คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก
ประเภทการสนับสนุนการลงประชามติ
รัสพจน์UNAMET
หัวหน้าเอียน มาร์ติน
สถานะเสร็จสิ้น
จัดตั้ง11 มิถุนายน 2542
เว็บไซต์www.un.org/etimor
ต้นสังกัดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: United Nations Mission in East Timor; อักษรย่อ: UNAMET) ได้รับการสถาปนาโดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1246 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2542[1] มีอายุการปฏิบัติงานถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ต่อมาได้มีมติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1257 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ได้ขยายอายุของคณะผู้แทนออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542[2]

อาณัติ[แก้]

เพื่อจัดหน่วยลงคะแนนและดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนบนพื้นฐานของการลงคะแนนโดยตรงที่เป็นความลับและเป็นสากล เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกยอมรับกรอบรัฐธรรมนูญที่ได้ลงมติเลือก มีตัวเลือกระหว่างการจัดให้มีเอกราชพิเศษสำหรับติมอร์ตะวันออกภายในสาธารณรัฐรวมกับอินโดนีเซีย หรือปฏิเสธข้อเสนอนั้น และแยกประเทศเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออก ซึ่งนำไปสู่การแยกติมอร์ตะวันออกออกจากอินโดนีเซีย การลงมติดังกล่าวตามความตกลงทั่วไป จะส่งผลให้เลขาธิการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวรรค 3 ของความตกลงความมั่นคงได้

คณะเจ้าหน้าที่[แก้]

  • ผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ: เอกอัครราชทูต เจมส์ซีส มาร์กเกอร์ (ปากีสถาน)
  • ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติและผู้นำคณะผู้แทน: เอียน มาร์ติน (สหราชอาณาจักร)
  • รองผู้แทนเลขาธิการสหประชาชาติ: ฟรานเซส เวนเดรลล์ (สเปน)
  • หัวหน้าตำรวจพลเรือน: ผู้บัญชาการ อลัน มิลส์ (ออสเตรเลีย)
  • หัวหน้านายทหารติดต่อ: พลจัตวา เรซาคูล ไฮเดอร์ (บังกลาเทศ)
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง: แพทริค เอ. แบรดลีย์ (ไอร์แลนด์), โยฮันน์ ครีกเลอร์ (แอฟริกาใต้) และบอง-สกุก โซห์น (เกาหลีใต้)
  • หัวหน้าฝ่ายการเลือกตั้ง: เจฟ ฟิชเชอร์ (สหรัฐ)
  • หัวหน้าฝ่ายบริหาร: โยฮาเนส วอร์เทล (เนเธอร์แลนด์)
  • หัวหน้าฝ่ายการเมือง: เบง หยง ชิว (สิงคโปร์)
  • หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์: เดวิด วิมเฮิร์สต์ (แคนาดา)

นอกจากนี้ ผู้แทนยังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่จากนานาชาติประมาณ 210 คน กำลังตำรวจพลเรือนจำนวน 271 นาย (เต็มกำลังประจำการ) จากอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บังกลาเทศ, บราซิล, แคนาดา, อียิปต์, กานา, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, มาเลเซีย, โมซัมบิก, เนปาล, นิวซีแลนด์, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, โปรตุเกส, สาธารณรัฐเกาหลี, สหพันธรัฐรัสเซีย, เซเนกัล, สเปน, สวีเดน, ไทย, สหราชอาณาจักร, อุรุกวัย, สหรัฐอเมริกา และซิมบับเว นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ประสานงานทางทหารจำนวน 50 นายจากออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บังคลาเทศ, บราซิล, เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, โปรตุเกส, สหพันธรัฐรัสเซีย, ไทย, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา และอุรุกวัย ทีมงานระหว่างประเทศหลังจากสิ้นสุดภารกิจ มีอาสาสมัครสหประชาชาติประมาณ 420 คน จาก 67 ประเทศ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งระดับเขต, เจ้าหน้าที่สนับสนุน และบริการทางการแพทย์

ทีมงานระหว่างประเทศ ได้รับการสนับสนุนกำลังคนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

ในวัฒนธรรมประชานิยม[แก้]

  • คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ปรากฏในซีรีส์ของสถานีโทรทัศน์เอบีซี เรื่อง Answered By Fire (2549)
  • เฮเซล, เจฟฟ์ (2563) หนังสือ Picture a Dry Riverbed อัตชีวประวัติทางประวัติศาสตร์ของตำรวจพลเรือนในเขตเอร์เมรา ติมอร์ตะวันออก ซึ่งตำรวจเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
  • เพมเปอร์, แทมมี่ (2562) หนังสือ Scorched Earth สำนักพิมพ์บิ๊กสกาย. ชีวประวัติจากมุมมองของเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ จากเหตุการณ์จริงในติมอร์ระหว่างการลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ปี พ.ศ. 2542

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Martin, Ian; Alexander Mayer-Rieckh (Spring 2005). "The United Nations and East Timor: From Self-Determination to State-Building". International Peacekeeping. 12 (1): 125–145. doi:10.1080/1353331042000286595. S2CID 143653698.

อ้างอิง[แก้]

  1. (1999)Resolution 1246 S-RES-1246 (1999) in 1999 (retrieved 6 September 2008)
  2. (1999)Resolution 1257 S-RES-1257 (1999) in 1999 (retrieved 6 September 2008)