ความน่าจะเป็นเท่ากัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความน่าจะเป็นเท่ากัน (อังกฤษ: equiprobability) คือมโนทัศน์ทางปรัชญาในทฤษฎีความน่าจะเป็น ที่ยอมให้กำหนดความน่าจะเป็นปริมาณเท่า ๆ กันแก่ผลที่จะออกมา เมื่อผลเหล่านั้นได้ถูกพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้เท่ากัน (equipossibility) ในการรับรู้บางสิ่ง บทบัญญัติอันเป็นที่รู้จักดีที่สุดของกฎดังกล่าวคือ หลักแห่งความไม่แตกต่าง (principle of indifference) ของลาปลัส ซึ่งกล่าวไว้ว่า "เราไม่มีสารสนเทศอื่นใดนอกเหนือไปจาก" เหตุการณ์ไม่เกิดร่วมจำนวน N เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงจัดการกำหนดความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เป็น 1/N การกำหนดความน่าจะเป็นแบบอัตวิสัยนี้ใช้เฉพาะในบางสถานการณ์อย่างเช่นการกลิ้งลูกเต๋าหรือการออกสลากกินแบ่ง เนื่องจากการทดลองเหล่านี้สนับสนุนโครงสร้างสมมาตร และสถานะความรู้ของผู้กำหนดจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยชัดแจ้งภายใต้สมมาตรนี้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]