ความเป็นมลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ประเทศบรูไนในช่วงต้นเดือนเราะมะฎอน ราชอาณาจักรอันร่ำรวยนำเมอลายูอิซลัมเบอราจา (ราชาธิปไตยอิสลามมลายู) มาใช้เป็นปรัชญาแห่งชาติตั้งแต่เป็นเอกราชใน ค.ศ. 1984

ความเป็นมลายู (อังกฤษ: Malayness; มลายู: Kemelayuan, อักษรยาวี: كملايوان‎) เป็นสถานะของความเป็นมลายูหรือลักษณะเฉพาะของมลายู สิ่งนี้อาจรวมถึงสิ่งที่ผูกมัดและแยกแยะชาวมลายูและเป็นพื้นฐานของเอกภาพและอัตลักษณ์ของพวกเขา ผู้ที่เรียกตนเองเป็นมลายูพบได้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยอัตลักษณ์ร่วมทางความคิด แต่ถูกแบ่งด้วยขอบเขตทางการเมือง ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน และลักษณะเฉพาะของประสบการณ์ในท้องถิ่น ในขณะที่ศัพท์ 'มลายู' ใช้กันอย่างแพร่หลายและเข้าใจได้ง่ายในภูมิภาคนี้ แต่ยังคงเปิดกว้างต่อการตีความที่แตกต่างกัน เนื่องจากคุณลักษณะที่หลากหลายและลื่นไหล 'มลายู' ในฐานะอัตลักษณ์หรือสัญชาติจึงถือเป็นหนึ่งในแนวคิดที่ท้าทายและน่าสงสัยที่สุดในโลกที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

ลักษณะพื้นฐานทางด้านสังคมที่มีร่วมกันของอัตลักษณ์มลายูส่วนใหญ่คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากการขึ้นครองอำนาจของรัฐสุลต่านมะละกาในคริสต์ศตวรรษที่ 15[2][3] หลังการพิชิตมะละกาใน ค.ศ. 1511 แนวคิดเรื่องความเป็นมลายูพัฒนาขึ้นในสองวิธี: วิธีหนึ่งเพื่ออ้างสิทธิ์สายตระกูลของกษัตริย์หรือยอมรับการสืบเชื้อสายจากศรีวิชัยและมะละกา และอีกรูปแบบเพื่อสื่อถึงความเป็นพหุพาณิชพลัดถิ่นรอบนอกของโลกมลายูที่ยังคงไว้ซึ่งภาษามลายู ขนบธรรมเนียม และวิธีปฏิบัติทางการค้าของศูนย์การค้ามะละกา ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวคิดต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตกของความเป็นมลายูที่ถูกโรแมนติไซซ์ (romanticize) เป็นองค์ประกอบสำคัญของชาตินิยมมลายูที่ทำให้การปกครองของอังกฤษในมาลายาสิ้นสุดลง[4]

ปัจจุบัน เสาหลักของความเป็นมลายูที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ ผู้นำมลายู ภาษาและวัฒนธรรมมลายู และศาสนาอิสลาม[5][6][7][8] ทั้งหมดเป็นสถาบันในประเทศบรูไนและประเทศมาเลเซียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมลายูทั้งสองประเทศ โดยบรูไนประกาศให้ราชาธิปไตยอิสลามมลายูเป็นปรัชญาประจำชาติ[9] ส่วนมาเลเซียระบุอัตลักษณ์มลายูในรัฐธรรมนูญมาเลเซีย มาตราที่ 160

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Azlan Tajuddin (2012), Malaysia in the World Economy (1824–2011): Capitalism, Ethnic Divisions, and "Managed" Democracy, Lexington Books, ISBN 978-0-7391-7196-7
  • Barnard, Timothy P. (2004), Contesting Malayness: Malay identity across boundaries, Singapore: Singapore University press, ISBN 9971-69-279-1
  • Benjamin, Geoffrey; Chou, Cynthia (2002), Tribal Communities in the Malay World: Historical, Cultural and Social Perspectives, London: Institute of Southeast Asian Studies, ISBN 978-981-230-166-6
  • Chong, Terence (2008), Globalization and Its Counter-forces in Southeast Asia, Institute of Southeast Asian Studies, ISBN 978-981-230-478-0
  • Hefner, Robert W. (2001), Politics of Multiculturalism: Pluralism and Citizenship in Malaysia, Singapore, and Indonesia, University of Hawaii Press, ISBN 978-0-8248-2487-7
  • Hood Salleh (2011), The Encyclopedia of Malaysia, vol. 12 - Peoples and Traditions, Editions Didier Millet, ISBN 978-981-3018-53-2
  • Khoo, Boo Teik; Loh, Francis (2001), Democracy in Malaysia: Discourses and Practices (Democracy in Asia), Routledge, ISBN 978-0-7007-1161-1
  • Milner, Anthony (2010), The Malays (The Peoples of South-East Asia and the Pacific), Wiley-Blackwell, ISBN 978-1-4443-3903-1