยุ่ทั่วบริเวณ ด้านหน้าวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่ โบราณน่าจะทีทางน้ำไหลผ่านมาเข้าที่สระนั้น ซึ่งหากสามารถนำน้ำมาลง ณ ที่นั้นได้จะช่วยให้บริเวณของสามยอม ม่อนภาวนา กลับชุ่มชื้น ต้นไม้ใบหญ้าจะสดชื่นขึ้นอีกมากมายนัก 4. สภาพของวัดในปัจจุบัน