คานธีโฏปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาชิกคองเกรสแห่งชาติอินเดียเกินขบวนในนิวเดลีเมื่อปี 1937 สังเกตได้ว่าสมาชิกคองเกรสสวมใส่คานธีโฏปี

หมวกแก๊ปคานธี หรือ คานธีโฏปี (ฮินดี: गाँधी टोपी) เป็นหมวกไซด์แคปทำมาจากผ้า ขาฑี ชื่อของหมวกได้มาจากมหาตมา คานธี ผู้ริเริ่มการสร้างคานธีโฏปีและเป็นผู้ทำให้หมวกนี้นิยมขึ้นมาในระหว่างขบวนการเอกราชอินเดีย หมวกนี้กลายมาเป็นที่นิยมสวมใส่โดยนักเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชอินเดีย และสืบทอดมาเป็นธรรมเนียมของนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสวมใส่ในอินเดียยุคเอกราช

เมื่อครั้นคานธีสนทนากับกกา กเลลการ ได้อธิบายว่าเขาผลิตหมวกคานธีขึ้นมาเช่นไร เขาระบุว่าตนเองได้มองหาหมวกโฏปีจากทั่วประเทศินเดียเพื่อนไมาออกแบบหมวกที่เข้ากันได้กับอากาศที่ร้อนอขบอินเดีย สามารถคลุมปิดหัวได้ และง่ายต่อการพกพาในกระเป๋าขนาดเล็ก เขาได้พบว่าโฏปีแบบกัศมีร์มีลักษณเใกล้เคียวที่สุดกับหมวกที่เขาต้องการ แต่หมวกดังกล่าวใช้ผ้าไหมทำ คานธีเขียนว่าเขาเปลี่ยนมาใช้เป็นผ้าฝ้ายสีขาวแทนเนื่องจากผ้าสีขาวเช่นนี้ถูกผลิตมาให้ถูกซักได้บ่อย ๆ และทำความสะอาดได้ง่ายกว่า[1] คานธีโฏปีขึ้นมาได้รับความนิยมในระหว่างขบวนการดื้อแพ่งปี 1920–22[2] และกลายมาเป็นเครื่องแบบมาตรฐานของคองเกรสอินเดีย และได้รับความนิยมทั่วไปผ่านทางคานธี ภายในปี 1920 ผู้นำชายชาวอินเดียจำนวนมากเลือกสวมใส่หมวกนี้ เจ้าหน้าที่อาณานิคมอังกฤษได้ออกประกาศห้ามการสวมใส่หมวกนี้ในเจ้าพนักงานของยริการพลเมืองอินเดียในแคว้นภาคกลาง[3]

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวอ้างว่าหมวกคานธีมีที่มาจากข้อบังคับให้นักโทษคนดำในแอฟริกาใต้ต้องสวมหมวกคุมหัวขนาดเล็กในช่วงต้นศตวรรษที่ 20[4][5][6]

หมวกนี้ยังคงความนิยมในยุคลปัจจุบัน และนิยมสวมใส่โดยทั่วไปในผู้ชายตามพื้นที่ชนบทของรัฐมหาราษฏระ[7] นอกจากนี้ ในระหว่างการกล่าวสนุทรพจน์ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" ของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ในปี 1963 จะสามารถสังเกตเห็นคนที่ยืนหลังเขาจำนวนหนึ่งสวมหมวกคานธีโฏปีเช่นกัน[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Clothing Matters: Dress and Identity in India, Emma Tarlo, University of Chicago Press, Sep 1, 1996.82-83[1]
  2. Consumption: The history and regional development of consumption edited by Daniel Miller, p. 424
  3. Tarlo, E. (1996). Clothing Matters: Dress and Identity in India. Hurst. p. 84. ISBN 978-1-85065-176-5.
  4. Paul John (9 January 2014). "Gandhi sewed caps in South Africa prison" (ภาษาอังกฤษ). Times of India. สืบค้นเมื่อ 6 February 2023.
  5. H.S.L Polak Mahatma Gandhi (London: Odham's Press, 1949) pg. 61
  6. Uppal, J.N. (1995). Gandhi Ordained in South Africa. Publications Division Ministry of Information & Broadcasting. p. 348. ISBN 978-81-230-2212-3. สืบค้นเมื่อ 2022-06-22.
  7. Bhanu, B.V (2004). People of India: Maharashtra, Part 2. Mumbai: Popular Prakashan. pp. 1033, 1037, 1039. ISBN 81-7991-101-2.
  8. Tharoor, Kanishk (2018-04-04). "The Debt MLK Owed to India's Anti-Colonial Fight". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-02-13.