คริสเตียน เดอะ ไลออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คริสเตียน เป็นสิงโตที่แต่เดิมทีถูกซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าแฮรอดในลอนดอนในพ.ศ. 2512 โดยชาวออสเตรเลียนาม จอห์น เรนเดล (John Rendall) และแอนโทนี เอซ โบร์วเก (Anthnoy 'Ace' Bourke) และถูกปล่อยคืนสู่ป่าโดยนักชีววิทยาการอนุรักษ์ จอร์จ แอดัมสัน หนึ่งปีถัดมาหลังจากคริสเตียนถูกปล่อยสู่ป่า เจ้าของเดิมของมันตัดสินใจกลับไปเยี่ยมมันในแอฟริกาเพื่อดูว่ามันยังจำพวกเขาได้หรือไม่ คริสเตียนสามารถจำเจ้าของเก่าของมันได้และสิงโตตัวอื่นในฝูงเองก็เป็นมิตรกับเจ้าของเดิมของมันด้วย[1]

การย้ายที่[แก้]

ภาพหลายรูปจากแหล่งข้อมูลภายนอก
image icon Christian with London owners John Rendall and Anthony Bourke
image icon Christian with George Adamson at Kora National Reserve.

เรนเดล และ โบร์วเก และแฟนของพวกเขา เจนนิเฟอร์ แมรี เทยเลอร์ และ ยูนิตี โจนส์ ดูแลสิงโตตัวหนึ่งขณะที่อาศัยอยู่ในลอนดอนจนกระทั่งมันมีอายุได้ 1ปี คริสเตียนตัวโตขึ้นมากและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมันมากขึ้นทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถเลี้ยงมันได้อีกต่อไป[1] เมื่อบิล ทราเวอส์ และเวอร์จิเนีย แม็คเคนยา นักแสดงจากเรื่องบอร์นฟรี (Born Free) พบเรนเดล, โบร์วเก และคริสเตรียนที่ร้านขายเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของทั้งสอง เรนเดล และ โบร์วเก นักแสดงทั้งสองแนะนำให้พวกเขาขอความช่วยเหลือจากจอร์จ แอดัมสัน นักพิทักษ์ในเคนยา แอดัมสันและจอย ภริยาของเขาเป็นศูนย์กลางในภาพยนตร์เรื่อง บอร์น ฟรี และแอดัมสันก็ตกลงช่วยเหลือพวกเขาด้วยการฝึกให้คริสเตียนสามารถกลับไปใช้ชีวิตในธรรมชาติได้อีกครั้งในป่าสงวนโคราในเคนยา เวอร์จิเนีย แม็คเคนยาแต่งหนังสือชื่อ The Life in My Years ออกตีพิมพ์เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552

แอดัมสันแนะนำคริสเตียนให้สิงโตที่อายุมากกว่าชื่อ บอย ซึ่งเป็นตัวแสดงในภาพยนตร์เรื่อง บอร์นฟรี และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เดอะ ไลออน อาร์ ฟรี (The Lion Are Free) และคริสทีนา ลูกสิงโตเพศเมียเพื่อสร้างฝูงสิงโตกลุ่มใหม่ ฝูงสิงโตฝูงนี้เผชิญเหตุการณ์มากมาย คริสทีนาถูกกินโดยจระเข้ในหลุมน้ำ, สิงโตตัวเมียในฝูงตัวหนึ่งถูกสิงโตฝูงอื่นฆ่าตาย บอยได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง และสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมกับสิงโตอื่นและมนุษย์ สุดท้าย แอดัมสันตัดสินใจยิงบอยตายเนื่องจากมันบาดเจ็บปางตายเนื่องจากถูกมนุษย์ยิง จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้คริสเตียนกลายเป็นผู้รอดชีวิตหนึ่งเดียวจากฝูงดั้งเดิม

หลังจากผ่านไป 1ปีหลังจากที่แอดัมสันติดตามดูแลฝูงสิงโตมาตลอด ฝูงสิงโตฝูงนี้ก็สามารถในบริเวณโครา โดยมีคริสเตียนเป็นหัวหน้าฝูงแทนที่บอยที่ตายไป[2]

การพบกันอีกครั้ง[แก้]

พบกับเรนเดลและโบร์วเกใน พ.ศ. 2515[แก้]

เมื่อเรนเดลและโบร์วได้รับข่าวความสำเร็จในการคืนสู่ป่าของคริสเตียนจากแอดัมสัน (ถูกรายงานโดยหนังสือพิมพ์ในพ.ศ. 2514 และโดยแอดัมสันในปีถัดมา[3]) พวกเขาจึงเดินทางไปเคนยาเพื่อเยี่ยมคริสเตียนและถ่ายทำสารคดี คริสเตียน เดอะ ไลออน แอท เวิร์ลด์ส เอ็น (Christian, The Lion at World's End) ในสารคดีนี้ แอดัมสันเตือนทั้งคู่ว่าคริสเตียนอาจจะจำพวกเขาทั้งสองไม่ได้ ในภาพยนตร์นี้ คริสเตียนย่างก้าวเข้ามาด้วยความระมัดระวัง จากนั้นเริ่มเร่งความเร็วเขุ้าหาทั้งสองอย่างนุ่มนวล ยืนขึ้นด้วยขาหลัง และสองขาหน้าเกาะบ่าทั้งสองเอาไว้ และคลอเคลียหน้าพวกเขา ในภาพยนตร์ สิงโตตัวเมีย โมนา และลิซา และลูกสิงโต ชื่อซูเปอร์คลับ เข้ามาต้อนรับทั้งคู่ด้วย[4]

การพบกันครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากทั่วโลกมามากกว่า 30ปีหลังจากการพบกัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 มีรายงานว่าฉากการพบกันนี้ได้ถูกทำออกมาอีกหลายรุ่นและถูกรับชมนับล้านครั้ง[5] มีหลายแหล่งข่าวคอยสอบถามความรู้สึกของเรนเลดและโบร์วเกี่ยวกับเหตุการณ์รอบๆตัวพวกเขาและคริสเตียน[6]

พบกับเรนเดลใน พ.ศ. 2516[แก้]

เรนเดลตัดสินใจไปหาคริสเตียนอีกครั้งโดยไม่มีการบันทึกเทป (รางงานในหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าเกิดในปี พ.ศ. 2517 )การพบกันครั้งนี้โบร์วไม่ได้มาด้วย ณ เวลานี้ คริสเตียนประสบความสำเร็จในการปกป้องฝูงตัวเองได้, มีลูกของตัวเอง แอดัมสันเตือนเรนเดลว่าการเดินทางครั้งนี้อาจจะสูญเปล่าเนื่องจากเขา (แอดัมสัน) ไม่ได้พบฝูงคริสเตียนถึงเก้าเดือน อย่างไรก็ตาม ฝูงของคริสเตียนเดินทางมาถึงที่พักของแอดัมสันหนึ่งวันก่อนการมาถึงของพวกเขา

เรนเดลบรรยายการพบกันครั้งนี้ว่า เราเรียกเขา และเขาก็ยืนขึ้น และเยื้องย่างมาหาเราช้าๆ และเมื่อเขาจำเราได้ เขาวิ่งรี่มาหาเรา กระโดดใส่เราจนเราล้ม เขาล้มจอร์จด้วย แล้วเขาก็กอดพวกเรา เหมือนที่เขาเคย ด้วยอุ้งมือของเขาบนไหล่พวกเรา}}

การพบกันครั้งที่สองยาวนานไปจนถึงรุ่งเช้า และนี่ก็เป็นครั้งสุดท้ายที่มีการพบเห็นคริสเตียน เรนเดลกล่าว จอร์จ แอดัมสันนับวันตั้งแต่การพบกันครั้งสุดท้ายในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2516 และเขาเขียนเอาไว้ในหนังสือของเขา มาย ไพรด์ แอนด์ จอย (My Pride And Joy) ว่าหลังจาก 97 วันเขาก็เลิกนับ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Victoria Moore (2007). "Christian, the lion who lived in my London living room". The Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  2. [Documentary, Christian: The Lion at the End of the World]
  3. George Adamson, My Pride and Joy, caption to hugging reunion picture, page 224
  4. Born Free Foundation (2008-07-28). "Christian the lion - Full ending". สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  5. "Christian the Lion - the full story (in HQ)". 2008-06-28. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
  6. Mike Celizic (2008). "Man in 'hugging' lion video reveals its secrets". MSNBC. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ My Pride and Joy 231

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]