คุยกับผู้ใช้:ก้อนเมฆ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

left‎ สวัสดีครับ ผมนาย"ก้อนเมฆ" พวกคุณๆ ชาววิกิทั้งหลายสามารถเข้ามาติชม เสนอแนะ บทความที่"ก้อนเมฆ"เขียนขึ้น หรือที่ได้เข้าไปแก้ไขในบทความต่างๆ ซึ่ง"ก้อนเมฆ"ยินดีรับข้อมูลเหล่านี้เสมอ(แต่เวลาติ อย่าให้แรงนักน้าาา เดี๋ยวไม่กล้าเขียนต่อ..555)

ยินดีต้อนรับ[แก้]

สวัสดีครับคุณก้อนเมฆ ขอให้เขียนบทความลงวิกิเยอะ ๆ ครับ ชาววิกิไทยยินดีต้อนรับครับ มีปัญหาในวิกิปรึกษาได้ครับ Timekeepertmk 11:48, 22 สิงหาคม 2006 (UTC)


ตามคำขอครับ..(เท่าที่มีปัญญาทำได้)[แก้]

"The sacrament of feet washing enables one to have a part with the Lord Jesus. It also serves as a constant reminder that one should have love, holiness, humility, forgiveness and service. Every person who has received water baptism should have their feet washed in the name of Jesus Christ. Mutual feet washing is practiced whenever is appropriate".

คำศัพท์

sacrament-พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน humility-ความอ่อนน้อมถ่อมตน baptism-พีธีล้างบาปในศาสนาคริสต์ mutual-ซึ่งกันและกัน , ซึ่งสัมพันธ์กัน appropriate-เหมาะสม , จัดสรรไว้ , นำมาใ้ช้ส่วนตัว

เวอร์ชั่นที่แปลตรง(อาจไม่ค่อยรู้เรื่องเผื่อเอาไปเรียบเรียงเองครับ) "พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนของการล้างเท้า สามารถทำให้คนผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระเยซูคริสต์ และยังเป็นการรับใช้เหมือนเช่นสิ่งซึ่งหลงเหลือ ตกค้างอยู่อย่างถาวร คนผู้นั้นควรมี ความรัก, ความศักดิ์สิทธิ์, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, การให้อภัย และ การรับใช้ ทุกคนที่ได้รับน้ำ baptism ควรที่ให้เท้าได้ถูกล้างในนามของพระเยซูคริสต์ การล้างเท้าซึ่งกันและกันเป็นการฝึกที่ไม่ว่าเมื่อไรก็เป็นสิ่งเหมาะสม"

เวอร์ชั่นที่พยายามทำให้สละสลวย(ซึ่งจะถูกรึเปล่าก็ไม่รู้)

"พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนแห่งการชำระเท้า (ไม่ทราบจะแปลอย่างไรเหมือนกันเพราะเป็นชาวพุทธ ไม่ทราบพิธีทางคริสต์) สามารถทำให้คนผู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระบุตร (Jesus ตามที่ผมเข้าใจ-ไม่รู้ใช่รึเปล่า) แล้วยังถือเป็นการรับใช้ประดุจสิ่งซึ่งอยู่เป็นนิรันดร์ืที่ควรมีไว้ซึ่ง ความรัก, ความศักดิ์สิทธิ์, ความอ่อนน้อมถ่อมตน, การให้อภัย และ การรับใช้ ทุกคนที่ได้รับน้ำในชำระบาป (baptism ตามที่ผมเข้าใจ-ไม่รู้ใช่รึเปล่า) ให้เท้าของเขาเหล่านั้นถูกชำระในนามของพระคริสต์ การชำระล้างเท้าซึ่งกันและกันนั้นไม่ว่าเมื่อไรก็ถือเป็นสิ่งสมควร"

ถูกหรือผิดก็ไม่รู้นะครับ หากพอมีประโยชน์บ้างก็ดีใจแล้วครับ...ว่าแต่ว่าจะเอาไปทำอะไรหรือครับ ช่วยบอกด้วย (อีกอย่างคิดยังไงถึงอยากให้ผมช่วยแปลให้ เพราะผมก็ไม่ได้ทำบทความจากการแปลซะหน่อย).../( -_-')\... ก้อนเมฆ 10:13, 24 สิงหาคม 2006 (UTC)

Gratitude[แก้]

Thankyou very much ิก้อนเมฆ for your excellent translation help!

I am very grateful. May you prosper!


Can you please kindly help me one more time by translating this passage into the wonderful Thai language?


"The Sabbath day, the seventh day of the week (Saturday), is a Holy Day, blessed and sanctified by God. It is observed under the Lord's grace for the commemoration of God's creation and salvation and with the hope of eternal rest in the life to come".


(Sabbath Day = วันบริสุทธิ์)

Thankyou --Jose77 20:58, 24 สิงหาคม 2006 (UTC)

(I come from Taiwan).


THANKYOU VERY MUCH ิก้อนเมฆ for your brilliant translation effort!


(If you ever need any articles to be translated to the Chinese language, then I would gladly help you). --Jose77 21:21, 26 สิงหาคม 2006 (UTC)

เรื่องของประเทศ[แก้]

จริง ๆ แล้วผมก็ชอบเรื่องประเทศเหมือนกันครับ ชอบมากด้วยครับ ซึ่งในขณะนี้กำลังเพิ่มเติมข้อมูลอยู่ครับ (โดยเฉพาะในเขตโอเชียเนีย)การ์ตูนก็มีอ่านบ้างเล็กน้อยครับ แต่ไม่เคยเขียน เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ ก็สำหรับเวลาพูดคุยกับผู้ใช้ท่านอื่นสามารถใช้ปุ่มลายเซ็นต์หรือพิมพ์

~~~~

ก็ได้ครับ Timekeepertmk 11:36, 24 สิงหาคม 2006 (UTC)

ทักทาย[แก้]

สวัสดีค่ะ เราเป็นคนที่ตามอ่านบทความ วากาบอนด์ ของคุณก้อนเมฆอยู่ แบบว่าอ่านแล้วรู้สึกอยากไปหาหนังสือการ์ตูนมาอ่านเลย (เคยอ่านแค่คาเมเลียนเจล สแลมดังก์ แล้วก็ เรียล) แต่เราก็ได้เข้าไปแก้ไขบทความที่คุณก้อนเมฆเขียนบ้างเหมือนกัน ถ้าแก้ไขตรงไหนผิดพลาดไป ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ แล้วจะรออ่านบทความต่อๆไปนะคะ

อ้อ เอารูปของอิโนอุเอะ ทาเคฮิโกะ ในหน้าวากาบอนด์ออกดีกว่าไหมคะ? เพราะบทความวากาบอนด์ ก็น่าจะมีแต่รูปวากาบอนด์ (แต่มีเยอะๆ 56k ก็โหลดไม่ค่อยไหวนะคะ TvT ) และรูปของ อ.แกก็มีอยู่ในบทความของแกเองอยู่แล้วด้วย --Piggy 16:05, 25 สิงหาคม 2006 (UTC)

วากาบอนด์[แก้]

น่าหาซื้อมาอ่านจังเลยครับ สุดยอดครับ โดยส่วนตัวคิดว่ามีความละเอียดดีครับ ชอบจริง ๆ ครับ Timekeepertmk 06:30, 26 สิงหาคม 2006 (UTC)

ชื่อผิด?[แก้]

เข้าใจว่า username สะกดผิดหรือเปล่าครับ (สระ อิ เกิน) สามารถเปลี่ยนได้นะครับ โดยแจ้ง bureaucrat จากรายชื่อในหน้านี้ วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 06:48, 26 สิงหาคม 2006 (UTC)

สวัสดีครับแวะมาทักทายเช่นกันครับ ตัวผมเองเป็นผู้ดูแลใหม่ครับ (ยังเปลี่ยนชื่อคนอื่นไม่ได้) อาจจะลองติดต่อ User:Pi@k, User:Markpeak หรือ User:Kie นะครับ (ที่มีสิทธิแต่งตั้ง+) ที่เห็นว่าออนไลน์ช่วงนี้ส่วนคนอื่นอาจจะไม่ค่อยได้ออนไลน์เท่าไรแล้ว และถ้าเปลี่ยนชื่อหน้าอื่นๆสามารถย้ายตามไปได้เช่นกันครับ สำหรับคำถามเพิ่มเติมสามารถ สามารถถามได้ทุกเมื่อที่หน้าพูดคุย หรือสามารถแชตคุยกันได้ครับที่ โดยสามารถหาได้จาก วิกิพีเดีย:เมสเซนเจอร์ ยินดีที่ได้รู้จักครับ --Manop | พูดคุย - 23:56, 26 สิงหาคม 2006 (UTC)
ผมเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ของคุณก้อนเมฆให้ไม่มีสระอิแล้วนะครับ --Pi@k 04:01, 27 สิงหาคม 2006 (UTC)

( >< )b[แก้]

ขอบคุณค่ะที่ไปฝากข้อความไว้ในหน้าพูดคุยของเรา ดีใจเช่นกันที่เจอคนคอเดียวกัน แต่ส่วนตัวเราชอบลายเส้นของ อ.อิโนอุเอะ ช่วงที่วาดคาเมเลียนเจล ไปถึงสแลมดังก์ช่วงแรก ๆ มากกว่านะคะ แต่ว่าลายเส้นใหม่ของเขาก็ดูสวยสมจริง ยิ่งวากาบอนด์นี่ภาพสีสวยจริงๆ

ที่จริงเราก็อยากอ่านวากาบอนด์จะแย่แล้วค่ะ (Piggy ชอบอ่านการ์ตูนเหมือนผู้ชาย หมัดดาวเหนือ, เซย่า, โรงเรียนลูกผู้ชาย ฯลฯ โปรดมาก) แต่ที่ไม่ยอมอ่านซะทีก็เพราะ กลัวจะติด >> ตามไปซื้อยกชุด >> แกลบ ( ^ ^;) --Piggy 19:04, 27 สิงหาคม 2006 (UTC)

ชื่อ[แก้]

สวัสดีค่ะ เรื่องชื่อตัวการ์ตูนนั้น ควรจะยึดการเรียกชื่อตามในหนังสือฉบับลิขสิทธิ์เป็นหลัก คือ นามสกุลนำหน้าชื่อ เพราะคนอ่านจะคุ้นเคยมากกว่าค่ะ (ลองดูเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย:สภาการ์ตูน/นโยบายที่ตัดสินแล้ว#ชื่อ - นามสกุลคนญี่ปุ่น) แต่ถ้าตามธรรมเนียมภาษาอังกฤษ ก็จะเหมือนกับของไทย คือ เอาชื่อนำหน้าค่ะ อย่าง Takehiko Inoue ถ้าอ่านแบบญี่ปุ่นก็ต้องเป็น อิโนอุเอะ ทาเคฮิโกะ (อิโนอุเอะ เป็นนามสกุลค่ะ)

สำหรับบทความ เรียล ขอบคุณนะคะที่มาบอก แล้วจะรีบตามไปดูค่ะ ^ ^ ถ้าสงสัยอะไรอีกก็ถามได้นะคะ --Piggy 06:36, 31 สิงหาคม 2006 (UTC)

เอจิ โยชิคาวะ[แก้]

สวัสดีค่ะ สำหรับการอ่านทับศัพท์ชื่อภาษาญี่ปุ่นนั้น ก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดน่ะค่ะ เพราะมันไม่ใช่ภาษาเรา - -" อย่าง "Yoshikawa" จะอ่านตามที่คุณยกตัวอย่างมาทุกแบบ ก็ไม่ผิดเลยสักแบบ แต่ถ้าจะยึดตามหลักการออกเสียงในวิกิพีเดียแล้ว คิดว่าควรเป็น "โยชิคาวะ" นะคะ ลองดูเพิ่มเติมได้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น และ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ค่ะ

ส่วน ย์ ในชื่อ เอจิ โยชิคาวะ เราขออนุญาตเอาออกนะคะ เพราะชื่อบทความไม่มี ย์ (และเราก็ค่อนข้างเอนเอียงไปกับชื่อที่ไม่มี ย์ เหตุผลดูได้ที่นี่ค่ะ แหะๆ) แต่ก็เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของเราเท่านั้น ถ้าคุณก้อนเมฆต้องการที่จะใส่ ย์ ก็ย้ายชื่อบทความได้เลยนะคะ --Piggy 17:22, 8 กันยายน 2006 (UTC)

ขอบคุณมากเลยครับ ลองเ้ข้าไปอ่านดูแล้วได้ความรู้เรื่องภาษาญี่ปุ่นเพิ่มดีครับ (จากเดิมที่ไม่มีเลย).......แล้วก็เลยเข้าไปแก้ไขและเพิ่มเติมจนมี update แล้วนะครับ ลองเข้าไปดูได้เลยที่นี่ มีภาพปกหนังสือสวยๆ ด้วย และเพิ่ม Link ของจังหวัดคานางาว่า (Kanagawa Prefecture)ด้วย จริงๆ.......แล้วก็อยากจะทำเป็นภาษาไทยอยู่ แต่รายละเอียดมันเยอะ (แต่ถึงจะแค่แปลเอาคร่าวพอเข้าใจก็ยังรู้สึกว่ายากอยู่ดี เพราะมีศัทพ์เฉพาะค่อนข้างมาก กลัวแปลแล้วผิดซะเปล่าๆ).../( -_-')\... ก้อนเมฆ 06:23, 9 กันยายน 2006 (UTC)

โชะๆ[แก้]

しょ อ่านว่า โชะ ค่ะ ส่วน ちょ ก็ต้องออกเสียงเป็นสระ โอ๊ะ เช่นเดียวกัน นอกนั้นพยัญชนะอื่นๆที่ควบกล้ำกับ ょ ก็จะออกเสียงสระเอียว (เป็นยังไง??) เหมือนกับ เคียว หมดค่ะ

แต่ถ้าจะเขียน しょ ทับศัพท์เป็นโรมะจิ ก็จะเขียนได้ 2 แบบ คือ sho (แบบเฮ็ปเบิร์นชิกิ) และ syo (แบบคุงเรชิกิ) ซึ่งอาจทำให้คุณก้อนเมฆ งงได้ เพราะถึงจะเขียนว่า syo แต่อ่านว่า โชะ ไม่ได้อ่านว่า เซียว (บางครั้งเรายังหลงเลย - -" เพราะชินแต่กับแบบเฮ็ปเบิร์น) ยังไงลองดูเพิ่มที่ en:Romanization of Japanese นะคะ ขอโทษด้วยค่ะที่คราวนี้อธิบายไม่ละเอียดเลย --Piggy 11:17, 13 กันยายน 2006 (UTC)

ป.ล. ลืมบอกไป เกี่ยวกับจังหวัดคานางาวะ ถ้าอยากแปลก็แปลเลยค่ะ คร่าวๆก็ได้ ไม่ต้องกลัวผิดหรอก เดี๋ยวคนอื่นก็มาช่วยแก้ไขให้เอง (เราด้วย :)

อืม...เรื่องเสียงยาวเสียงสั้นนี่จะพูดยังไงดีนะ มันแล้วแต่ความถนัดของคนอ่านค่ะ ไม่ผิดทั้งคู่ แต่เราขอตอบตามความเห็นส่วนตัวของเราละกันนะคะ เท่าที่เห็นการถอดเสียงชื่อมา (จากในการ์ตูน อนิเม อะไรเทือกนี้) ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างที่คุณก้อนเมฆเข้าใจ คือ เสียงแรกและเสียงกลาง ออกเสียงยาว และเสียงหลังออกเสียงสั้น เช่น อายะ, มาซามิ ฯลฯ แต่ยกเว้นเฉพาะตัวอักษรวรรค "อิ" เท่านั้นค่ะ ที่ไม่เคยเห็นออกเสียงยาวเหมือนกับวรรคอื่นๆ จะออกเสียงสั้นเป็น ริ, คิ, ชิ, มิ ฯลฯ อย่าง いき ที่คุณยกตัวอย่างมา ก็ต้องออกเสียง อิคิ (หรือ อิกิ) ค่ะ
แต่พอไปคุ้ยโดราเอมอนเล่มเก่าๆ มาอ่าน ปรากฏว่ามีบาง สนพ. อ่านชื่อว่า โนบีตะ ด้วยแฮะ สรุปว่าเคยมีสินะ กับการถอดเสียงวรรค อิ เป็นเสียงยาว ( - -")a --Piggy 15:23, 15 กันยายน 2006 (UTC)
เพิ่มเติมจากคุณ Piggy ครับ สมัยก่อนคนไทยชอบออกเสียงยาวลงท้ายแล้วเป็นเสียงโท เหมือนอย่างหลายๆ คำที่เจอ เช่น ฮอนด้า โตโยต้า ทาเคด้า (ชื่อบริษัทยา ทาเคดะ/ทะเคะดะ) และอื่นๆ อีกมากมายครับ --Manop | พูดคุย - 15:30, 15 กันยายน 2006 (UTC)